Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุค พ.ศ.๑๓๐๐ - ๑๗๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India


face="Tahoma" size="4" color="#CC0000">พุทธศาสนา ยุค พ.ศ.๑๓๐๐-๑๗๐๐
   (Buddhism in B.E. 1300-1700)


     ภายหลังจากที่พระเจ้าหรรษวรรธนะได้สวรรคตแล้ว อินเดียก็เริ่มแตกแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยอีกครั้ง จนมาถึงสมัยที่พระเจ้าโคปาละ (Gopala) สถาปนาราชวงศ์ปาละขึ้นที่มคธและเบงกอล ราชวงศ์นี้นับเป็นราชวงศ์ที่ค้ำชูพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ในช่วงนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ หลายอย่างเกิดขึ้นคือ

๑.มุสลิมเริ่มรุกอินเดีย (Muslim invader)

     หลังจากศาสดา นบี โมฮัมหมัด กำเนิดขึ้นในโลกราว พ.ศ.๑๑๑๓ และเริ่มก่อตั้งศาสนาอิสลามที่ซาอุดิอารเบีย เมื่อ พ.ศ. ๑๑๕๓ แล้วสาวกรุ่นหลังก็ใช้นโยบายการเผยแพร่ศาสนา ด้วยวิธีการที่รุนแรง ราว พ.ศ. ๑๒๐๐ กองทัพมุสลิมก็เริ่มรุกทั่วเอเชียกลาง ต่อจากนั้นรุกเข้าสู่แอฟริกาเหนือ และเมื่อยึดแอฟริกาเหนือได้แล้ว ก็ยาตราทัพเข้าสู่ยุโรปยึดได้สเปน อิตาลี และบางส่วนของยุโรป แต่ต่อมาก็ถูกโต้กลับจากยุโรป เมื่อแนวรบด้านยุโรปถูกต้านทานอย่างหนาแน่น กองทัพมุสลิมก็เริ่มรุกทางเอเชียตะวันออก ยึดได้เมโสโปเตเมีย (อีรัก) เปอร์เซีย (อีหร่าน) และยึดได้อินเดียส่วนเหนือคือคันธาระ สินธุ์ ตักกศิลา ปัญจาป สถานที่ทางศาสนาที่กองทัพอิสลามยึดได้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ถูกทำลายอย่างราบคาบ แต่กองทัพมุสลิมก็ไม่อาจรุกเข้าสู่อินเดียตอนกลางได้เพราะถูกต้านทานอย่างเข้มแข็ง จากกษัตริย์อินเดีย และช่วยนั้นผู้ปกครองของอินเดียก็ยังสามัคคีกัน กองทัพมุสลิมจึงถูกตรึงไว้ได้เกือบ ๕๐๐ ปี

กษัตริย์ราชวงศ์ปาละนับเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ให้การคุ้มครองพุทธศาสนาในอินเดียตะวันออก พุทธศาสนายืนหยัดอยู่ในแถบนี้จนถึง พ.ศ. ๑๗๐๐ เศษ ราชวงศ์นี้สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าโคปาละ (Gopala) สืบต่อมาจนถึงพระเจ้าเทวปาละ ธรรมปาละ รามปาละ และมหิปาละ โดยเฉพาะพระเจ้าธรรมปาละ ได้สร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์อีกแห่งที่แม่น้ำคงคา ชื่อว่าวิกรมศิลานอกนั้นกษัตริย์หลายพระองค์ในราชวงศ์นี้ก็สร้างมหาวิทยาลัยทางพุทธศาสนาหลายแห่งเช่น ชคัททละ โอทันตบุรี โสมบุรี

 

๒.พุทธศิลป์สมัยโจฬะ (Chola Arts)

     พ.ศ.๑๓๐๐ พุทธศิลป์ในรัฐภาคใต้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้น ยุคนี้มีอาณาจักรที่เข้มแข็ง เกิดขึ้นในภาคใต้ของอินเดียคือ
          ๑.รัฐปัลลวะ เมืองหลวงคือกาญจีบุรัม
          ๒.รัฐโจฬะ เมืองหลวงคือตัญชาวุร์
          ๓.รัฐปาณฑยะ เมืองหลวงชื่อมธุไร
          ๔.รัฐเจระ เมืองหลวงคือ เกราล่า

หลวงพ่อพุทธมงคล ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้

     โดยเฉพาะที่รัฐโจฬะอันมีเมืองหลวงที่ตัญชาวุร์มีศิลปะเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ความจริงพุทธศาสนาเข้าสู่อินเดียใต้ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณฑูตมาเผยแพร่แล้ว ในยุคนั้นยังไม่มีคติในการสร้างพระพุทธรูป เป็นแต่สร้างสัญลักษณ์แทน คือ ดอกบัวแทนพระศาสดา ต่อมาราว พ.ศ. ๖๐๐ งานพุทธศิลป์จึงได้เริ่มขึ้น แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก

     พ.ศ.๑๓๐๘ กษัตริย์โจฬะนับถือศาสนาฮินดู ได้โจมตีอาณาจักรปัลลวะและยึดได้สำเร็จแล้วข้ามไปรุกรานถึงเกาะลังกา สงครามระหว่างโจฬะและลังกายึดเยื้อเป็นเวลานาน คราวใดที่โจฬะชนะ ศิลปกรรมฮินดูจะหลั่งไหลเข้าเกาะลังกา แต่ถ้าลังกาชนะช่างจากโจฬะต้องสร้างสรรค์พุทธศิลป์ให้ลังกา การแพ้ชนะเกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา ศิลปะโจฬะก็เริ่มแพร่หลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแม้กษัตริย์โจฬะยุคนี้จะนับถือฮินดู แต่พุทธศาสนาก็ไม่กระทบทกระเทือนมากนัก นิกายที่แพร่หลายคือเถรวาท ส่วนมหายานก็เป็นที่นิยมเช่นกัน ศิลปะสมัยโจฬะนับว่าแตกต่างจากสกุลอื่น ๆ มาก เพราะเป็นศิลปะแบบทมิฬโดยตรง ศิลปินจะแสดงความรู้สึกเรื่ืองเชื้อชาติไว้ในงานปฏิมากรรมอย่างชัดเจน จะเห็นได้ในศิลปะทุกแขนง จุดเด่นของพุทธศิลป์ยุคนี้คือพระพุทธสรีระมีวรกายล่ำสันกลมแน่น พระอุระ(อก) นูนเป็นพิเศษ แสดงความกล้าหาญบึกบึนตั้งแต่ปลายพระรัศมีจดปลายพระบาท พระพักตร์กลมอูม พระเนตร พระนาสิก (จมูก) ค่อนข้างใหญ่ พระโอษฐ์ (ปาก) หนา ถ้าเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์จะเห็นความเคลื่อนไหว การแสดงฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ถ้าเป็นพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์จะเห็นความสงบและเคร่งขรึม อาณาจักรโจฬะภาคใต้ยืนยงมาจนถึง พ.ศ.๒๐๐๐ ปี จึงล้มสลาย พุทธศิลป์โจฬะยังมีอิทธิพลต่อประเทศใกล้เคียงอีกด้วย เช่น พม่า ลังกา ไทยเป็นต้น

 

๓.พุทธาวตาร (Buddha Incarnation)

ศังกราจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ปุราณะ

ในยุค พ.ศ.๑๓๐๐ ได้มีพราหมณ์ชื่อว่าศังกราจารย์ (Sankaracharya) เป็นนักปราชญ์และนักศาสนาของฮินดูคนสำคัญ ได้ประกาศศาสนาฮินดูอย่างเอาจริงเอาจัง สังกัดนิกายไศวะ เกิดที่เกราลา (Kerala) ตอนใต้ของอินเดียเป็นศิษย์ของโควินทะ ซึ่งเป็นศิษย์ของเคาฑาปาทะ เคาฑปาทะเป็นคนแรกที่ได้ประยุกต์คำสอนของพุทธศาสนามหายานมาใช้ปรัชญาฮินดูของศังกราจารย์ได้แนวคิดมาจากพุทธศาสนา มหายานนิกายมาธยมิกของท่านนาครชุนผู้มีชีวิตในช่วง พ.ศ.๖๙๓-๗๙๓ เป็นผู้มีความรู้ในศาสนาทั้งหลายในอินเดียทั้งพุทธ พราหมณ์ และเชน เป็นอย่างดี กล่าวกันว่า ศังกราจารย์ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย และท้าโต้วาทีไปทั่วอินเดีย นอกจากลอกเลียนแบบทางด้านคำสอนและปรัชญาแล้ว ยังได้ตั้ง คณะสงฆ์ฮินดูเลียนแบบพุทธศาสนาเพราะเดิมฮินดูไม่มีสถาบันสงฆ์ พร้อมตั้งวัดฮินดูนิกายไศวะทั้งสี่ทิศ คือ วัดศฤงคารีที่ภาคใต้ วัดปุรีภาคตะวันออก วัดทวารกะภาคตะวันตก วัดพัทรีนาถที่ภาคเหนือ และหลาย ๆ วัดก็ยึดจากวัดพุทธ เช่นสวามีวิเวกานันทะผู้นำคนสำคัญของฮินดูกล่าวว่า color="#666666">"วัดที่ชคันนาถเป็นวัดพุทธเก่า พวกเรายึดเอาวัดนี้และวัดอื่น แล้วทำให้เป็นวัดฮินดูเสีย เรายังจะต้องทำอย่างนี้อีกมาก" และที่สำคัญที่สุดได้แต่งคัมภีร์ปุราณะขึ้นเพื่อกลืนพุทธศาสนา โดยอ้างว่าพระพุทธองค์เป็นอวตารที่ ๙ ของพระวิษณุเพื่อหวังกลืนพุทธศาสนา ข้อความนี้เขียนไว้ในคัมภีร์ปุราณะ ซึ่งแปลว่าเก่าแก่มีทั้งหมด ๑๘ คัมภีร์ บางตอนเก่าแก่มีอายุราวพ.ศ. ๘๕๐ แต่ข้อความที่นำพระพุทธองค์ไปเป็นอวตาร มีอายุราวพ.ศ.๑๐๐๐-๑๓๐๐ ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

     "พวกอสูรมีประหลาทะเป็นหัวหน้า ได้ขโมยเครื่องบูชายัญของเทพยดาไป แต่เล่าอสูรแกร่งกล้ามาก เทพยดาปราบไม่ได้ พระวิษณุเจ้าจึงเนรมิตรบุรุษแห่งมายา (นักหลอกลวง) ขึ้นมาเพื่อชักพาเหล่าอสูรออกไปให้พ้นทางแห่งพระเวท บุรุษแห่งมายานั้นนุ่งห่มผ้าสีแดง และสอนเหล่าอสูรว่าการฆ่าสัตว์เป็นบาป ทำให้อสูรเป็นชาวพุทธและทำให้หมู่ชนอื่นๆ ออกนอกศาสนา พากันละทิ้งพระเวท ติเตียนเทพยดาและพราหมณ์ทั้งหลายสลัดทิ้งพระธรรมที่เป็นเกาะป้องกันตัว เทพยาทั้งหลายจึงเข้าโจมตีและฆ่าอสูรเหล่านั้นได้"

อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า

     "เมื่อกลียุคเริ่มขึ้นแล้ว องค์พระวิษณุ เจ้าจะลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า โอรสราชาอัญชนะ (ความจริงคือ สุทโธทนะ) เพื่อชักพาเหล่าศัตรูของเทพยาดาทั้งหลายให้หลงผิดไปเสีย มาสอนธรรมแก่เหล่าอสูร ทำให้พวกมันออกไปเสียจากศาสนา พระองค์จะสอนเหล่าชนผู้ไม่สมควรแก่ยัญพิธีให้หลงผิดออกไป ขอนอบน้อมแด่องค์พุทธ ผู้บริสุทธิ์ ผู้หลอกลวงเหล่าอสูร"

นอกจากคัมภีร์ปุราณะแล้ว ก็ยังปรากฎในคัมภีร์มหาภารตะว่า

     "เมื่อกลียุค องค์พระวิษณุเจ้าจะลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นโอรสราชาสุทโธทนะ เป็นสมณะโล้น ออกสั่งสอนด้วยภาษามคธ ชักพาเหล่าประชาชนให้หลงผิด ประชาชนเหล่านี้ก็กลายเป็นสมณโล้นด้วย และนุ่งห่มผ้าพราหมณ์ก็เลิกพิธีเซ่นสรวง และหยุดสาธยายพระเวท ลำดับนั้นเมื่อสิ้นกลียุคพราหมณ์นามว่ากิลกี เป็นบุตรแห่งวิษณะษยะจะมาถือกำเนิด และกำจัดเหล่าอนารชนคนนอกศาสนาเหล่านั้นเสีย"

นี้เป็นส่วนหนึ่งที่เขียนถึงสถานะของพระพุทธองค์และชาวพุทธในคัมภีร์ฮินดู โดยถือว่าชาวพุทธเป็นอสูร การเกิดของพุทธศาสนา เป็นกลียุคทำให้คนออกนอกศาสนา จึงต้องส่งคนมาปราบปราม จากบันทึกฉบับนี้ทำให้เราทราบว่าพุทธศาสนาเจริญมากจนผู้คนหนีออกจากศาสนาฮินดุเกือบหมด ดร.อาร์ซี มะชุมดาร์ (Dr.R.C. Majumdar) นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของอินเดียได้วิเคราะห์เรืองที่ฮินดูอุปโลกน์พระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางหนึ่งของฮินดูไว้ออย่างน่าฟังว่า

face="Tahoma" size="2" color="#333333">"การที่ศาสนาฮินดูอุปโลกน์พระพุทธเจ้าให้เป็นอวตารปางหนึ่งนับว่าเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ชาญฉลาดล้ำลึก เพราะเท่ากับเป็นการทำลายฐานยืนของพุทธศาสนาในอินเดีย และในที่สุดก็นำไปสู่การเสื่อมสลายของพุทธศาสนาไปจากแผ่นดินถิ่นกำเนิด"

สำหรับนารายณ์สิปปางหรืออวตารทั้ง ๑๐ นั้น คือ ๑.มัสยาวตารเกิดเป็นปลา ๒.กูรมาวตาร เกิดเป็นเต่า ๓. วราหวตาร เกิดเป็นหมู ๔.นรสิงหาวตาร ครึ่งมนุษย์ครึ่งสิงห์ ๕.วามนาวตาร เกิดเป็นคนแคระ ๖.ปรศุรามาวตาร เกิดเป็นรามสูร ๗. รามาวตาร เกิดเป็นพระราม ๘.กฤษณาวตาร เกิดเป็นพระกฤษณะ ๙.พุทธาวตาร เกิดเป็นพระพุทธเจ้า ๑๐.กิลกิยาวตาร เกิดเป็นพระกิลกิ (คนขี่ม้าขาว)

     ดังนั้นคนทั่วไปจึงมองว่า ศาสนาฮินดูและพุทธเป็นอันเดียวกันยุทธวิธีนี้นับว่าได้ผล เพราะทำให้พุทธศาสนิกชนโดนกลืนไปเป็นฮินดูอย่างมาก แม้ในปัจจุบันชาวอินเดียที่เป็นฮินดูยังเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระวิษณุอย่างเดิม โดยอ้างคัมภีร์ปุราณะนี้เป็นสำคัญ ยกเว้นคนหัวก้าวหน้าที่มีการศึกษาดี จึงจะรู้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องจริงแต่อย่างใด

      พ.ศ.๑๓๑๓ พระเจ้าธรรมปาละ (Dhamrmapala) ขึ้นปกครองอาณาจักรมคธและเบงกอลต่อจากพระบิดาเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔ ในราชวงศ์ปาละ พระองค์เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด หลังขึ้นครองราชสมบัติไม่นานพระองค์โปรดให้สร้างมหาวิหารและมหาวิทยาลัยโสมปุรี (Somapurmahavihar) เพื่อเป็นที่ศึกษาของพระสงฆ์และสิทธะทั้งหลายในเขตอินเดียตะวันออกปัจจุบันซากมหาวิหารโสมบุรีอยู่ในเขตประเทศบังกลาเทศ ในแผ่นหินที่ขุดค้นได้ที่มหาวิหารโสมบุรีได้จารึกด้วยภาษาสันสกฤตไว้ว่า "ศฺรี โสมปุรี- ศฺรี ธรฺมปาลเทว-มหาวิหาริย-อารย-ภิกฺษุ-สงฺฆสฺย" แปลได้ความว่าพระเจ้าศรีธรรมปาละเทวะ ได้สร้างศรีโสมบุรีนี้ไว้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ประเสริฐ

      พระเจ้าศรีธรรมปาละปกครองราชอาณาจักรเขตนี้จนถึงพ.ศ. ๑๓๕๓ ก็เสด็จสวรรคต ในยุคนี้พุทธศาสนาได้ปฏิรูปตัวเองเข้ากับศาสนาฮินดูอย่างหนัก โดยรับเอาลัทธิตันตระเข้ามาใช้เรียกว่า พุทธตันตระ โฉมหน้าของพุทธศาสนา จึงเปลี่ยนไปจากเดิมมาก

     พ.ศ.๑๓๕๘ พระเจ้าเทวปาละ (Devapala) ได้ปกครองอาณาจักรมคธและเบงกอลต่อมา พระองค์เป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด ได้สถาปนาวัดหลายแห่งขึ้นในมคธและเบงกอล ในสมัยนี้พระเจ้าพาลบุตรเทวะ (Balaputradeva) กษัตริย์ราชวงศ์ไศเรนท์ แห่งเกาะสุมาตรา อินโดนีเซียได้ขออนุญาตสร้างวัดขึ้นข้างมหาวิทยาลัยนาลันทาเพื่อเป็นที่พักสงฆ์ชาวสุมาตราที่มาศึกษาที่นาลันทา นอกจากนั้นยังของประทานที่ดินห้าตำบลในแคว้นมคธเพื่อบำรุงพระภิกษุที่คัดลอก พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาให้ ต่อมาพระเจ้าเทวปาละได้ทรงแต่งตั้งพระอาจารย์วีรเทพ (Viradeva) ผู้เป็นบุตรของอำมาตย์ เมืองนครหาร (ปัจจุบันอยู่ในเขตปากีสถาน) เป็นองค์อธิการบดีมหาวิทยาลัยนาลันทาองค์ต่อมา

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter08_1.php on line 529 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter08_1.php on line 529 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter08_1.php on line 529