ผ้ากฐิน - ผ้าป่า
ผ้ากฐิน ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน, เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐิน หรือผ้าองค์กฐินอย่างหนึ่ง กับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐินอีกอย่างหนึ่ง
ดู กฐิน
ผ้ากรองน้ำ ผ้าสำหรับกรองน้ำกันตัวสัตว์ ดู ธมกรก
ผ้ากาสายะ ดู กาสาวะ
ผ้ากาสาวะ ดู กาสาวะ
ผ้าจำนำพรรษา ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล; เรียกเป็นคำศัพท์ ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวาสิกสาฎก หรือ วัสสาวาสิกสาฏิกา; ดู อัจเจกจีวร
ผาณิต รสหวานเกิดแต่อ้อย, น้ำอ้อย (ข้อ ๕ ในเภสัช ๕)
ผาติกรรม การทำให้เจริญ หมายถึงการจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างหนึ่งอย่างใด โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้ว สร้างวัดถวายให้ใหม่;
การชดใช้, การทดแทน
ผ้าไตร, ผ้าไตรจีวร ดู ไตรจีวร
ผ้าทรงสะพัก ผ้าห่มเฉียงบ่า
ผ้าทิพย์ ผ้าห้อยหน้าตักพระพุทธรูป (โดยมากเป็นปูนปั้นมีลายต่างๆ)
ผ้านิสีทนะ ดู นิสีทนะ
ผ้าบริวาร ผ้าสมทบ ดู บริวาร
ผ้าบังสุกุล ดู บังสุกุล
ผ้าป่า ผ้าที่ทายกถวายแก่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งให้พระมาชักเอาไปเอง อย่างเป็นผ้าบังสุกุล, ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป;
คำถวายผ้าป่าว่า “อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย”
แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้น
กาลนานเทอญฯ