รุกข์ รุกขชาติ - รูปราคะ
รุกข์ รุกขชาติ ต้นไม้
รุกขมูลิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงบัง (ข้อ ๙ ในธุดงค์ ๑๓)
รุจิ ความชอบใจ
รูป 1. สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือ ธาตุ ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ในขันธ์ ๕) 2. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3. ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร
เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์
รูปกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์
รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่รูปขันธ์หรือร่างกาย
รูปฌาน ฌานรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ ๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) ปีติ (อิ่มใจ) สุข (สบายใจ) เอกัคคตา (จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) ๒) ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา ๓) ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา ๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา
รูปตัณหา ความอยากในรูป
รูปธรรม สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป คู่กับ นามธรรม
รูปนันทา พระราชบุตรีของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางปชาบดีโคตมีเป็นพระกนิฏฐภคินีต่างพระมารดาของพระ
สิทธัตถะ
รูปพรรณ เงินทองที่ทำเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ, ลักษณะ, รูปร่าง และสี
รูปพรหม พรหมในชั้นรูปภพ, พรหมที่เกิดด้วยกำลังรูปฌาน มี ๑๖ ชั้น ดู พรหมโลก
รูปภพ โลกเป็นที่อยู่ของพวกรูปพรหม ดู พรหมโลก
รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)