ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด อัปปมาทคารวตา - อัพภาน

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


อัปปมาทคารวตา - อัพภาน

อัปปมาทคารวตา ดู คารวะ

อัปปมาทธรรม ธรรมคือความไม่ประมาท

อัปยศ ปราศจากยศ, เสียชื่อเสียง, เสื่อมเสีย, น่าขายหน้า

อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย หรือมักน้อย (ข้อ ๑ ในกถาวัตถุ ๑๐)

อัปปิยารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ไม่น่าปรารถนา เช่น รูปที่ไม่สวยไม่งาม เป็นต้น

อพฺพุฬฺหสลฺโล มีลูกศรอันถอนแล้ว หมายถึงหมดกิเลสที่ทิ่มแทง, เป็นคุณบทของพระอรหันต์

อันโพหาริก กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น

อัพภันดร มาตราวัดในภาษามคธเทียบไทยได้ ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา

อัพภาน การเรียกเข้า (การรับกลับเข้าหมู่), เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสส ได้แก่การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์ วิธีปฏิบัติ คือถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้ พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีแล้วขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค สงฆ์สวดอัพภานแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ, แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใดต้องประพฤติวัตรเรียกว่า อยู่ปริวาสชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องชื่อว่าเป็นอันระงับ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย