ปริวิตก - ปลงบริขาร
ปริวิตก ความคิดนึก, คำนึง ; ไทยใช้หมายความว่านึกเป็นทุกข์หนักใจ, นึกห่วงใย
ปริสะ บริษัท, ที่ประชุมสงฆ์ผู้ทำกรรม
ปริสทูสโก ผู้ประทุษร้ายบริษัท เป็นคนพวกหนึ่งที่ถูกห้ามบรรพชา หมายถึงผู้มีรูปร่างแปลกเพื่อน เช่น สูงหรือเตี้ยจนประหลาด ศีรษะโต หรือ หลิมเหลือเกิน เป็นต้น
ปริสวับัติ เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, บกพร่องเพราะบริษัทหมายถึงเมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรม ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์กำหนด, หรือครบแต่ไม่ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมา, หรือมีผู้คัดค้านกรรมที่สงฆ์ทำ
ปริสสมบัติ ความพร้อมมูลแห่งบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือ ไม่เป็นปริสวิบัติ (ตัวอย่าง ประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)
ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไป จะต้องทำกิริยาอย่างนี้จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสัปปุริสธรรม ๗)
ปริสุปัฏฐาปกะ ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตก์ คือ พ้นจากการถือนิสัยแล้ว มีคุณสมบัติสมควรเป็นผู้ปกครองหมู่ สงเคราะห์บริษัทได้
ปรีชา ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความกำหนดรู้
ปฤษฎางค์ อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ข้างหลัง
ปลงตก พิจารณาเห็นจริงตามสภาพของสังขาร แล้ววางใจเป็นปกติได้
ปลงบริขาร มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)