ปวารณา
ปวารณา 1.ผมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ 2. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า
วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะก่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือน ได้ดังนี้
"สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐนวา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา ; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปทาย ; ปสฺสนฺโต ปฏกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.... ตติยมฺปิ ภนฺเตสงฺฆิ ปวาเรมิ,...."
แปลว่า "ข้าพเจ้าขอปวารณากะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตามด้วยได้ยินก็ตามด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหายจงว่าก่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดีเอ็นดู,
เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไข แม้ครั้งที่สอง … แม้ครั้งที่สาม …" (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต)
ปวารณาเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติกรรม คือ ทำโดยตั้งญัตติ (คำเผดียงสงฆ์) อย่างเดียว ไม่ต้องสวดอนุสาวนา (คำขอมติ) ; เป็นกรรมที่ต้องทำโดยสงฆ์ปัญจวรรค คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป
ปวารณา ถ้าเรียกชื่อตามวันที่ทำแบ่งได้เป็น ๓ อย่าง คือ ๑. ปัณณรสิกา ปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยปกติในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คือวันออกพรรษา) ๒. จาตุททสิกา ปวารณา (ในกรณีที่มีเหตุสมควรท่านอนุญาติให้เลื่อนปวารณาออกไปปักษ์หนึ่งหนึ่งเดือนหนึ่งโดยประกาศให้สงฆ์ทราบ ถ้าเลื่อนออกไปปักษ์หนึ่งก็ตกในแรม ๑๔ ค่ำ เป็นจาตุททสิกา แต่ถ้าเลื่อนไปเดือนหนึ่งก็เป็นปัณณรสิกาอย่างข้อแรก) ๓. สามัคคีปวารณา
(ปวารณาที่ทำในวันสามัคคี คือ ในวันที่สงฆ์ซึ่งแตกกันแล้วกลับปรองดองเข้ากันได้ อันเป็นกรณีพิเศษ) ถ้าแบ่งโดยการก คือ ผู้ทำปวารณาแบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ ๑. สังฆปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยสงฆ์คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป) ๒. คณปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยคณะคือมีภิกษุ ๒-๔ รูป) ๓. ปุคคลปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยบุคคลคือ มีภิกษุรูปเดียว) และโดยนัยนี้อาการที่ทำปวารณาจึงมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปวารณาต่อที่ชุมนุม(ได้แก่ สัง)ปวารณา) ๒. ปวารณากันเอง (ได้แก่ คณปวารณา) ๓. อธิษฐานใจ (ได้แก่ ปุคคลปวารณา) ในการทำสังฆปวารณา ต้องตั้งญัตติคือ ประกาศแก่สงฆ์ก่อน แล้วภิกษุทั้งหลายจึงจะกล่าวคำปวารณาอย่างที่แสดงไว้ข้างต้น
ตามธรรมเนียมท่านให้ปวารณารูปละ ๓ หน แต่ถ้ามีอันตรายคือเหตุฉุกเฉินขัดข้องจะทำอย่างนั้นไม่ได้ตลอด (เช่น แม้แต่ทายกมาทำบุญ) จะปวารณารูปละ ๒ ปน หรือ ๑ หน หรือ พรรษาเท่ากันว่าพร้อมกันก็ได้
ทั้งนี้ จะปวารณาอย่างไรก็พึงประกาศให้สงฆ์รู้ด้วยญัตติก่อนโดยนัยนี้ การตั้งญัตติในสังฆปวารณาจึงมีต่างๆ กัน ดังมีอนุญาติไว้ดังนี้
๑. เตวาจิกา ญัตติ คือ จะปวารณา ๓ หน พึงตั้งญัตติว่า : สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเรยฺย แปลว่า ท่านเจ้าข้า ขอสง)จงฟังข้าพเจ้าปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณาอย่างกล่าววาจา ๓ หน (ถ้าเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ หรือวันสามัคคีก็พึงเปลี่ยน ปณฺณรสี เป็น จาตุทฺทสี หรือ สามคฺคี ตามลำดับ)
๒. เทฺววาจิกา ญัตติ คือจะปวารณา ๒ หน ตั้งญัตติอย่างเดียวกัน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เทฺววาจิกํ
๓. เอกวาจิกา ญัตติ คือจะปวารณาหนเดียว ตั้งญัตติอย่างเดียวกันนั้น แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เอกวาจิกํ
๔. สมานวัสสิกา ญัตติ คือ จัดให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกันตั้งญัตติก็เหมือน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น สมานวสฺสิกํ (จะว่า ๓ หน ๒ หน หรือ หนเดียวได้ทั้งนั้น)
๕. สัพพสังคาหิกา ญัตติ คือ แบบตั้งครอบทั่วไป ไม่ระบุว่ากี่หน ตั้งญัตติคลุมๆ โดยลงท้ายว่า …..สงฺโฆ ปวาเรยฺย (ตัดคำว่าเตวาจิกํ ออกเสีย และไม่ใส่คำใดอื่นแทนลงไปอย่างนี้จะปวารณากี่หนก็ได้) ; ธรรมเนียมคงนิยมแต่แบบที่ ๑, ๒ และ ๔ และท่านเรียกชื่อปวารณาตามนั้นด้วยว่า
เตวาจิกา ปวารณา, เทฺววาจิกา ปวารณา, สมานวัสสิกา ปวารณา ตามลำดับ ในการทำ คณปวารณา ถ้ามีภิกษุ ๓-๔ รูป พึงตั้งญัตติก่อนว่า :
สุณนฺตุเม อายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺญมญฺญํ ปวาเรยฺยาม แปลว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด (ถ้า ๓ รูปว่า อายุสฺมนฺตา แทนอายสฺมนฺโต) จากนั้นแต่ละรูปปวารณา ๓ ปน ตามลำดับพรรษา ดังนี้ :
มี ๓ รูปว่า อหํ อาวุโสอายสฺมนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ วทนฺตฺ มํอายุสมนฺเต อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ตติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ ปฏิกฺกริสฺสามิ. (ถ้ารูปอ่อนกว่าว่า เปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนฺเต) ; มี ๔ รูป เปลี่ยน อายุสฺมนฺเต และ อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมนฺโต อย่างเดียว ;
ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ คำปวารณาก็เหมือนอย่างนั้น เปลี่ยนแต่ อายสฺมนฺเต เป็น อายสฺมนฺต์, อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมา และ วทนุตฺ เป็น วทตุ.
ถ้าภิกษุอยู่รูปเดียว เธอพึงตระเตรียมสถานที่ไว้ และคอยภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา เมื่อเห็นว่าไม่มีใครอื่นแล้วพึงทำ ปุคคลปวารณา โดยอธิษฐาน คือ กำหนดใจว่า อชฺช เม ปวารณา แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ เหตุที่จะอ้างเพื่อเลื่อนวันปวารณาได้ คือจะมีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบปวารณาด้วย โดยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้ให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น หรืออยู่ด้วยผาสุก ถ้าปวารณาแล้วต่างก็จะจาริกจากกันไปเสีย