ปาฎิโมกขสังวร - ปานะ
ปาฎิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต (ข้อ ๑ ในปาริสุทธิศีล ๔)
ปาฏิหาริย์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์, เรื่องที่น่าอัศจรรย์ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์มี ๓ คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์ ใน ๓ อย่างนี้ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมเป็นประเสริฐ
ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป, ฆ่าสัตว์
ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)
ปาตลีบุตร ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช ; เขียนปาฏลีบุตร ก็มี
ปาตาละ นรก, บาดาล (เป็นคำที่พวกพราหมณ์ใช้เรียกนรก)
ปาติโมกข์ ดู ปาฏิโมกข์
ปาทุกา รองเท้าประเภทหนึ่ง แปลกันมาว่า เขียงเท้า เป็นรองเท้าที่ต้องห้ามทางพระวินัย อันภิกษุไม่พึงใช้ ดู รองเท้า
ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง ๒. ชมฺพุหานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. สาลุกปานํ
น้ำเหง้าอุบล ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้น ลงไปพอให้ได้รสดีข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ (ข้อนี้พระมิตสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรฐาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำจึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)