ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ปาริฉัตตก์ - ปาริสุทธิอุโบสถ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ปาริฉัตตก์ - ปาริสุทธิอุโบสถ

ปาริฉัตตก์
"
ต้นทองหลาง" ,ชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในส่วนนันทวันของพระอินทร์; ปาริฉัตร หรือ ปาริชาต

ปาริเลยยกะ ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกส้มพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี; ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเลไลยก์ก็มีป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์

ปาริวาสิกขันธก ชื่อขันธกะที่ ๒ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องภิกษุอยู่ปริวาส

ปาริวาสิกภิกษุ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ดู ปริวาส

ปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ของภิกษุ; เป็นธรรมเนียมว่า ถ้ามีภิกษุอาพาธอยู่ในสีมาเดียวกัน เมื่อถึงวันอุโบสถไม่สามารถไปร่วมประชุมได้ ภิกษุผู้อาพาธต้องมอบปาริสุทธิแก่ภิกษุรูปหนึ่งมาแจ้งแก่สงฆ์ คือให้นำความมาแจ้งแก่สงฆ์ว่าตนมีความบริสุทธ์ทางพระวินัยไม่มีอาบัติติดค้าง หรือในวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่เพียงสองหรือสามรูป (คือเป็นเพียงคณะ) ไม่ครบองค์สงฆ์ที่จะสวดปาฏิโมกข์ได้ ก็ให้ภิกษุสองหรือสามรูปนั้นบอกความบริสุทธิ์แก่กันแทนการสวดปาฏิโมกข์

ปาริสุทธิศีล ศีลเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์, ศีลเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ หรือความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีลมี ๔ อย่างคือ
๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์
๒. อินทรียสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓. อาชีวปาริสุทธศีล เลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบธรรม
๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช

ปาริสุทธิอุโบสถ อุโบสถที่ภิกษุทำปาริสุทธิ คือแจ้งแต่ความบริสุทธิ์ของกันและกัน ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์ปาริสุทธิอุโบสถนี้
กระทำเมื่อมีภิกษุปาริสุทธิอุโบสถนี้ กระทำเมื่อมีภิกษุอยู่ในวันเพียงเป็นคณะ คือ ๒-๓ รูปไม่ครบองค์สงฆ์ ๔ รูป

ถ้ามีภิกษุ ๓ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว รูปหนึ่งตั้งญัตติดังนี้ :
สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา, อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺมญฺยํ ปาริสุทฺธิ อุโปสถํ กเรยฺยาม.
แปลว่า : ท่านทั้งหลาย อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านถึงที่แล้ว เราทั้งหลายถึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน
(ถ้ารูปที่ตั้งญัตติแก่กว่าเพื่อนว่า อาวุโส แทน ภนเต,ฺ ถ้าเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ว่า จาตุทโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทโธติ มํ ธาเรถ (๓ หน)
แปลว่า : ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอทั้งหลายจงจำฉันว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว อีก ๒ รูปพึงทำอย่างเดียวกันนั้นตามลำดับพรรษาคำบอกเปลี่ยนเฉพาะ อาวุโส เป็น ภนฺเต แปลว่า ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว
ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติพึงบอกปาริสุทธิแก่กัน ผู้แก่ว่า : ปริสุทฺโธอหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ (๓หน) ดู อุโบสถ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย