พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด มัชฌิมนิกาย - มัชฌิมาปฏิปทา

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


มัชฌิมนิกาย - มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมนิกาย นิกายที่สองแห่งพระสุตตันตปิฎก มีพระสูตรยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร

มัชฌิมโพธิกาล ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าตอนกลางระหว่างปฐมโพธิกาลกับปัจฉิมโพธิก าลนับคร่าวๆ ตั้งแต่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธไปแล้ว ถึงปลงประชนมายุสังขาร

มัชฌิมภาณกาจารย์ อาจารย์ผู้สาธยายคัมภีร์มัชฌิมนิกาย คือ ผู้ได้ศึกษาทรงจำและชำนาญในมัชฌิมนิกาย

มัชฌิมภูมิ ขั้น ชั้น หรือระดับพระมัชฌิมะ คือพระปูนกลาง, ระดับอายุคุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระปูนกลาง (ระหว่างพระนวกะ กับพระเถระ) คือ มีพรรษาเกิน ๕ แต่ยังไม่ครบ ๑๐ และมีความรู้พอรักษาตัวเป็นต้น

มัชฌิมยาม ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน,ระยะเที่ยงคืน

มัชฌิมวัย ตอนท่ามกลางอายุ, วัยเมื่อเป็นผู้ใหญ่หรือกลางคน, วัยกลางคน ระหว่างปฐมวัยกับปัจฉิมวัย,
ดู วัย

มัชฌิมา ท่ามกลาง, กลาง

มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง, ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค, ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา, ดำเนินด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย