ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด พระยม - พละ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


พระยม - พละ

พระยม ดู ยม

พระยศ ดู ยส

พระรัตนตรัย ดู รัตนตรัย

พระวินัย ดู วินัย

พระศาสดา ผู้สอน เป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า ดู ศาสดา

พระสงฆ์ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย, หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ดู สงฆ์

พระสมณโคดม คำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า

พระสัมพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึง พระพุทธเจ้า

พระสาวก ผู้ฟังคำสอน, ศิษย์ของพระพุทธเจ้า ดู สาวก

พระสูตร ดู สูตร

พระเสขะ ดู เสขะ

พระอูรุ ดู อูรุ

พราหมณ์ คนวรรณะหนึ่งใน ๔ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร; พราหมณ์เป็นวรรณะนักบวชและเป็นเจ้าพิธี ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด เกิดจากปากพระพรหม ดู วรรณะ

พราหมณสมัย ลัทธิพราหมณ์

พราหมณมหาศาล พราหมณ์ผู้มั่งคั่ง

พราหมณี นางพราหมณ์, พราหมณ์ผู้หญิง

พละ กำลัง
1. พละ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรมมี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์
2. พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑. ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒. วิริยพละ กำลังความเพียร ๓. อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔. สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
3. พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑. พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธมีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒. โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓. อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔. อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕. ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย