นิโรธสมาบัติ - นิสสารณา
นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาการเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้(ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙)
นิโรธสัญญา ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียดประณีต ดู สัญญา
นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมมี ๕ อย่าง คือ ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
นิวรณุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมองคือนิวรณ์
นิเวศน์ ที่อยู่
นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสัย
นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้ เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป ได้แก่นิพพาน, เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๕ ในวิมุตติ ๕)
นิสสัคคิยะ “ทำให้สละสิ่งของ” เป็นคุณบทแห่งอาบัติปาจิตตีย์หมวดหนึ่ง ที่เรียกว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิสสัคคิยกัณฑ์ ตอน หรือ ส่วนอันว่าด้วยอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อน จึงจะปลงอาบัติตก
นิสสัคคิยวัตถุ ของที่เป็นนิสสัคคีย์, ของที่ต้องสละ, ของที่ทำให้ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จำต้องสละก่อนจึงจะปลงอาบัติตก
นิสสารณา การไล่ออก, การขับออกจากหมู่ เช่น นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ในอปโลกนกัมม์ ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรม ในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์) คู่กับ โอสารณา