ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ทิศหรดี - ทีฆาวุ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ทิศหรดี - ทีฆาวุ

ทิศหรดี ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ทิศอาคเนย์ ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ทิศอีสาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ทิศอุดร ทิศเหนือ, ทิศเบื้องซ้าย

ทิศานุทิศ ทิศน้อยทิศใหญ่ทิศทั่ว ๆ ไป

ทิศาปาโมกข์ อาจารย์ผู้เป็นประธานในทิศ, อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง

ทีฆะ สระมีเสียงยาวได้แก่ อา อี อู เอ โอ

ทีฆนขะ ชื่อปริพาชกผู้หนึ่งตระกูลอัคคิเวสสนะ ขณะที่พระพุทธเจ้าเทศนาเวทนาปริคคหสูตรโปรดปริพาชกผู้นี้ พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ได้ฟังเทศนานั้นได้สำเร็จพระอรหัต ส่วนทีฆนขะ เพียงแต่ได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา

ทีฆนิกาย นิกายที่หนึ่งแห่งพระสุตตันตปิฎก ดู ไตรปิฎก

ทีฆายุ อายุยืน

ทีฆาวุ พระราชโอรสของพระเจ้าทีฆีติราชาแห่งแคว้นโกศล ซึ่งถูกพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกาสี ชิงแคว้นจับได้ และประหารชีวิตเสีย ทีฆาวุกุมารดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระบิดาที่ตรัสก่อนจะถูกประหารภายหลังได้ครองราชสมบัติทั้ง ๒ แคว้น คือ แคว้นกาสีกับแคว้นโกศล




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย