ค้นหาในเว็บไซต์ :

ฮีต ๑๒

เดือนสี่ - บุญผะเหวด

เดือนสี่ - บุญผะเหวด

"บุญผะเหวด" เป็นสําเนียงชาวอีสานที่มาจากคําว่า "บุญพระเวส"หรือพระเวสสันดร เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟัง เทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทําติดต่อกันสามวัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ตกแต่ง ศาลาการเปรียญวันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์จากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมา ร่วมพิธีมีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวส โดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติเป็น การแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมี ไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่แหน ฟ้อนรําตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธมูลเหตุของพิธีกรรมพระสงฆ์จะเทศน์เรื่อง เวสสันดรชาดกจนจบและเทศน์ จากเรื่องในหนังสือมาไลยหมื่นมาไลยแสนกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถระได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกษแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้พบปะสนทนากับพระศรีอริยเมนไตย ผู้ที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตและพระศรีอริยเมตไตยได้สั่งความมากับ พระมาลัยว่า "ถ้ามนุษย์อยากจะพบและร่วมเกิดในศาสนาของพระองค์แล้วจะต้องปฏิบัติตนดังต่อไปนี้คือ"

1. จงอย่าฆ่าพ่อตีแม่ สมณพราหมณ์
2. จงอย่าทําร้ายพระพุทธเจ้า และยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน
3. ให้ตั้งใจฟังเทศน์เรื่อง พระเวสสันดรให้จบในวันเดียวด้วยเหตุ ที่ชาวอีสานต้องการจะได้พบพระศรีอริยเมตไตยและเกิดร่วมศาสนาของพระองค์จึง มีการทําบุญผะเหวด ซึ่งเป็นประจําทุกปี



พิธีกรรม - การเตรียมงาน

1. แบ่งหนังสือ นําหนังสือลําผะเหวดหรือลํามหาชาติ (หนังสือเรื่องพระเวสสันดรชาดก) ซึ่งมีจํานวน 13 กัณฑ์ (หรือ 13 ผูกใหญ่) แบ่ง เป็นผูกเล็กๆ เท่ากับจํานวนพระเณรที่จะนิมนต์มาเทศน์ในคราวนั้นๆ

2. การใส่หนังสือ นําหนังสือผูกเล็กที่แบ่งออก จากกัณฑ์ต่างๆ 13 กัณฑ์ไปนิมนต์พระเณรทั้งวัดในหมู่บ้านตนเองและจากวัด ในหมู่บ้าน อื่นที่อยู่ใกล้เคียงให้มาเทศน์ โดยจะมีใบฎีกาบอกรายละเอียดวันเวลาเทศน์ ตลอดจนบอกเจ้าศรัทธา ผู้ที่จะเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้นๆ ไว้ด้วย

3. การจัดแบ่งเจ้าศรัทธา เพื่อพระเณรท่านเทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ผู้เป็นเจ้าศรัทธาก็จะนําเครื่อง ปัจจัยไทยทานไปถวายตาม กัณฑ์ที่ตนเองรับผิดชอบ ชาวบ้านจะจัดแบ่งกันออกเป็นหมู่ๆ เพื่อรับเป็นเจ้าศรัทธากัณฑ์เทศร่วมกัน โดยจะต้องจัดหาที่พักข้าวปลา อาหารไว้คอยเลี้ยงต้อนรับญาติโยมที่ติดตามพระเณร จากหมู่บ้านอื่นเพื่อมาเทศน์ผะเหวดครั้งนี้ด้วย

4. การเตรียมสถานที่พัก พวกชาวบ้านจะพากันทําความสะอาดบริเวณวัดแล้วช่วยกัน "ปลูกผาม" หรือปะรําไว้รอบๆ บริเวณวัด เพื่อใช้ เป็นที่ต้องรับพระเณรและญาติโยมผู้ติดตามพระเณรจากหมู่บ้านอื่น ให้เป็นที่พักแรมและที่เลี้ยงข้าวปลาอาหาร

5. การจัดเครื่องกิริยาบูชาหรือเครื่องครุพัน ในการทําบุญผะเหวดนั้นชาวบ้านต้องเตรียม "เครื่องฮ้อยเครื่องพัน" หรือ "เครื่องบูชา คาถาพัน" ประกอบด้วยธูปหนึ่งพันดอก เทียนหนึ่งพันเล่มดอกบัวโป่ง (บัวหลวง) ดอกบัวแป้ (บัวผัน) ดอกบัวทอง (บัวสาย) ดอกผัก ตบและดอกก้างของ (ดอกปีบ) อย่างละหนึ่งพันดอก เมี่ยง หมากอย่างละหนึ่งพันคํา มวนยาดูดหนึ่งพันมวน ข้าวตอกใสกระทงหนึ่ง พันกระทง ธุงกระดาษ (ธงกระดาษ) หนึ่งพันธง

6. การจัดเตรียม สถานที่ที่จะเอาบุญผะเหวด

6.1 บนศาลาโรงธรรม ตั้งธรรมมาสน์ไว้กลางศาลาโดยรอบนั้นจัดตั้ง "ธุงไซ" (ธงชัย) ไว้ ทั้งแปดทิศ และจุดที่ตั้ง "ธุงไซ" แต่ละต้นจะต้อง มี "เสดถะสัต" (เศวตฉัตร) "ผ่านตาเว็น" (บังสูรย์) และตะกร้าหนึ่งใบสําหรับใส่ข้าวพันก้อนพร้อมทั้ง "บั้งดอกไม้" สําหรับใส่ดอกไม้แห่ง ซึ่งส่วนมากทําจาก ต้นโสนและใส้ "ธุงหัวคีบ" นอกจากนี้ที่บั้งดอกไม้ยังปีกนกปีกปลาซึ่งสานจากใบมะพร้าวหรือใบตาลไว้อีกจํานวน หนึ่งและตั้งโอ่งน้ำไว้ 5 โอ่ง รอบธรรมาสน์ซึ่งสมมติเป็นสระ 5 สระ ในหม้อน้ำใส่จอกแหน (แหนคือสาหร่าย) กุ้ง เหนี่ยว ปลา ปู หอย ปลูกต้นบัวในบ่อให้ใบบัวและดอกบัวลอยยิ่งดีรวมทั้งจะต้องจัดให้มีเครื่องสักการะบูชาคาถาพันและขันหมากเบ็งวางไว้ตามมุมธรรมาสน์ ณ จุดที่วางหม้อน้ำ ที่สําคัญบนศาลาโรงธรรมต้องตกแต่งให้มีสภาพคล้ายป่า โดยนําเอาต้นอ้อย ต้นกล้วย มามัดตามเสาทุกต้น และขึงด้าย สายสิญจน์รอบศาลา ทําราวไม้ไผ่สูงเหนือศรีษะประมาณหนึ่งศอกเพื่อเอาไว้เสียบดอกไม้แห่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่ห้อยนก ปลาตะเพียน และใช้เมล็ดแห่งของฝากลิ้นฟ้า (เพกา) ร้อยด้วยเส้นด้ายยาวเป็นสายนําไปแขวนเป็นระยะ ๆ และถ้าหากดอกไม้แห่งอื่นไม้ได้ ก็จะใช้เส้นด้ายชุบแป้งเป็ยกแล้วนําไปคลุกกับเมล็ดข้าวสาร ทําให้เมล็ดข้าวสารติดเส้นด้ายแล้วนําเส้นด้ายเหล่านั้นไปแขวนไว้แทน ด้านทิศตะวันออกของศาลาโรงธรรมต้องปลูก "หออุปคุต" โดยใช้ไม้ไผ่ทําเป็นเสาสี่ ต้นสูงเพียงตา หออุปคุตนี้เป็นสมมติว่าจะเชิญ พระอุปคุตมาประทับ เพื่อปราบมารที่จะมาขัดขวางการทําบุญ ต้องจัดเครื่องใช้ของพระอุปคุตไว้ที่นี้ด้วย

6.2 บริเวณรอบศาลาโรงธรรมก็ปัก "ธุงไซ" ขนาดใหญ่ 8 ซุง ปักไว้ตามทิศทั้งแปดซึ่งแต่ละ หลักธุงจะปัก "กรวยไม้ไผ่สําหรับใส่ข้าว พันก้อน" "เสดถะสัด" (เศวตฉัตร) "ผ่านตาเว็น" (บังสูรย์) และ "ขันดอกไม้" เช่นเดียวกับบนศาลาโรงธรรม นอกจากนี้ก็ปักธุงช่อไว้ ณ จุดเเดียวกับที่ปัก "ธุงไซ" อีก ด้วยครั้งถึงเวลาประมาณ 14-15 นาฬิกาของมื้อโฮมหรือวันรวม ผู้เฒ่าผู้แก่จะพากันนําเครื่องสักการะ บูชาประกอบด้วยขันห้าขน แปดบาตรจีวร ร่ม กระโถนกาน้ำ และไม้เท้าเหล็กไปเชิญพระอุปคุตซึ่งสมมติว่าท่านอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำอาจ เป็นบึง หนอง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ (ที่อยู่ใกล้วัด) เมื่อไปถึงผู้เป็นประธานจะตั้งนะโมขึ้น 3 จบ กล่าว "สัคเค" เชิญเทวดามาเป็นพยาน แล้วจึงกล่าว



หลังจากเชิญพระอุปคุตเสร็จแล้วก็ถึงพิธีแห่ผะเหวดเข้าเมืองซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 16.00-17.00 น. ของมื้อโฮมพิธีกรรมก่อนแห่เมื่อถึง เวลาแห่ผู้เป็น ประธานจะนําญาติโยม (ที่มาพร้อมกันในบริเวณชายปาที่ถูกสมมติให้เป็นป่าหิมพานต์) ไหว้พระรับศีลและฟังเทศน์



การเทศน์ ณ จุดนี้เป็นการเทศน์จบแล้วก็จะลั่นฆ้อง จัดขบวนแห่ผะเหวดเข้าเมือง เดินผ่านหมู่บ้านเข้าสู่วัด แล้วแห่เวียนขวา รอบศาลา โรงธรรมสามรอบ จากนั้นจึงนําพระพุทธรูปขึ้นตั้งไว้ในศาลาโรงธรรม ญาติโยมที่เก็บดอกไม้มาจากป่า เช่น ดอกพะยอม ดอกจิก (ดอกเต็ง)ดอกฮัง (ดอกรัง) ดอกจาน ฯลฯ ก็จะนําดอกไม้ไปวางไว้ข้างๆ ธรรมาสน์ แล้วขึงผ้าผะเหวดรอบศาลาโรงธรรม หลังจาก แห่ผะเหวดเข้าเมืองแล้วญาติโยมจะพากันกลับบ้านเรือนของตน รับประทานอาหารเย็น พร้อมทั้งเลี้ยงดูญาติพี่น้องที่เดินทางมาร่วมทําบุญ

เวลาประมาณหนึ่งทุ่มเศษ ๆ ทางวัดจะตี "กลองโฮม" เป็นสัญญาณบอกให้ ชาวบ้านรู้ว่าถึงเวลา "ลงวัด" ญาติโยมจะพากันมารวมกันที่ศาลาโรงธรรมพระภิกษุสงฆ์สวด พระปริตมงคลหลังจากสวดมนต์จบก็จะ "เทศน์มาไลย หมื่นมาไลยแสน" หลังจากฟังเทศน์จบก็จัดให้ มีมหรสพ เช่น หมอลํา ภาพยนต์ให้ชมจนถึงสว่าง



เวลาประมาณ 04.00 น. ของวันบุญผะเหวด ญาติโยมจะ นําข้าวเหนียวก้อนเล็ก ๆ ขนาด เท่าหัวแม่มือจํานวนหนึ่งพันก้อนซึ่งเท่ากับหนึ่งพระคาถา ในเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก ใส่ถาดออกจากบ้านเรือน แห่จากหมู่บ้าน มาที่ศาลาโรงธรรมเวียนรอบศาลาโรงธรรมสามรอบ แล้วจึงนําข้าวพันก้อนไปใส่ไว้ในกรวยไม้ไผ่ที่หลักธุงไซทั้งแปดทิศและใส่ในตะกร้า ที่วางอยู่บนศาลาตามจุดที่มีธุงไซและเสดถะสัด เมื่อแห่ข้าวพันก้อนเสร็จแล้วก็จะมีเทศน์สังกาศ คือ การเทศน์บอกปีศักราชเมื่อจบสังกาศจะหยุดพักให้ญาติโยมกลับไปบ้านเรือน นําอาหารมาใส่บาตรจังหันหลังจากพระฉันจังหันแล้วก็จะเริ่มเทศน์ผะเหวด โดยเริ่ม จากกัณฑ์ทศพรไปจนถึงนครกัณฑ์รวม สิบสามกัณฑ์ ใช้เวลาตลอดทั้งวันจนถึงค่ํามีความเชื่อกันว่าหากใครฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรจบผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์มากพิธีกรรมขณะฟังเทศน์

ในการ ฟังเทศน์ "บุญผะเหวด" นั้นต้องมีทายกหรือทายิกา คอยปฏิบัติพิธีกรรม ขณะ ฟังเทศน์แต่ละกัณฑ์ โดยจุดธูปเทียน เพื่อบูชากัณฑ์นั้น ๆ ตามจํานวนคาถา ในแต่ละกัณฑ์ นอกจากนั้นต้องหว่านข้าวตอก ดอกไม้ ข้าวสาร และลั่นฆ้องชัย เมื่อเทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ โดยผู้ทําหน้าที่ดังกล่าวนี้ต้องนั่งอยู่ประจํา ที่ตลอดเวลาที่เทศน์ ส่วนเครื่องฮ้อยเครื่องพัน หรือเครื่องครุพันนั้นต้องตั้งบูชาไว้ตลอดงาน เมื่อเทศน์จบแล้วบางวัดก็นําเครื่องฮ้อย เครื่องพันใส่ไว้ใน ภาชนะที่สานด้วยดอกไม้ไผ่ มีลักษณะเหมือนกะออม

ที่มา : https://cac.kku.ac.th/heet12_kong14/main_heet12.html




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย