เชิญร่วม .... ปุจฉา : วิสัชนา (ตอน ๒)

 หิ่งห้อยน้อย   25 ต.ค. 2553


 
ทุกข์อันไม่น่ายินดี ปรี่เต็มล้น
นำกมล ผู้ประมาทไว้ ในสังสาร์
กลับยินดี ทวียิ่ง เกินอุปมา
ด้วยเห็นว่า เป็นที่น่า พายินดี

และยังมี ทุกข์อัน ไม่น่ารัก
กลับประจักษ์ ว่าน่ารัก น่าเสริมศรี
ผู้ประมาท พลาดแล้ว มิแคล้วราคี
พุทธวจี ตรัสไว้ ให้พิจารณา

ทุกข์ทั้งหลาย ในกาม ลามสู่จิต
กลับเพลินพิศ แนบสนิท ติดมิจฉา
ผู้ประมาท ย่อมหลงใหล ในกามา
เห็นทุกขา ว่าเป็นสุข สนุกใจ

ผู้ประมาท คำนี้ น่าเชื่อถือ
คำเล่าลือ ที่ดูเด่น เป็นไฉน  
คำว่า ประมาท คำนี้หรือ คืออะไร 
ขอทิ้งไว้ ให้พินิจ พิจารณา

ด้วยเนื่องจาก กระทู้เก่า นั้นยาวมาก
เลื่อนลำบาก จึงขึ้นใหม่ ใคร่ปุจฉา
เพื่อช่วยกัน สร้างพลัง และสัทธา
เสริมคุณค่า สร้างปัญญา สร้างบารมี



อ่านกระทู้เก่าได้ที่ กระทู้ที่ 0031 ตามลิงค์นี้ค่ะ

http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/dbview.php?No=31





เจริญในธรรม เจ้าค่ะ
 









ขอเรียนเชิญ ผองเพื่อน ชาวกวี
ร่วมเปรมปรีดิ์ ใส่คารม คมปุจฉา
หรือร่วมตอบ ชอบจิต ชิดธัมมา
เชิญท่านร่วม วิสัชนา ในสัทธรรม


เจริญในธรรม เจ้าค่ะ






     ความประมาทแบบโลกคือไม่ระมัด
ไม่รู้หัดดูถนนทางซ้ายขวา
ไม่รู้จักหลบรถยนต์ชนไปมา
นี่แหละหนาประมาทโลกในโลกเรา

     ไม่ประมาทที่ทางธรรมทำให้สุด
ทำให้หยุดโลกร้อนปล้อนโง่เขลา
ทำให้เหือดในกามทรามให้เบา
ทำให้เศร้าปราศหายกลายเป็นจุณ

     ประมาทนี้คือไม่ล่องทางวิมุต
ปัญญาทรุดไม่เชื่อเบื่อหันหุน
ไม่ทำตนในธรรมให้เป็นคุณ
มั่วแต่วุ่นทางโลกโศกเสียใจ

     ไม่ประมาทคือทำกินให้ถึงที่
ให้เกิดมีปัญญาน่าเลื่อมใส
เข้าถึงธรรมสี่ประการมารออกไกล
นี่แหละใครไม่ประมาทในทางธรรม

ขอรับ




ปล. แก้ทำกิน เป็นทำกิจ คับ

*********************************

๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน
คืออุภโตภาควิมุตบุคคล ๑ ปัญญาวิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล ๑ ธัมมานุสารีบุคคล ๑ สัทธานุสารีบุคคล ๑.
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น (อริยสัจ) ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และ
ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.
..............

พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 5

รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี รูปเหล่านั้นถูกต้อง
แล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่

พระไตรปิฎกเล่มที่ 18 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 10
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ปัณณาสกะที่ ๓
เทวทหวรรค เทวทหสูตร


วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสง
สว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส
ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครึ่งหนึ่งของเรานี้แล

พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 15
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรค
เวรัญชสูตร


**********************************************





คำว่า ประมาท คำนี้หรือ คืออะไร
ป่าปี๋จะตอบอย่างไรให้เห็นแจ้ง
ด้วยด้อยน้อยธรรมนำสำแดง
แม่หิ่งห้อยคอยให้แสงหากหลงทาง
ปัจจุบัน มีสติ เจริญอยู่
พอจะสู้ กิเลสสี่ ที่กั้นขวาง
ได้ไหมหนอแม่หิ่งห้อยช่วยชี้ทาง
ได้ถากถางทางเดินให้ได้เห็นธรรม..




เยือนบ้านใหม่หลังนี้ที่พิงพัก
ได้สมัครด้วยใจไฝ่ศึกษา
ด้วยหวังไว้ได้น้อมนำแนวธรรมมา
และได้ร่วม อนุโมทนา ธรรมกวี

มีมากมายหลายสิ่งที่ยิ่งใหญ่
เกิดจากใจ จิตร ศรัทรา มารศรี
สะสมบุญ สร้างทาน บารมี
เพื่อให้ ดวงตาข้า นี้ได้เห็นธรรม..






ไม่ประมาทที่ทางธรรมทำให้สุด
ทำให้หยุดโลกร้อนปล้อนโง่เขลา
ทำให้เหือดในกามทรามให้เบา
ทำให้เศร้าปราศหายกลายเป็นจุณ

ประมาทนี้คือไม่ล่องทางวิมุต
ปัญญาทรุดไม่เชื่อเบื่อหันหุน
ไม่ทำตนในธรรมให้เป็นคุณ
มั่วแต่วุ่นทางโลกโศกเสียใจ

ไม่ประมาทคือทำกิจให้ถึงที่
ให้เกิดมีปัญญาน่าเลื่อมใส
เข้าถึงธรรมสี่ประการมารออกไกล
นี่แหละใครไม่ประมาทในทางธรรม ... ข้าพเจ้า

แม่ชอบใจ ลูกเจต ตอบคำถาม
มีทั้งความ ทางโลก และทางสัมม์
ยกพระไตร มาอ้างอิง วิถีธรรม
ด้วยลำนำ เหมือนเก่าก่อน ใช่ย้อนความ


เจริญในธรรม เจ้าค่ะ





ปัจจุบัน มีสติ เจริญอยู่
พอจะสู้ กิเลสสี่ ที่กั้นขวาง
ได้ไหมหนอแม่หิ่งห้อยช่วยชี้ทาง
ได้ถากถางทางเดินให้ได้เห็นธรรม.. ป่าปี๋

พบป่าปี๋ อีกครั้ง ดีใจยิ่ง
นึกว่าทิ้ง กวีธรรมไป ไม่อุปถัมภ์
ได้แลเห็น ป่าปี๋ ขับลำนำ
ได้ทำกรรม เจริญสตินี้ มิห่างไกล

นั่นหมายถึง จิตป่าปี๋ มีกุศล
องค์ธรรมดล เจตสิก สติได้
แม้จิตท่าน ทิ้งกุศล ให้ห่างไกล
จิตก็ไร้ สติมา สัมปชาโณ


ยินดีต้อนรับป่าปี๋ กลับบ้านค่ะ
เจริญในธรรม เจ้าค่ะ







ก่อนเฉลย ขอเผย แหล่งที่มา
ธรรมคาถา พุทธวาจา ที่รังสรรค์
กับพระมารดา สีวลีเถระ ที่จำนรรจ์
นางปรารถนา โอรสนั้น อีกเจ็ดองค์

ด้วยพระนาง ต้องการบุตร สุดประเสริฐ
ที่เป็นเลิศ ดั่งพระสิวลี จึงลุ่มหลง
จึงได้ตรัส ตอบความ ตามจำนง
พระพุทธองค์ จึงทรงเปล่ง พระอุทาน



เจริญในธรรม เจ้าค่ะ







จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต สุปปวาสาสูตร


ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

ทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข ฯ



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1870&Z=1976







ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

อนุโมทนาครับ แม่หิ่งห้อยน้อย

ซึ้งจับใจ

***************************







ผู้ประมาท คำนี้ น่าเชื่อถือ
คำเล่าลือ ที่ดูเด่น เป็นไฉน
คำว่า ประมาท คำนี้หรือ คืออะไร

ขอทิ้งไว้ ให้พินิจ พิจารณา ... หิ่งห้อยน้อย

ขอช่วยเพิ่ม เสริมแหล่ง แห่งพุทธพจน์
ที่กำหนด "ผู้ประมาท" ในธรรมคาถา
เพื่อประกอบ ชอบนัย ให้วิสัชนา
ทรงคุณค่า เพิ่มปัญญา ในดวงใจ


เจริญในธรรมค่ะ





อปฺปมาโท อมตํ ปทํ     ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ      เย ปมตฺตา ยถา มตา

ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย
ชนเหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว



จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒




ธรรมทั้งหลายเกิดมาแต่เหตุ
เมื่อเหตุดับลง ธรรมทั้งปวง
ก็ดับลงไปด้วย.... สาธุ






ทุกข์ทั้งหลาย ครอบงำ ผู้ประมาท
ให้มิอาจ มองเห็น เป็นเศร้าหมอง
นั้นก็สม นี้ก็สุข ทุกข์ไม่มอง
จะร่ำร้อง ก็เมื่อภัย มาถึงกัน

...หากแม้มี...

สติ...ทันวิณญาณ นำผัสสะ
สัมปชัญญะ...เห็นสัญญา หาใช่ฉัน
ชาคริยะ...ดับสังขาร กับแจ้งพลัน
หนทางนั้น หนทางแห่ง...อัปมาโท


ขอให้ธรรม นำเราไป





เอตํ วิเสสโต ญตฺวา     อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ     อริยานํ โคจเร รตา
เต ฌายิโน สาตติกา      นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ       โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ


บัณฑิตทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ทราบเหตุนั่นโดยความแปลกกันแล้ว
ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท
ยินดีแล้วในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
เพ่งพินิจ มีความเพียรเป็นไปติดต่อ
มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องนิพพานอันเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้









ปมาทมนุยญฺชนฺติ พาลา      พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี           ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ.

มา ปมาทมนุยุญฺเชถ          มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต.       ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.

ชนทั้งหลายผู้เป็นพาลมีปัญญาทราม
ย่อมประกอบตามความประมาท
ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนทรัพย์อันประเสริฐสุด

ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความประมาท
อย่าประกอบการชมเชยด้วยสามารถความยินดีในกาม
เพราะว่าคนผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่
ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์








การปล่อยจิต ฟุ้งซ่านไป ในกามา
กามคุณห้า หนุนเนื่อง เฟื่องสดใส
ทุจริตสาม ทั้งกาย วาจา ใจ
คุกรุ่นไอ อกุศลธรรม นำชีวิน

การกระทำ กุศลธรรม ในกรรมขาว
ไม่พร่างพราว ไม่ติดต่อ เป็นนิจสิน
ความประพฤติ ย่อหย่อนไป เป็นอาจิณ
พาชีวิน สู่ "ความประมาท" น่าอนาถใจ

การกระทำที่ ขาดฉันทะ ละ "เพียร" สี่
สิ่งที่ชี้ สู่มรรคา พาสดใส
ทิ้งกุศลธรรม ทั้งกาย วาจา ใจ
นี้คือ นัย ความประมาท ในทางธรรม

ขอขอบคุณ ทุกท่านร่วม วิสัชนา
ตามปุจฉา ที่ตั้งมา พาอุปถัมภ์
ชทุกคำตอบ ล้วนชอบ ประกอบคำ
ทุกลำนำ ทุกคาถา กราบอนุโมทนา


เจริญในธรรม เจ้าค่ะ







จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์



[๘๖๓] ความประมาท เป็นไฉน

ความปล่อยจิตไป ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไป
ในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕

หรือความกระทำโดยไม่เคารพ
ความกระทำโดยไม่ติดต่อ
ความกระทำไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน
ความทอดทิ้งฉันทะ
ความทอดทิ้งธุระ
ความไม่เสพให้มาก
ความไม่ทำให้เจริญ
ความไม่ทำให้มาก
ความไม่ตั้งใจจริง
ความไม่ประกอบเนืองๆ
ความประมาท
ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย

ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ความประมาท







ปมาโท รกฺขโต มลํ
@ ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา @

เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา
@ คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน @

ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา
@ คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ @

* ประมาทเป็นเช่นหนทางนำสู่
วิบัติรู้ อาสวะ ทำนำเสื่อมสูญ
ไม่ประมาทย่อมไม่ทำมนทินพูน
เศร้าสิ้นสูญสว่างอยู่รู้รักษ์ธรรม..




http://www.dhammathai.org/proverb/proverbthai09.php







ถ้อยคาถา ปุจฉา แห่งความประมาท
ที่มิอาจ พาชนข้าม วังวนได้
ท่านผู้อ่าน ได้รู้จักความ ตามพระไตรฯ
และคำตอบ ท่านผู้รู้ ได้วิสัชนา

ขอมาถึง ซึ่งคำถาม ที่คุ้นกัน
โปรดร่วมกัน รังสรรค์ คำตอบหนา
เราต่างพา กันสรรเสริญ คุณศาสดา
เก้าประการ มานานช้า อย่างชื่นชม

จากบทสวด สรรเสริญ พระพุทธคุณ
ที่การุณ ให้พ้นเขลา สู่สุขสม
พาพ้นทุกข์ พ้นโศกเศร้า พ้นโคลนตม
พ้นกิเลส ที่พาจม ในวัฏฏา

ว่าถึงพร้อม ด้วยวิชชา และจรณะ
เพราะด้วยละ เหล่ากิเลส เหตุตัณหา
เหตุเกิดทุกข์ พาจิตขลุก ในวัฏฏา
ใคร่ถามว่า จรณะนั้น คืออะไร



เจริญในธรรม เจ้าค่ะ






ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลทราบชัดพระศาสนาแล้ว
ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวก
ในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ ว่า

แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ

เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม




จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๑๐. มหานามสูตร





จากบทสวด สรรเสริญ พระพุทธคุณ
ที่การุณ ให้พ้นเขลา สู่สุขสม
พาพ้นทุกข์ พ้นโศกเศร้า พ้นโคลนตม
พ้นกิเลส ที่พาจม ในวัฏฏา

ว่าถึงพร้อม ด้วยวิชชา และจรณะ
เพราะด้วยละ เหล่ากิเลส เหตุตัณหา
เหตุเกิดทุกข์ พาจิตขลุก ในวัฏฏา
ใคร่ถามว่า จรณะนั้น คืออะไร....หิ่งห้อยน้อย

@ จรณะ เป็นหลักการประฏิบัติ
เป็นกิจวัตร ประพฤติตาม ธรรมวิถี
สิบห้าอย่างเบื้องต้น เป็นคนดี
เช่น ปูชนียบุคคลเบื้องต้นนำ

๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
ไร้มนทิน เจริญอยู่ รู้สิกขา
ทั้งพระ เฌร อุบาสก อุบาสิกา(พระวินัย อาทิพรหมจริยกาสิกขา)
ทั้ง ศีล ๕ บริสุทธิ์ ดุจเส้นทาง

๒. อินทรีย์สังวร สำรวมฯ ไว้
ทุกๆลมหายใจ ไม่แปรผัน
๓. โภชเนมัตตัญญุตา วัน
มื้อหนึ่งนั้นบริโภคเพียงเพื่อพอ..

วันนี้ขออนุโมฯ Go Home แล้ว
ขอให้แคล้วคลาดสิ่งไม่ดีที่จะขวาง
หากท่านใดพร้อมจะต่อ..ย่อแนวทาง
ดั่งช่วยสร้างสะพานไว้ให้ได้เดิน..

*********************
คำว่าจรณะแปลว่า ความประพฤติ
ความประพฤติ ๑๕ อย่างนี้ถือว่าเป็นเบื้องต้นเท่านั้น
ยังไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงมรรคถึงผล เป็นแต่เพียงว่าถ้าท่านทั้งหลายปฏิบัติได้
สำหรับจรณะ๑๕ นี้ท่านแบ่งเป็น ๓ หมวดด้วยกัน

สำหรับหมวดต้น มีอยู่ ๔ ข้อ คือ fficeffice" />>>
๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล >>
๒. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์>>
๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการบริโภคอาหาร>>
๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่
นี่เป็นหมวดที่ ๑ ๔ ข้อ

สำหรับหมวดที่ ๒ ท่านเรียกว่า สัจธรรม มี ๗ ข้อ คือ ข้อ >>
๕. ศรัทธา ความเชื่อ>>
๖. หิริ ความละอายแก่ใจ>>
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความผิด>>
๘. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก คือศึกษามามาก จำได้มาก>>
๙. วิริยะ มีความเพียร>>
๑๐. สติ ระลึกได้>>
๑๑. ปัญญา ความรอบรู้
สำหรับที่กล่าวมานี้เป็นหมวดที่สอง
สำหรับหมวดที่สาม ท่านกล่าวว่า สำหรับหมวดที่สามนี้มี ๔ ข้อด้วยกัน
ได้แก่ฌาน ได้แก่พวกรูปฌาน คือ>>
๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑>>
๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒>>
๑๔. ตติยฌาน ฌานที่ ๓>>
๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔>>






สาธุ ที่ ท่านป่าปี๋ กล่าวเริ่มมา
คลายปุจฉา พาผู้อ่าน จารเกื้อหนุน
ท่านยกมา ทั้งสิบห้าข้อ พอเป็นทุน
ให้ผู้อ่าน ได้ร่วมบุญ สาธุการ

ปฏิปทา แห่งเสขบุคคล
เพราะเป็นหน สู่วิชชา มาผสาน
แบ่งเป็นหมวด ดังป่าปี๋ ยกมาจาร
เป็นองค์ธรรม ที่กอบการ แห่งปัญญา

ในเสขปฏิปทาสูตร เล่มสิบสามนั้น
ได้ตรัสพลัน ให้พระอานนท์ เทศนา
ให้แก่เจ้า ศากยะวงศ์ ผู้สัทธา
ในเสขปฏิปทา กระจ่างใจ

เมื่อจบคำเทศนา ของเถระฯ
พระพุทธะ อนุโมทนา หาขัดไม่
ปฏิปทา ข้อปฏิบัติ ควรใส่ใจ
ของผู้ที่ ยังไม่ บรรลุธรรม


เจริญในธรรม เจ้าค่ะ






ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์
ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก
แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า

ดูกรอานนท์
ปฏิปทาของเสขบุคคลจงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เถิด
เราเมื่อยหลัง เราจักเหยียดหลังนั้น

ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคโปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น
สำเร็จสีหไสยาสน์ ด้วยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาท
เหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงมนสิการสัญญาในอันเสด็จลุกขึ้น.





ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
สาธุ สาธุ อานนท์
เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ดีแล.

ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาทรงยินดี
พวกเจ้าศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ชื่นชม ยินดี ภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.





@ จรณะ เป็นหลักการประฏิบัติ
เป็นกิจวัตร ประพฤติตาม ธรรมวิถี
สิบห้าอย่างเบื้องต้น เป็นคนดี
เช่น ปูชนียบุคคลเบื้องต้นนำ

๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
ไร้มนทิน เจริญอยู่ รู้สิกขา
ทั้งพระ เฌร อุบาสก อุบาสิกา(พระวินัย อาทิพรหมจริยกาสิกขา)
ทั้ง ศีล ๕ บริสุทธิ์ ดุจเส้นทาง

๒. อินทรีย์สังวร สำรวมฯ ไว้
ทุกๆลมหายใจ ไม่แปรผัน
๓. โภชเนมัตตัญญุตา วัน
มื้อหนึ่งนั้นบริโภคเพียงเพื่อพอ..

๔. ชาคริยานุโยค ไม่โศกแน่
เพียรตื่นอยู่ รู้แท้ แม้นสุขหนอ
สัจจธรรม๗ ข้อ ขอกล่าวรอ..
ท่านเสริมต่อ กระจ่างใสในทางเดิน

๑. ศรัทธา ความเชื่อ เมื่อท่านห้าม(ศีล)
จงทำตามน้อมใจไม่ห่างเหิญ
คำสั่งสอนพุทธองค์จงดำเนิน
84000 เชิญเพลินพิจรณา

๒. หิริ ความละอายแก่ใจเจ้า
หมั่นฝึกเอาละอายอยู่คู่จิตหนา
เพียงแค่คิด จิตรู้ ตายละวา
อายหน่อยนะ ก่อนก่อกรรม ทำไม่ควร

๓. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความผิด
อายแล้วคิดหากทำกรรมนำให้หวล
กรรมวันนี้เร็วว่า Net ไม่แปรปรวน
และไม่มีไวรัสกวน เมื่อชื่นชม

๔. พาหุสัจจะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
ดีแต่ปาก ไม่รับรู้ ดูไม่สม
๕. วิริยะ มีความเพียร คือ ความเพียรสละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี

๖. สติ ระลึกได้ นึกได้ว่าเราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ระลึกได้ว่าเราเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ นึกได้ว่าเราจะบริโภคอาหารอยู่แต่พอสมควร นึกได้ว่าเราจะเป็นผู้ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่ เป็นต้น

๗. ปัญญา ความรอบรู้ จงใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์จิตว่า เวลานี้อารมณ์จิตของเรายังมีความผูกพันอยู่ในร่างกายหรือเปล่า เวลานี้เราสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรหรือเปล่า และปัญญาพิจารณาศีลที่เรารักษาตามสภาวะของตัว อย่าให้มันด่าง มันพร้อย มันขาดทะลุ อย่าให้มันบกพร่อง




อนุโมทนาสาธุธรรม
เปิดเทอมอีกแล้ว
ขอรับ





เมื่อจบคำเทศนา ของเถระฯ
พระพุทธะ อนุโมทนา หาขัดไม่
ปฏิปทา ข้อปฏิบัติ ควรใส่ใจ
ของผู้ที่ ยังไม่ บรรลุธรรม ... หิ่งห้อยน้อย

จรณะ สิบห้า ข้อปฏิบัติ
ทางขจัด กิเลส เหตุพาถลำ
เป็นเบื้องต้น ที่จะสู่ ลู่ทางธรรม
เป็นทางสัมม์ เกิดปัญญา พานิพพาน

ท่านป่าปี๋ กล่าวสรุปมา สัทธายิ่ง
แผ่ความจริง พร้อมขยาย ให้ผสาน
ข้าฯ กระบี่ ขอร่วมบุญ หนุนช่วยจาร
จากพระไตรฯ นำมาขาน จารด้วยกัน



๑. สีลสัมปทา ...

(ความถึงพร้อมด้วยศีล)



ศีล
คือ ข้อต้องสำรวม มั่นระวัง
มิให้พลั้ง ทั้งกาย ถ้อย ร้อยรังสรรค์
สำรวมกาย วาจา พาสุขพลัน
เพียรบากบั่น ถ้าละเมิด เกิดอกุศลกรรม

ปาติโมกข์
คือ ประมวล สิกขาบท
ภิกขุจด และจำ ย้ำอุปถัมภ์
สองร้อยยี่สิบเจ็ด ของภิกษุ ที่ต้องทำ
สามร้อยสิบเอ็ด งามล้ำ ของภิกษุณี

สิบประการ ของสามเณร ต้องประพฤติไว้
แปดประการไซร้ อุบาสก-สิกา พาเสริมศรี
ห้าประการของ สาธุชน หมู่คนดี
ปาฏิโมกข์นี้ เบ็นการสำรวม กาย วาจา

อาจาระ
คือ ความประพฤติดี มีมารยาท
มิได้ขาด จากจิต ปลิดมิจฉา
งามทั้งกาย มารยาท และวาจา
สมคุณค่า พุทธบริษัท ขจัดธุลี

ทั้งบุคคล และสถานที่ ที่เหมาะสม
คามนิคม ควรใกล้ ได้ศักดิ์ศรี
เรียนกันว่า โคจร จำให้ดี
ทั้งอาจาระ โคจรนี้ พึงสังวร

ผู้มีศีล สีลา ปาฏิโมกข์
ปรารถนาไกล ความโศก วิโยคถอน
เห็นภัยใน วัฏฏา ใคร่หลีกจร
นี่คือศีล สังวร แห่งจรณธรรม

เจริญในธรรมค่ะ





ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์ อยู่เถิด

จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด

จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.





ดูกรมหานาม
อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ดูกรมหานาม
อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.







เมื่อจบคำเทศนา ของเถระฯ
พระพุทธะ อนุโมทนา หาขัดไม่
ปฏิปทา ข้อปฏิบัติ ควรใส่ใจ
ของผู้ที่ ยังไม่ บรรลุธรรม ... หิ่งห้อยน้อย

จรณะ สิบห้า ข้อปฏิบัติ
ทางขจัด กิเลส เหตุพาถลำ
เป็นเบื้องต้น ที่จะสู่ ลู่ทางธรรม
เป็นทางสัมม์ เกิดปัญญา พานิพพาน

ท่านป่าปี๋ กล่าวสรุปมา สัทธายิ่ง
แผ่ความจริง พร้อมขยาย ให้ผสาน
ข้าฯ กระบี่ ขอร่วมบุญ หนุนช่วยจาร
จากพระไตรฯ นำมาขาน จารด้วยกัน


๑. สีลสัมปทา ...

(ความถึงพร้อมด้วยศีล)



ศีล
คือ ข้อต้องสำรวม มั่นระวัง
มิให้พลั้ง ทั้งกาย ถ้อย ร้อยรังสรรค์
สำรวมกาย วาจา พาสุขพลัน
เพียรบากบั่น ถ้าละเมิด เกิดอกุศลกรรม

ปาติโมกข์
คือ ประมวล สิกขาบท
ภิกขุจด และจำ ย้ำอุปถัมภ์
สองร้อยยี่สิบเจ็ด ของภิกษุ ที่ต้องทำ
สามร้อยสิบเอ็ด งามล้ำ ของภิกษุณี

สิบประการ ของสามเณร ต้องประพฤติไว้
แปดประการไซร้ อุบาสก-สิกา พาเสริมศรี
ห้าประการของ สาธุชน หมู่คนดี
ปาฏิโมกข์นี้ เบ็นการสำรวม กาย วาจา

อาจาระ
คือ ความประพฤติดี มีมารยาท
มิได้ขาด จากจิต ปลิดมิจฉา
งามทั้งกาย มารยาท และวาจา
สมคุณค่า พุทธบริษัท ขจัดธุลี

ทั้งบุคคล และสถานที่ ที่เหมาะสม
คามนิคม ควรใกล้ ได้ศักดิ์ศรี
เรียนกันว่า โคจร จำให้ดี
ทั้งอาจาระ โคจรนี้ พึงสังวร

ผู้มีศีล สีลา ปาฏิโมกข์
ปรารถนาไกล ความโศก วิโยคถอน
เห็นภัยใน วัฏฏา ใคร่หลีกจร
นี่คือศีล สังวร แห่งจรณธรรม

เจริญในธรรมค่ะ





ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์ อยู่เถิด

จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด

จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.






ดูกรมหานาม
อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ดูกรมหานาม
อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.










     อินทรียสังวร ...

(การสำรวมอินทรีย์)



ขอร่วมกล่าว ประการที่สอง รองจากกระบี่ฯ
การสำรวม อินทรีย์ ที่ควรเผย
ในจรณะ สิบห้า พางอกเงย
จึ่งขอร่วม ช่วยเอ่ย เฉลยด้วยกัน

อินทรีย์สังวร สำรวมฯ ไว้
ทุกทุกลม หายใจ ไม่แปรผัน .... ป่าปี๋
ประคองไว้ ในจินตนา ทุกวารวัน
จิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไป ให้ห่างตน

อินทรีย์ หรือ นั่นคือ ความเป็นใหญ่
เข้าใจไว้ เพื่อให้ ไม่สับสน
ทำหน้าที่ กิจการ งานของตน
จึงมิพ้น อายตนะ ในกายเรา

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ที่เป็นใหญ่ เกินคิด จึ่งชิดเขลา
ตาเห็นรูป ก็ปรุง ฟุ้งว่า เรา
นั่นของเขา นี่ของเรา กล่าวตู่ไป

หูยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรส
บ้างรันทด บ้างสดชื่น มิผลักไส
กายสัมผัส ชอบชื่นจิต สนิทใน
คืออินทรีย์ ที่เป็นใหญ่ ตามนัยธรรม

ในอปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติ ที่ไม่ผิด
ที่ควรชิด ควรใฝ่หา พาสู่สัมม์
คุ้มครองใน ทวารอินทรีย์ ที่ควรทำ
จิตจะพ้น ความระกำ สู่สัมมา

เช่นเมื่อตา เห็นรูป จมูกได้กลิ่น
หูได้ยิน กายสัมผัส ลิ้นลิ้มรสา
ไม่สนใจ ในนิมิต ที่รับมา
อนุพยัญชนะ นานา ไม่ปรุงไป

แม้จิตไม่ สำรวมแล้ว มิแคล้วพลาด
สู่ความประมาท อภิสังขาร พาลยิ่งใหญ่
ความอยากได้ อภิชฌา มาทันใด
ความยินร้าย โทมนัสสา มาครอบพลัน

นี่คือด่าน ประการที่สอง ของจรณะ
ที่จะละ ความยินดี ที่รังสรรค์
ความยินร้าย ก็จะละ ผละได้พลัน
ร่วมรังสรรค์ ญาณทัสสนะ ละกามคุณ



เจริญในธรรม เจ้าค่ะ









[๙๕] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า

ดูกรภิกษุ
มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย


เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ

ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด




เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์ อันมีการได้ยินเสียงเป็นเหตุ

ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาโสตินทรีย์ถึงความสำรวมในโสตินทรีย์เถิด




เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์ อันมีการได้ดมกลิ่นเป็นเหตุ

ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาฆานินทรีย์ถึงความสำรวมในฆานินทรีย์เถิด




เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ อันมีการได้ลิ้มรสเป็นเหตุ

ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาชิวหินทรีย์ถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์เถิด




เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ อันมีการได้สัมผัสเป็นเหตุ

ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษากายินทรีย์ถึงความสำรวมในกายินทรีย์เถิด




เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ

ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด ฯ








ขอร่วมกล่าว ประการที่สอง รองจากกระบี่ฯ
การสำรวม อินทรีย์ ที่ควรเผย
ในจรณะ สิบห้า พางอกเงย
จึ่งขอร่วม ช่วยเอ่ย เฉลยด้วยกัน ... หิ่งห้อยน้อย


สาธุ.... สาธุ.... สาธุ


๓. โภชเนมัตตัญญุตา ...

(การรู้ประมาณในโภชนะ)


โภชเนมัตตัญญุตา

รู้ประมาณ ในโภชนา พาเกื้อหนุน
พิจารณา แยบคาย ไว้เป็นทุน
บริโภค เพื่อหนุน ในกายา

ให้ดำรง คงอยู่ ไม่ลำบาก
อีกเพื่อพราก เวทนาเก่า ที่โหยหา
ไม่ให้เวทนาใหม่ ได้เกิดมา
ให้ชีวา ไร้โทษา ในอินทรีย์

ไม่บริโภค เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา
ด้วยความเขลา เอาโภชนา มาเสริมศรี
มิใช่ประดับ หรือแต่ง กายินทรีย์
การณ์เหล่านี้ คือ...โภชเนมัตตัญญุตา


เจริญในธรรมค่ะ





[๙๖] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้

ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ คือ
พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภค
มิใช่เพื่อจะเล่น
มิใช่เพื่อจะมัวเมา
มิใช่เพื่อจะประดับ
มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย

บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่
เพื่อให้ชีวิตเป็นไป
เพื่อบรรเทาความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น

ด้วยอุบายนี้
เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบายจักมีแก่เรา ฯ








[๒๙] ดูกรมหานาม
อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร
ไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม

เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้
เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้
เพื่อบำบัดความอยากอาหาร
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์

ด้วยคิดว่า
จักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย
จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย

ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ
ความเป็นผู้ไม่มีโทษ
และความอยู่เป็นผาสุกจักมีแก่เรา

ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.









      ๔. ชาคริยานุโยค ...

(การประกอบความเพียรเครื่องตื่น)


เมื่อสำรวม ในสีลา พาสงบ
เท่ากับพบ ทางดำเนิน เดินสู่ศรี
ด้วยสำรวม วิญญาณ แห่งอินทรีย์
ทั้งยินดี การประมาณ ในโภชนา

เข้าสู่การ ชำระจิต ให้ผ่องแผ้ว
หลุดจากแร้ว นิวรณธรรม นำตัณหา
ยืน นั่ง เดิน ไม่เพลินไป ในกามา
อัพยาปาท์ ละวิจิกิจฉา ฯ ตลอดกลางวัน

เข้าปฐมยาม แห่งราตรี ยังเพียรตบะ
จิตยังละ นิวรณ์ธรรม นำสุขสันต์
ในอิริยาบถ ทั้งสาม เหมือนกลางวัน
สกัดกั้น นิวรณ์ธรรม ทั้งห้าไว้

เข้าสู่ที่ สำเร็จ สีหไสยา
ข้างเบื้องขวา จิตรู้ว่า สติสดใส
กำหนดลุก ขึ้นจากที่ ไว้ในใจ
เมื่อปฐมยาม ผ่านไป สู่มัชฌิมยาม

เพื่อเอนกาย พักผ่อน ใช่นอนหลับ
จิตยังจับ สติได้ ใกล้ยามที่สาม
ลุกขึ้นมา ชำระจิต ให้งดงาม
ในปัจฉิมยาม สงัดจาก นิวรณ์ธรรม

แล้วเริ่มต้น เข้าลู่ สู่วันใหม่
หมุนเวียนไป เช่นนี้ นี่ทางสัมม์
เป็นผู้ตื่น คือตื่นจาก นิวรณ์ธรรม
มิให้กล้ำ มิให้กราย ในจินตนา


เจริญในธรรมค่ะ





[๙๗] ดูกรพราหมณ์
ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า

ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ
จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน

จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี

พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัวทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจ
แล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี

จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ




เจริญในธรรม เจ้าค่ะ







 เปิดอ่านหน้านี้  5569 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย