มีสติรักษาตัว เท่ากับช่วยรักษาสังคม


มีสติรักษาตัว เท่ากับช่วยรักษาสังคม

พุทธพจน์แสดงคุณค่าของสติ ในเสทกสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นความหมายและคุณค่าในทางปฏิบัติที่ใกล้ชิดกัน ของ อัปปมาท กับ สติ ช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมทั้งสองข้อนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น

ในเวลาเดียวกัน พุทธพจน์นั้นก็แสดงให้เห็นด้วยว่า พุทธธรรมมองชีวิตด้านในของบุคคล โดยสัมพันธ์กับคุณค่าด้านนอกคือทางสังคม และถือว่าคุณค่าทั้งสองด้านนี้เชื่อมโยงถึงกัน ไม่แยกจากกัน และสอดคล้องไปด้วยกัน

...

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น (ด้วย) เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย

เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น นั้นอย่างไร? ด้วยการหมั่นปฏิบัติ ด้วยการเจริญอบรม ด้วยการทำให้มาก อย่างนี้แล เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น (ด้วย)

เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน นั้นอย่างไร? ด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยความมีเมตตาจิต ด้วยความเอ็นดูกรุณา อย่างนี้แล เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน (ด้วย)

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตน” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่น (ด้วย) เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนเอง (ด้วย)

หนังสือ พุทธธรรม ฉบับเดิม
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

3,332







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย