เวรระงับด้วยการไม่จองเวร นั้นจริงแท้ แต่ต้องศึกษาว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องจองเวร


เวรระงับด้วยการไม่จองเวร นั้นจริงแท้
แต่ต้องศึกษาว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องจองเวร

พระพุทธศาสนานี้ คนที่ศึกษารู้กันดีว่า เป็นหลักการที่สอนให้เว้นการเบียดเบียนกันโดยสิ้นเชิง ถึงขั้นที่ว่า ไม่มีการจงใจฆ่าที่ไม่บาป จนไม่มีข้อที่จะนำไปใช้อ้างในการรุกรานทำร้ายกัน

...

แต่พระพุทธศาสนาก็มองเห็นตระหนักว่า การที่จะใช้เมตตา-กรุณาหรืออหิงสามาแก้ปัญหาให้สำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เรามีเมตตา-กรุณา รักคนอื่น ไม่เบียดเบียนใคร ถ้าพบกันหรืออยู่กับคนที่เป็นปกติไม่มีเป้าหมายที่อยู่ในเจตนาพิเศษออกไป ก็จะมีสันติสุขโดยง่าย

แต่ถ้าไปเจอกับคนที่มีเจตนาแฝงเร้น เช่น เขามุ่งหาผลประโยชน์ หรือแสวงอำนาจ ความรักด้วยเมตตากรุณา ก็อาจจะไม่พอ บางทีคนที่เมตตาก็กลายเป็นเหยื่อเขาไป

ยิ่งถ้ามูลเหตุของปัญหาถึงขั้นเป็นทิฏฐิ เช่น เป็นลัทธิความเชื่อด้วยแล้ว การแก้ปัญหาของเราแม้จะเริ่มด้วยเมตตา-กรุณา และวิธีอหิงสาก็จริง แต่จะสำเร็จได้ต้องใช้ปัญญาความสามารถอย่างพิเศษจริงๆ

หลักการก็คือ คนที่จะชนะศัตรูได้ ย่อมต้องมีกำลังเก่งกล้าสามารถกว่าศัตรู แต่คนที่จะชนะศัตรูที่มุ่งร้ายด้วยวิธีการไม่ทำร้ายนั้นจะต้องมีปัญญาความสามารถยิ่งกว่าคนที่ชนะศัตรูด้วยกำลังนั้นอีกมากมาย ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

วรรณคดีพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก อย่างมโหสถชาดก จึงได้สั่งสอนและแสดงตัวอย่างให้เห็นว่า เมื่อมีคนพวกอื่นตั้งตัวเป็นศัตรู ยกมาเพื่อฆ่าฟันทำร้าย ฝ่ายธรรมิกชนต้องใช้ปัญญาความสามารถที่เหนือกว่ามากมายในการที่จะเอาชนะคนพวกนั้น โดยไม่ใช้วิธีทำร้ายตอบ และทำให้พวกศัตรูนั้นต้องยอมสยบและกลายเป็นมิตรในที่สุด

หนังสือ สลายความขัดแย้ง สังคมศาสตร์ที่หยั่งถึงธรรมชาติ
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

3,137







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย