เวลาที่เราอ้างว่า เกินไป มันจะไม่ได้หมายความว่าเกินไปจริงๆ แต่หมายถึงไม่สะดวกหรือไม่สบายเท่านั้น






"แง่มุมหนึ่งที่คนมักมองข้ามในการเจริญสติทางวาจา คือ เรื่องเกี่ยวกับคำพูดในใจที่เราใช้กำหนดขอบเขตและทำความเข้าใจประสบการณ์ต่างๆ คำที่เราใช้และแนวคิดที่สะท้อนออกมาอาจส่งผลต่อจิตใจได้แรงกว่าที่คิด อย่างคำว่า ‘เกินไป’ บทบาทสำคัญของคำนี้คือการสื่อความหมายว่า เหตุที่เกิดขึ้นหรือสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือมาตรฐานที่ตั้งไว้ เช่น เราอาจพูดว่าเราขับรถช้าเกินไปกว่าจะถึงที่หมายตามเวลาที่นัดกัน หรือว่าโครงสร้างอาคารนี้บอบบางเกินไปกว่าจะรับน้ำหนักที่ประมาณไว้ แต่ถ้าใช้คำนี้ผิดความหมาย อาจส่งผลร้ายต่อจิตใจได้ไม่น้อย อย่างข้ออ้างที่มักใช้กันเพื่อจะไม่ต้องนั่งสมาธิ เช่น “เหนื่อยเกินไป” “จิตใจวุ่นวายเกินไป” “หิวเกินไป” “อิ่มเกินไป” “ร้อนเกินไป” “หนาวเกินไป” “เช้าเกินไป” “ดึกเกินไป”

ในกรณีนี้ คำสั้นๆ ว่า ‘เกินไป’ ทำให้ข้ออ้างที่จะไม่นั่งสมาธิมีน้ำหนักเกินควร ความอดทนของเราถูกคำนี้ทลายลงไปหมด แต่หากมีสติมั่นคง เราจะเห็นได้ว่าในบริบทนี้ คำว่า ‘เกินไป’ ไม่ได้หมายความว่าไม่เหมาะไม่ควร แต่หมายถึงความไม่สะดวกสบายเท่านั้นเอง จริงๆ แล้ว เราหมายถึงว่า “ฉันรู้สึกเหนื่อยจนอ่อนล้า” “ฉันหนาวจนรู้สึกว่าไม่สะดวก”

ครั้นตระหนักได้ว่าคำว่า ‘เกินไป’ เป็นเครื่องบดบังปฏิกิริยามืดบอดต่อความไม่สะดวกสบาย เราย่อมเห็นชัดถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้ความอดทน ‘อันเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง"

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร   




 2,692 


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย