ยิ่งหมั่นดูแลตาดูแลหูของตน เราก็จะยิ่งรักษาจิตใจได้ง่ายขึ้น


"การฝึกฝนกายวาจาแบบพระสงฆ์มิได้จำกัดอยู่เพียงสิกขาบทที่บัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์เท่านั้น หากหมายรวมถึง (๑) การสำรวมอินทรีย์ (๒) การบริโภคปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค อย่างถูกต้องเหมาะสม (๓) การได้มาซึ่งปัจจัยสี่โดยสุจริตและชอบธรรม

เช่นเดียวกัน การรักษาศีลของผู้ครองเรือนมิได้จำกัดอยู่เพียงศีล ๕ หรือศีล ๘ เท่านั้น หากยังต้องฝึกสำรวมอินทรีย์ ใช้ทรัพย์สินเงินทองอย่างถูกต้องเหมาะสม และหาเลี้ยงชีพอันสุจริตและเกื้อกูลการพัฒนาตนด้วยเช่นกัน

ในการฝึกฝนทั้งสามประการนี้ ความสำรวมอินทรีย์มีบทบาทเด่นที่สุดในพุทธธรรม ความสำรวมในที่นี้หมายถึงการมีสติรู้ตัวในอายตนะทั้งหก โดยรู้จักเฝ้าระวังและคัดกรองข้อมูลที่จะเข้ามาในจิตใจ โดยเฉพาะทางตาและหู การปล่อยวางมักเป็นงานยากพอสมควร การสำรวมอินทรีย์จะช่วยลดภาระการปล่อยวางในชีวิตประจำวัน ด้วยการลดการสะสมขยะสมอง เมื่อไม่สำรวมอินทรีย์ เราจะกระตุ้นกิเลสตัวเดิมที่พยายามจะละในระหว่างการภาวนา ยิ่งหมั่นดูแลตาดูแลหูของตน เราก็จะยิ่งรักษาจิตใจได้ง่ายขึ้น"

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

3,109







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย