ค้นหาในเว็บไซต์ :
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ - วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

" อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป "


ประวัติ : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ - วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
นามเดิม : ญาน

กำเนิด : 16 ม.ค. 2430

สถานที่เกิด : ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย

บิดา : บิดา นายผ่อย วรบุตร , มารดา นางกวย วรบุตร

อุปสมบท : อุปสมบท ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อ.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี เมื่อพ.ศ. 2452

มรณภาพ : 2 ก.ค. 2528 อายุ 98 ปี 77 พรรษา

หลวงปู่สืบเชื้อสายมาจากชาวหลวงพระบาง ราชธานีเดิมของราชอาณาจักรลาว หลวงปู่บวชเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี ตามคำขอร้องของมารดา และยาย ซึ่งขอให้หลวงปู่บวชตลอดชีวิต นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการกำเนิดอริยะสงฆ์อีกองค์หนึ่ง ของไทย หลังจากบวชได้ 2 ปี หลวงปู่ได้เข้าพำนัก และฝึกปฏิบัติธรรมที่วัดบ้านสร้างถ่อ ต.หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี ซึ่งมี พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นเจ้าอาวาส

กระทั่งอุปสมบทจึงได้ออกธุดงค์แสวงหาสัจธรรมตามป่าเขาต่างๆ หลายแห่ง และเข้ากราบนมัสการ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พระอาจารย์มั่น ได้กล่าวคำสอนแก่หลวงปู่ว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน" เพียงคำพูดเดียวนี้เอง หลวงปู่เกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระอาจารย์มั่น และถวายตนเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในเวลาต่อมา หลวงปู่เปลี่ยนญัตติเป็นธรรมยุตินิกาย ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่อยู่เผยแพร่ศาสนาในแถบภาคเหนือหลายปี ก่อนจะเข้าจำพรรษาในช่วงบั้นปลายชีวิตที่วัดดอยแม่ปั๋ง และในช่วงนี้ นับเป็นช่วงที่ชื่อเสียง คุณงามความดีของหลวงปู่ได้เป็นที่รับรู้ของเหล่าสาธุชนทั่วประเทศ ถนนทุกสายวิ่งตรงสู่ดอยแม่ปั๋ง โดยมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ การได้กราบนมัสการอริยสงฆ์แห่งวงการพุทธศาสนา หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พระอเสขบุคคลผู้บรรลุพระนิพพานธรรม หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกลูของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามสิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ''ญาณ'' ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้

พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษา เป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ''ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ...'' หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลัง นอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู้ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ้งขึ้นว่า ''เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็ดดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวชฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวช ตลอดชีวิตและขอ ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม''

บรรพชา:
จากนั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแล เอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีดคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ''ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม'' ท่านหันมามองหลวงปู่แหวน แล้วอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั่งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ''ญาณ'' เป็นสามเณรแหวนนับแต่นั้นมา

รัศมีเปล่งจากกาย รัศมีโอกาสเปล่งจากกาย :
ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวายเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนังตยาคโน ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็ บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอกาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฎิบัติทั้งหมดให้

ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์

ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า ''สุจิณโณ'' จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ หลวงปู่ขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง

ปีพ.ศ.2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระอาจารย์หนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้

นับแต่นั้นมาอาจารย์หนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาท่านอาจารย์หนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระอาจารย์หนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

ปีพ.ศ.2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งท่านอาจารย์หนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่ดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่อยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว

ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่จะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน

นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน

หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย