|
|
๔๖.ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
|
พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
พระหัตถ์ทั้งสองวางอยู่ที่พระเพลา ( ตัก ) บางแบบประสานพระหัตถ์วางที่พระเพลา
พระบาทซ้ายทรงเหยียบหลังพระบาทขวา เป็นกิริยากดพระบาท
ความเป็นมาของปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
|
ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาทนั้น
เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติ ๓ เหตุการณ์ ดังนี้ คือ ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเขาสัจพันธ์
ทรงหยุดบุษบกอยู่บนอากาศ เพื่อทรมานสัจพันธ์ฤาษีให้ละมิจฉาทิฐิ
จนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วขึ้นบุษบกตามเสด็จไปยังสถานที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้
เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จ พญานาคราชทูลขอให้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ริมฝั่งนัมทามหานที
ครั้งที่ ๒ เมื่อเสด็จกลับถึงเขาสัจพันธ์ ได้ตรัสสั่งพระสัจพันธ์ให้พักอยู่ที่เขาแห่งนี้
เพื่อปลดเปลื้องผู้ที่พระสัจพันธ์เคยสอนลัทธิผิด ๆ ไว้ ให้พ้นจากมิจฉาทิฐิ
พระพุทธองค์ได้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หลังหิน ตามที่พระสัจพันธ์ทูลขอไว้
และครั้งที่ ๓ ในพระนครโกสัมพี มีพราหมณ์ชื่อว่า มาคันทิยะ
มีธิดาสาวสวยชื่อ มาคันทิยา มาคันทิยะได้เห็นพระพุทธองค์ซึ่งงามพร้อมด้วยมหาบุรุษลักษณะทุกประการ
จึงนำลูกสาวมาถวาย พระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาให้ปรากฏยังพื้นดิน
แล้วเสด็จจากไปประทับอยู่ในบริเวณนั้น พราหมณีภรรยามาคันทิยพราหมณ์เห็นรอยพระพุทธบาทแล้วทราบทันทีว่า
รอยเท้าเช่นนี้เป็นรอยเท้าของคนสละกามได้แล้ว ต่อมาทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์ทั้งสองจนได้เป็นพระอนาคามี |
|
|
พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
ทรงห่มผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) เฉลียงพระอังสา ( บ่า
) พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นลูบที่พระอุระ
( อก ) เป็นกิริยาสรงน้ำฝน
สมัยหนึ่งนครสาวัตถีเกิดความแห้งแล้ง
ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
มหาชนทั้งหลายต่างพร้อมใจกันมากราบทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกสรงน้ำฝน
ณ กลางแจ้งด้วยเชื่อในพุทธปาฏิหาริย์และพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะอนุเคราะห์มหาชน จึงทรงผ้าวัสสิกสาฎก
( ผ้าอาบน้ำฝน ) แล้วเสด็จออไปยืน ณ กลางแจ้ง แล้วทรงทอดพระเนตรแลดูทิศทั้งหลาย
ด้วยพุทธานุภาพ ทันใดนั้นมหาเมฆก็บังเกิดขึ้นเป็นอัศจรรย์
เกิดเสียงฟ้าร้องคำรามสายฟ้าแลบแปลบปลาบ พลันฝนก็ตกลงมาอย่างมากมาย
ยังผลให้พระพุทธองค์สรงน้ำฝนกลางแจ้งได้สมพระประสงค์ มหาชนทั้งหลายได้อาบและดื่มกินอย่างสุขสำราญทั่วกัน
|
|
|
๔๘.ปางคันธารราฐหรือปางขอฝน
( นั่ง )
|
|
พระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน
( นั่ง ) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ ผ้าวัสสิกสาฎก
( ผ้าอาบน้ำฝน ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยากวัก แบพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระชานุ
( เข่า ) บางแบบวางอยู่บนพระเพลา ( ตัก )
ความเป็นมาของปางคันธารราฐหรือปางขอฝน
( นั่ง )
|
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ประมาณ ๕๐๐ ปี กษัตริย์เมืองคันธาระ พระนามว่า พระเจ้ามิลินท์
ได้โต้ตอบปัญหาธรรมะกับพระนาคเสนพุทธสาวกผู้เป็นพระอรหันต์
ทรงเลื่อมใสที่พระนาคเสนตอบข้อสงสัยในพระพุทธศาสนาของพระองค์ได้ทุกแง่ทุกมุม
พระเจ้ามิลินท์จึงทรงได้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่นับถือสูงสุดในชีวิต
และรับสั่งให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นบูชาในเมืองคันธาระ |
|
|
๔๙.ปางคันธารราฐหรือปางขอฝน
( ยืน )
|
พระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน ( ยืน ) วัดชนะสงคราม
ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน
ทรงผ้าวัสสิกสาฎก ( ผ้าอาบน้ำฝน ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยากวัก
แสดงอาการขอฝน พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝน
ความเป็นมาของปางคันธารราฐหรือปางขอฝน
( ยืน )
|
สมัยหนึ่งนครสาวัตถี
แคว้นโกศล เกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลได้รับความเสียหาย
ประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค สระโบกขรณี ( สระบัว ) ภายในพระเชตวันมหาวิหารก็แห้งขอดติดก้นสระ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระประสงค์จะอนุเคราะห์แก่มหาชน พระพุทธองค์ทรงผ้าวัสสิกสาฎก
( ผ้าอาบน้ำฝน ) แล้วเสด็จไปประทับ ณ บันไดสระ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นกวักเรียกฝน
พระหัตถ์ซ้ายรองรับน้ำฝน ทันใดนั้นบังเกิดมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นพร้อมกัน
ในทุกทิศานุทิศ ด้วยพุทธานุภาพและพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ฝนได้ตกลงมาเป็นอัศจรรย์ |
|
|
พระพุทธรูปปางชี้อสุภะ
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถสบถยืน
พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงแนบพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ
( อก ) ชี้นิ้วพระหัตถ์ตรงไปข้างหน้า
ในกรุงราชคฤห์
มีหญิงนครโสเภณีชั้นสูงชื่อนางสิริมา นางมีความงามมาก ใครปรารถนาจะได้ร่วมอภิรมย์กับนางจะต้องจ่ายทรัพย์ถึง
๑,๐๐๐ กหาปณะ ต่อ ๑ คืน นางถึงแก่กรรมด้วยโรคปัจจุบัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้ระงับการเผาศพนางสิริมาไว้สามวัน
แล้วจึงเสด็จไปทอดพระเนตรศพนางสิริมา พร้อมด้วยพุทธบริษัทเป็นจำนวนมาก
ทรงมีพระดำรัสให้พระเจ้าพิมพิสาร ขายทอดตลาดศพนางสิริมา
ในราคา ๑,๐๐๐ กหาปณะ และลดราคาลงมาตามลำดับ ก็ไม่มีใครซื้อ
จนยกให้เปล่า ๆ ก็ไม่มีผู้ใดยอมรับ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาชี้ให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร
ยังผลให้มหาชนบรรลุอริยมรรค อริยผลเป็นจำนวนมาก รวมทั้งภิกษุหนุ่มผุ้หนึ่งซึ่งเคยลุ่มหลงในความงามของนางสิริมาก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล
เป็นพระโสดาบัน |
ข้อมูล/ภาพ
: หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ
ใจภักดี |
|