|
|
พระพุทธรูปปางทรงพยากรณ์
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา
ลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย(หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย
พระหัตถ์ขวายกขึ้นวางที่พระอุทร(ท้อง)
ความเป็นมาของปางทรงพยากรณ์
|
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น
พระอานนท์เศร้าโศกเสียใจมาก จึงแอบไปยืนร้องไห้อยู่เพียงลำพัง
พระพุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง จะหาความเที่ยงแท้จากสังขารได้แต่ที่ไหน
ทุกสิ่งที่มีเกิดในเบื้องต้น ต้องแปรปรวนในท่ามกลาง และดับสลายลงในที่สุด
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจนั้นเป็นของธรรมดา ให้ละความเศร้าโศรก
และตั้งใจปฏิบัติธรรม จากนั้นทรงสรรเสริญความดีของพระอานนท์
และทรงตรัสพยากรณ์ว่า พระอานนท์จักบรรลุธรรมเป็นอรหันต์
ก่อนที่คณะสงฆ์จะทำปฐมสังคายนา |
|
|
พระพุทธรูปปางโปรดสุภัททปริพาชก
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา
ลืมพระเนตร พระเศรียรหนุนพระเขนย(หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปกับพระวรกาย
พระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ เป็นกิริยาแสดงธรรมโปรดสุภัททปริพาชก
ความเป็นมาของปางโปรดสุภัททปริพาชก
|
ขณะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรทมอยู่ระหว่างต้นสาละคู่หนึ่ง
ในเมืองกุสินารา มีปริพาชกนามว่า สุภัททะ ทราบข่าวว่าพระองค์จะปรินิพพาน
จึงปรารถนาเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้า
และทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ และทรงย้ำว่าตราบใดที่สาวกของพระองค์ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์
๘ อย่างถูกต้อง โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ สุภัททปริพาชกเลื่อมใส
ทูลขออุปสมบทและบรรลุอรหันตผลในราตรีนั้น นับเป็นพุทธสาวกองค์สุดท้ายที่ได้เป็นอรหันต์ทันพระชนชีพของพระพุทธองค์ |
|
|
พระพุทธรูปปางปรินิพพาน วัดพระปฐมเจดีย์
ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา
หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย(หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย
พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา
ความเป็นมาของปางปรินิพพาน
|
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
(เดิอน ๖) ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี การถวายพระเพลิงได้จัดขึ้น
ณ มกุฎพันธเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันแรม ๘ ค่ำ
เดือน ๖ (วันอฏฐมี) หลังจากถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ๓ เดือน
คณะสงฆ์ได้สังคายนาพระไตรปิฎก การทำปฐมสังคายนาใช้เวลา ๗
เดือน |
ข้อมูล/ภาพ
: หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ
ใจภักดี |
|