|
|
พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืนบนเศียรพกาพรหมซึ่งประทับบนหลังโคอุสุภราช
พระหัตถ์ทั้งสองวางทาบบนพระเพลา ( ตัก ) บางแบบพระหัตถ์ประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา
พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ
ความเป็นมาของปางโปรดพกาพรหม
|
ท้าวพกาพรหมมีความเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน
ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง
เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธองค์โปรดให้ท้าวพกาพรหมแสดงฤทธิ์โดยให้ไปซ่อนตัว
แต่ไปซ่อนที่ใด พระพุทธองค์ก็ทรงทราบ ต่อมาพระพุทธองค์ทรงทำปาฏิหาริย์อันตรธารหายไป
และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ได้ยินแต่พระสุรเสียง และทรงตรัสว่ากำลังเดินจงกรมอยู่บนเศียรของท้าพกาพรหม
ท้าวพกาพรหมหมดทิฐิมานะ จึงตั้งใจฟังธรรมเทศนาจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน |
|
|
พระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม
วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ
(นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางคว่ำอยู่บนพระชานุ(เข่า)
ทั้งสองข้าง
ความเป็นมาของปางพิจารณาชราธรรม
|
วันหนึ่งในพรรษาที่
๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปราศรัยเรื่องชราธรรมกับพระอานนท์ว่า
"ดูก่อนอานนท์ บัดนี้เราชราภาพล่วงกาลผ่านวัยจนพระชนมายุล่วงเข้า
๘๐ ปีแล้ว กายของตถาคตทรุดโทรมเสมือนเกวียนชำรุดที่ต้องซ่อม
ต้องมัดกระหนาบให้อยู่ด้วยไม้ไผ่ อันมิใช่สัมภาระแห่งเกวียนนั้น
ดูก่อนอานนท์ เมื่อใดตถาคตเข้าอนิมิตเจโตสมาธิ ตั้งจิตสงบมั่น
คือ ไม่ไห้มีนิมิตใดๆ เพราะไม่ทำนิมิตทั้งหลายไว้ในใจ ดับเวทนาบางเหล่าเสียและหยุดยั้งอยู่ด้วยอนิมิตสมาธิ
เมื่อนั้นกายแห่งตถาคตย่อมผ่องใส มีความผาสุก สบายตลอดกาย
ดูก่อนอานนท์ เพราะธรรมคือ นิมิตสมาธิธรรมนั้นมีความผาสุก
ฉะนั้นท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกราะ มีธรรมเป็นที่พึ่งทุกอิริยาบถเถิด" |
|
|
พระพุทธรูปปางปลงอายุสังขาร
วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ
(นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุ(เข่า) บางแบบวางหงายบนพระเพลา(ตัก)
พระหัตถ์ขวายกขึ้นทาบที่พระอุระ(อก) เป็นอาการลูบพระวรกาย
ความเป็นมาของปางปลงอายุสังขาร
|
เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ ปาวาลเจดีย์ มารมาทูลอาราธนาให้ปรินิพพาน
เมื่อพระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาร ก็เกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว
กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ พระอานนท์บังเกิดความพิศวงในบุพพนิมิตจึงทูลถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอัศจรรย์นี้
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ได้ปลงอายุสังขารแล้ว ต่อแต่นี้ไปอีก
๓ เดือน จะปรินิพพาน พระอานนท์จึงทูลอาราธนาให้ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัปหนึ่งเพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
พระพุทธองค์ตรัสว่าได้ทรงแสดงโอฬาริกนิมิตถึง ๑๖ ครั้ง แต่พระอานนท์มิได้ทูลอาราธนาให้ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ต่อ
และบัดนี้พญามารได้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานแล้ว
พระพุทธองค์ได้สละแล้ว จะนำสิ่งนั้นกลับมาอีกด้วยเหตุใด |
|
|
พระพุทธรูปปางนาคาวโลก วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยเยื้องมาข้างหน้าวางไว้ที่พระเพลา(ตัก)ด้านซ้าย
พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระองค์ตามปกติ บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยมาข้างหน้า
พระหัตถ์ขวาห้อยลงตามปกติ เอี้ยวพระวรกายผินพระพักตร์เหลียวไปข้างหลัง
บางแบบพระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ(อก)
วันหนึ่งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ
๘๐ พรรษาแล้ว ทรงนำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากรุงเวสาลี พร้อมรับสั่งว่า
การเห็นกรุงเวสาลีครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา คือ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย
การตรัสเช่นนี้ถือเป็นมรณญาณ เป็นลสงบอกให้ทราบว่าพระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพานแล้ว
และทรงทราบด้วยพระญาณว่า แม้มหาชนทั่วไปก็ไม่อาจเห็นเมืองเวสาลีอีก
เพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน กองทัพของพระเจ้าอชาตศัตรูจะเข้ายึดเมืองเวสาลีเพราะกษัตริย์ลิจฉวีไม่ได้ตั้งมั่นในอาปริหานิยธรรมที่พระพุทธองค์ประทานสำหรับใช้ปกครองร่วมกัน
ซึ่งเคยต้านทัพของพระเจ้าอชาตศัตรูไว้ได้ถึง ๒ ครั้ง การทอดพระเนตรครั้งนี้
เรียกว่า "นาคาวโลก" คือการเหลียวมองอย่างพญาช้าง
สถานที่นี้มีผู้สร้างเจดีย์เอาไว้เรียกว่า "นาคาวโลกเจดีย์" |
|
|
พระพุทธรูปปางทรงรับอุทกัง
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ
(นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา(ตัก) พระหัตถ์ขวาทรงบาตรวางบนพระชานุ(เข่า)
เป็นกิริยายื่นบาตรออกรับอุทกัง คือ รับน้ำ
ความเป็นมาของปางทรงรับอุทกัง
|
เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับที่สวนมะม่วงของนายจุนทะ
นายจุนทะได้จัดภัตราหารอันประณีตไว้ถวายพร้อมสุกรมัททวะ
หลังจากที่เสวยภัตตาหารของนายจุนทะแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงพระประชวรโรคโลหิตปักขัณทิกาพาธ
แต่ก็เสด็จไปยังเมืองกุสินารา ระหว่างทางทรงกระหายน้ำเป็นกำลัง
จึงรับสั่งให้พระอานนท์นำน้ำมาถวาย พระอานนท์กราบทูลว่า
มีเกวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่มข้ามแม่น้ำไป ทำให้น้ำขุ่นไม่ควรเสวย
และเชิญเสด็จไปยังแม่น้ำอีกสายที่อยู่ใกล้ๆ แต่ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปนน้ำมา
พระอานนท์ทูลทัดทานถึง ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๓ จึงทำตามพระบัญชา
เมื่อพระอานนท์นำบาตรไปตักน้ำมาถวาย น้ำกลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัวเป็นอัศจรรย์
พระพุทธองค์จึงเสวยน้ำนั้น |
ข้อมูล/ภาพ
: หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ
ใจภักดี |
|