พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๖๑.ปางปาลิไลยก์
   พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายขวาวางคว่ำบนพระชานุ ( เข่า ) พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุนิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

ความเป็นมาของปางปาลิไลยก์
   ครั้งหนึ่งพระภิกษุในวัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ทะเลาะวิวาทกัน ประพฤติตนเป็นผู้ว่านอนสอนยาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระอาพระทัยจึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่ในป่าแถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ โดยมีพญาช้าปาลิเลยยกะและลิงตัวหนึ่งเป็นอุปัฏฐาก ครั้นออกพรรษา พระอานนท์พร้อมด้วยคณะพระภิกษุได้มากราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร หลังจากพระพุทธองค์เสด็จกลับ พญาช้างเสียใจล้มลงขาดใจตาย บรรดาพระภิกษุผู้ว่ายากเมื่อทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังพระเชตวันมหาวิหาร ก็รีบเดินทางมาเข้าเฝ้าเพื่อแสดงความสำนึกผิด


๖๒.ปางแสดงโอฬาริกนิมิต
   พระพุทธรูปปางแสดงโอฬาริกนิมิต วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นป้องเหนือพระอุระ ( อก ) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ ( เข่า )

ความเป็นมาของปางแสดงโอฬาริกนิมิต
   ในวันเพ็ญเดือน ๓ ( วันมาฆบูชา ) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่ปาวาลเจดีย์ ทรงแสดงโอฬาริกนิมิต คือ ตรัสให้พระอานนท์ทราบว่าผู้ใดเจริญอิทธิบาทภาวนา หรือ อิทธิบาท ๔ ได้สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นย่อมสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถึงกัปหนึ่งหรือเกินกว่าได้ตามประสงค์ แม้พระพุทธองค์ได้ตรัสแสดงนิมิตถึง ๓ หน แต่พระอานนท์ก็มิได้ทูลอาราธนาให้ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัปเพราะถูกมารดลใจ พระพุทธองค์ทรงเคยแสดงนิมิตทำนองนี้ในสถานที่ต่าง ๆ ถึง ๑๖ ครั้ง ( อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา )


๖๓.ปางโปรดอสุรินทราหู
 
    พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายแนบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย ( หมอน ) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ ( รักแร้ )

ความเป็นมาของปางโปรดอสุรินทราหู
    อสุรินทราหู อุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลาย จึงมีความประสงค์จะฟังธรรมจากพระพุทธองค์ แต่คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์มีพระวรกายเล็ก ตนมีร่างกายใหญ่หากไปเฝ้าก็จะต้องก้มลงมองด้วยความลำบาก วันหนึ่งตัดสินใจไปเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่กว่าขุนเขาและเสด็จสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย แม้พระบาททั้งสองข้างที่วางซ้อนกันอยู่ก็ยังสูงใหญ่กว่าอสุรินทราหู อสุรินทราหูต้องแหงนคอตั้งบ่าเพื่อชมพุทธลักษณะ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์พาอสุรินทราหูขึ้นไปยังพรหมโลก บรรดาพรหมทั้งหลายมีร่างกายเล็กกว่าพระพุทธองค์และต่างมองอสุรินทราหูเหมือนประหนึ่งมนุษย์จ้องมองมดปลวกตัวเล็กๆ อสุรินทราหูบังเกิดความกลัวต้องหลบอยู่หลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง


๖๔.ปางโปรดอาฬวกยักษ์ี
    พระพุทธรูปปางโปรดอาฬวกยักษ์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายอยู่บนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) จีบนิ้วพระหัตถ์ เป็นกิริยาทรงแสดงธรรม บางแบบพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุ ( เข่า )

ความเป็นมาของปางโปรดอาฬวกยักษ์ี
    ครั้งหนึ่งเจ้าผู้ครองนครอาฬวี ชอบล่าสัตว์เป็นกิจวัตร วันหนึ่งพลัดหลงเข้าไปพักใต้ต้นไทรซึ่งเป็นเขตหวงห้ามของอาฬวกยักษ์ ถูกยักษ์จับไว้เพื่อกินเป็นอาหาร จึงขอให้ปล่อยตัวกลับและสัญญาจะส่งคนมาให้กินวันละหนึ่งคน เมื่อนักโทษหมดก็ส่งเด็กให้วันละคน ต่อมาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณ จึงได้เสด็จไปยังที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ แล้วแสดงธรรมโปรดจนอาฬวกยักษ์ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน


๖๕.ปางโปรดองคุลิมาลโจร
   พระพุทธรูปปางโปรดองคุลิมาลโจร วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) นิ้วพระหัตถ์ตั้งตรง หันฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้าย

ความเป็นมาของปางโปรดองคุลิมาลโจร
  อหิงสกกุมารบุตรพราหมณ์ปุโรหิตแห่งสาวัตถี ได้ศึกษาสรรพวิชาอยู่ ณ สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา ผู้เป็นอาจารย์ถูกยุยงว่า อหิงสกะหมายล้มล้างตน จึงหาทางกำจัดโดยยืมมือผู้อื่นฆ่า และบอกว่าจะสอน "วิษณุมนต์" ให้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องหานิ้วมือมนุษย์จำนวนหนึ่งพันนิ้วจากหนึ่งพันคนมาบูชาครู พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระอนาคตังสญาณว่า อหิงสกะ หรือ องคุลีมาลโจรหรือจอมโจรผู้มีนิ้วมือเป็นมาลัย กำลังจะทำกรรมหนัก เพราะกำลังจะฆ่ามารดาจึงเสด็จไปขวางทาง องคุลีมาลโจรตะโกนว่า "หยุดก่อนสมณะ" พระพุทธองค์ทรงรับสั่งว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านนั่นแหละยังไม่หยุด" พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนองคุลีมาลทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์จึงทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้องคุลีมาลได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหัต์ในกาลต่อมาี

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
ปางที่ ๕๕-๖๐ปางที่ ๖๖-๗๐
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย