พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๕๖.ปางประทานพร ( ยืน)
   พระพุทธรูปปางประทานพร ( ยืน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ ( อก ) แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า พระหัตถ์ซ้ายห้อยลง แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า บางแบบยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้น ห้อยพระหัตถ์ขวา

ความเป็นมาของปางประทานพร ( ยืน)
   มหาอุบาสิกาวิสาขา บุตรีของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบญจกัลยาณี ได้แก่ มีผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม นางมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และเป็นพระโสดาบันบุคคลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ในช่วงฤดูฝนในพรรษาหนึ่ง นางวิสาขาไให้นางทาสีของนางมานิมนต์พระภิกษุ พอดีฝนตก พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร นางทาสีเข้าใจว่าเป็นนักบวชลัทธิชีเปลือย จึงกลับไปบอกนางวิสาขา หลังจากถวายภัตตาหารและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว นางวิสาขาจึงกราบทูลขอประทานพรจากพระพุทธองค์เพื่อถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี ได้แก่ ( ๑ ) ผ้าอาบน้ำฝน ( ๒ ) อาหารสำหรับภิกษุอาคันตุกะ ( ๓ ) อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะไป ( ๔ ) อาหารสำหรับภิกษุป่วยไข้ ( ๕ ) อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุ ( ๖ ) ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้ ( ๗ ) ขอให้ได้ถวายข้าวยาคู ( ๘ ) ผ้าอาบน้ำสำหรับภิกษุณี พระพุทธองค์ทรงประทานพรทั้ง ๘ ข้อแก่นางวิสาขา


๕๗.ปางประทานธรรม
   พระพุทธรูปปางประทานธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายจับด้ามพัด พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ ( เข่า )

ความเป็นมาของปางประทานธรรม
   ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ว่าพระพุทธองคทรงประกอบด้วยทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ จึงได้ปฏิญาณฐานะของผู้องอาจและทรงประทานธรรมเรื่องเบญจขันธ์ ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) และปฏิจจสมุปบาท ( การที่ทุกข์เกิดเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา ) แก่เทวดาและมนุษย์


๕๘.ปางประทานอภัย ( นั่ง )
 
    พระพุทธรูปปางประทานอภัย ( นั่ง ) วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองเบนไปข้างหน้าเล็กน้อย บางแบบเป็นพระอิริยาบถยืน

ความเป็นมาของปางประทานอภัย ( นั่ง )
    พระเจ้าอชาตศรัตรู พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วขึ้นครองราชแทน พระเจ้าอชาตศัตรูยังทรงช่วยสนับสนุนพระเทวทัตส่งนายขมังธนูไปปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังสำนึกตัว จึงเสด็จมาสารภาพความผิดของตนและขอพระราชทานอภัยโทษกับพระพุทธองค์ ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด หันมาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรงให้ความอุปถัมภ์ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๑


๕๙.ปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี
    พระพุทธรูปปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวาคว่ำลงยื่นไปข้างหน้าเสมอพระนาภี ( สะดือ ) เป็นกิริยา ทรงลูบกระพองศรีษะพญาช้างนาฬาคิรีที่เข้ามาหมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาท

ความเป็นมาของปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี
    พระเทวทัตคิดประทุษร้ายต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ ครั้งแล้ว แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในครั้งที่ ๓ พระเทวทัตได้ติดสินบนแก่ควาญช้างเพื่อมอมเหล้าพญาช้างนาฬาคิรีจนเกิดความคลุ้มคลั่ง แล้วปล่อยให้ไปทำร้ายพระพุทธองค์ ขณะเสด็จพุทธดำเนินบิณฑบาตโปรดสัตว์ ขณะที่พญาช้างส่งเสียกึกก้องโกญจนาท วิ่งตรงเข้าหาพระพุทธองค์นั้น พระอานนท์วิ่งออกมาขวางหมายน้อมถวายชีวิต พระพุทธองค์จึงทรงใช้พุทธปาฏิหาริย์บันดาลให้พญาช้างวิ่งไปทางอื่น แล้วทรงแผ่เมตตาจนช้างได้สติ ทรุดกายลงยกงวงขึ้นถวายอภิวาท พระพุทธองค์ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองศรีษะและทรงประทานโอวาทแก่พญาช้างให้หยุดกระทำปาณาติบาต ละเลิกความโกรธ ไม่คิดเบียดเบียนอีกต่อไป


๖๐.ปางโปรดพญาชมพูบดีหรือปางทรงเครื่อง
   พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดีหรือปางทรงเครื่อง วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ ( เข่า ) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์

ความเป็นมาของปางโปรดพญาชมพูบดีหรือปางทรงเครื่อง
  พญาชมพูบดีผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความริษยาพระเจ้าพิมพิสาร เพราะทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงมารุกรานข่มเหง จนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราชที่งดงามดุจท้าวมหาพรหม และรับสั่งให้ท้าวสักกเทวราชแปลงเป็นราชทูตไปทูลเชิญพญาชมพูบดีมา พญาชมพูบดีตกตะลึงในความงดงามและความยิ่งใหญ่แห่งพระนครของพระราชาธิราช พระพุทธองค์ทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ก็พ่ายต่อพระพุทธองค์ จึงทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิมและทรงแสดงธรรมโปรด จนพญาชมพูบดีเบื่อหน่ายในราชสมบัติอันไม่ยั่งยืน ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดี

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
ปางที่ ๕๑-๕๕ปางที่ ๖๑-๖๕
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย