หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๓๒ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๑๔ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

      "ปัจจุบัน สิ่งที่ดี สิ่งที่ประสงค์ในใจของมนุษย์นั้น มุ่งไปที่ผลได้ทางวัตถุเป็นสำคัญความ
 สะดวกสบายทางวัตถุ ความมีทรัพย์สมบัติ ก็กลายเป็นเครื่องวัดที่สำคัญไปความสุขความทุกข์
 ของมนุษย์ ก็มาวัดที่วัตถุ คนเราก็นิยมวัตถุมากทีนี้ในเมื่อนิยมวัตถุมาก ความนิยมในทางจิตใจ
 ก็น้อยลง ความหมายก็ไม่มีแม้แต่เกียรติที่ให้กันในทางสังคม มันก็มุ่งไปทางวัตถุมากขึ้น
 
   ในเมื่อสังคมนิยมเกียรติที่วัดกันด้วยวัตถุอย่างนี้แล้ว มันก็เป็นการคลาดเคลื่อนต่อความหมาย
 คือคนเรานี้ไม่ซื่อตรงต่อหลัก หรือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เมื่อนิยมอย่างใด ก็เป็นธรรมดาอยู่
 เองที่เราจะต้องการให้ได้ผลอย่างนั้นขึ้นมา แต่ผลที่ไม่ตรงต่อเหตุ มันก็เป็นอย่างที่เราต้องการ
 ไม่ได้ในเมื่อไม่ได้ เราก็หาว่าหลักนั้นไม่ถูกต้อง แล้วเราก็ว่าไม่เชื่อบ้าง อะไรบ้างก็ตามแต่อันนี้ก็
 ชื่อว่า เป็นผลของกกรรมที่คนทำกกรรมในสังคมนั่นเอง คือกรรมของกาารที่เรามีค่านิยมทาง
 วัตถุมาก มาเอาความดี ความเจริญ ความก้าวหน้า ความสุข กันอยู่แต่ที่วัตถุ เลยหลงลืมคุณค่า
 ทางจิตใจ ในเมื่อหลักธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจอยู่มาก เราไม่ให้ความสำคัญในทางจิตใจ
 หรือทางคุณธรรมเสียแล้ว หลักธรรมมันก็หมดความหมายลงไปสำหรับเราเป็นธรรมดาถ้าหาก
 ว่า เราต้องการให้คนมาประพฤติตามหลักกรรม เราก็ต้องช่วยกันเชิดชูคุณค่าทางจิตใจหรือคุณ
 ค่าทางฝ่ายคุณธรรมให้มากขึ้นเราจะต้องรู้จักขอบเขตคุณค่าทางวัตถุ เราจะต้องวัดกันด้วยวัตถุ
 ให้น้อยลง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันถ้าหากว่าสังคมเรานิยมยกย่องวัตถุกันมาก
 
    มันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องวัดดี ( วัดความดีและผลดี ) กันด้วยวัตถุการที่สังคมไปนิยม
 ยกย่องวัตถุมาก ไม่ใช่กรรมของคนที่อยู่ในสังคมนั้นหรือกรรมในที่นี้ หมายถึง การกระทำ ซึ่ง
 รวมถึงพูดและคิดความคิดที่นิยมวัตถุนั้นเป็นกรรมใช่หรือไม่ ?ในเมื่อแต่ละคนทำกรรมอันนี้ คือ
 หมายความว่า มีความโลภในวัตถุมาก อันนี้เป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมเมื่อเป็นอกุศล ก็กลาย
 เป็นว่า คนในสังคมนั้นทำอกุศลกันมากเมื่อทำอกุศลกันมาก วิบากที่เกิดแก่คนในสังคม ก็คือผล
 ร้ายต่างๆฉะนั้น มนุษย์จะต้องมองให้เข้าใจความสัมพันธ์อันนี้ จะต้องเข้าใจว่า สังคมที่เดือด
 ร้อนวุ่นวายกันอยู่ มีความไม่ปลอดภัย มีภัยอันตรายเกิดขึ้นในที่ต่างๆมากมาย ไปไหนก็ไม่
 สะดวกสบายนั้น มันเกิดจากกรรมของเราแต่ละคนด้วยเราจะต้องมองให้เห็นความสัมพันธ์ถึง
 ขนาดนี้จึงจะได้ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว เราจะไม่เข้าใจซึ้งถึงเรื่องกรรมหรอก มันสัมพันธ์อย่างไร
 
    เอ ! ก็ที่มันเกิดภัยอันตราย โจรผู้ร้ายมากมาย คนไม่ค่อยประพฤติศีลธรรมเป็นกันมากมาย ไม่
 เห็นเกี่ยวกับเราเลย คนอื่นทำทั้งนั้น นี่แหละ เราซัดความรับผิดชอบล่ะที่จริง เป็นกรรมของแต่
 ละคน ที่ช่วยกันสร้างขึ้น ตั้งแต่ค่านิยมที่อยู่ในใจเป็นต้นไปเพราะเรานิยมเรื่องนี้มากใช่ไหม ผล
 มันจึงเกิดในแง่นี้ อาตมภาพว่าพอจะเชื่อมได้อยู่ลองศึกษาให้ดีเถิดมีค่านิยมอย่างนี้ คนก็แสวง
 แต่เรื่องนี้ ความสุขความอะไรวัดกันด้วยวัตถุอย่างเดียว คนก็ต้องพยายามแสวง แสวงด้าน
 เดียวไม่มียั้งเมื่อแสวงไปแบบนั้น มันก็อาจจะก่อไปในรูปอาชญากรรม ความประพฤติเสื่อมเสีย
 ต่างๆ ความแย่งชิงอะไรต่ออะไรกันมาก ก็คือความนิยมที่เป็นมโนกรรมอยู่ในจิตใจของแต่ละ
 คนนั้นเป็นเหตุให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาในระยะยาว ถ้าสามารถมองจนเห็นว่า เหตุร้ายภัยพิบัติ
 ความเสื่อมเสียต่างๆ ที่เกิดในสังคมนี้ เป็นผลวิบาก เกิดแต่กรรมของเราทั้งหลายนั้นเองแสดง
 ว่าพอจะทำความเข้าใจในเรื่องกรรมกันได้บ้าง แต่ชั้นแรก ต้องให้เห็นความสัมพันธ์กันก่อน
 
    ประการต่อไป ว่าถึงในระยะยาวจะทำอย่างไร ? เรื่องกรรมนี่เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องคุณค่า
 ทางนามธรรมที่มองเห็นได้ยาก จะต้องศึกษา ใช้สติปัญญากันไม่ใช่น้อยการที่จะให้คนประพฤติ
 ปฏิบัติกันจริงจังได้ผลในระยะยาว จะต้องอบรมปลูกฝังกันจนเป็นนิสัยจะต้องให้การศึกษา
 ตามแนวทางที่มีความเข้าใจในหลักกรรมเป็นพื้นฐานคือต้องฝึกฝนอบรมตั้งแต่เด็ก ให้ประพฤติ
 ด้วยสำนึกรับผิดชอบต่อการกระทำของตนจนเคยชิน ถ้าไม่ทำอย่างนี้ได้ผลยากการศึกษาให้
 เข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งนั้นเป็นเรื่องยาก แม้จะเป็นความจริงก็ตาม แต่สิ่งที่จะทำได้ในทาง
 การศึกษาก็คือสิ่งใดตกลงแน่ว่าดีว่างามแล้ว เราจะต้องฝึกอบรมคนให้ใส่ใจรับผิดชอบตั้งแต่
 เล็กแต่น้อยไป
 
    เมื่อเราต้องการให้สังคม เป็นสังคมที่นับถือหลักกรรม ก็ต้องฝึกอบรมกันตั้งแต่เด็กปลูกฝัง
 ผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกของสังคมนั้น ให้มีแนวความคิดและความประพฤติปฏิบัติที่ซื่อตรงต่อกฎ
 ธรรมชาติในเรื่องของกรรม ตั้งต้นแต่ว่า ต้องปลูกฝังค่านิยม ซึ่งมองเห็นคุณค่าทางจิตใจสูง
 ขึ้น ไม่วัดกันด้วยวัตถุให้มากนัก เข้าใจความหมายขอบเขตแห่งคุณค่า และความสำคัญของ
 วัตถุตามความจริงตามควร


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย