ค้นหาในเว็บไซต์ :
องค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ป.ธ. ๕) วัดสุทัศนเทพวราราม

องค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ป.ธ. ๕) วัดสุทัศนเทพวราราม
ทรงดำรงตำแหน่ง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ – ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ในรัชกาลที่ ๘ รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระนามเดิม แพ
พระฉายา ติสฺสเทโว
นามสกุล พงษ์ปาละ
พระชนก นุตร์
พระชนนี อ้น
ประสูติ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ ณ บางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๑ จำพรรษา ณ วัดทองนพคุณ
ทรงอุปสมบท ณ วัดเศวตฉัตร และเสด็จมาประทับ ณ วัดสุทัศน์ฯ
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ สิริรวมพระชนมายุ ๘๙ พรรษา

สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อป ีพ.ศ.๒๔๘๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงค์ตำแหน่งอยู่ ๖ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา

พระองค์มีพระนามเดิมว่าแพ ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๙ เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน ธนบุรี เมื่อพระชนมายุได้ ๗ ปี ได้ไปศึกษาอักษรสมัยที่ วัดทองนพคุณ ในสำนักของสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑ อุปสมบท แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ ฯ ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๓ ครั้ง ได้เปรียญ ๕ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสมโพธิ

พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพโมลี

พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครไชยศรี

พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานหิรัญบัฏ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรอง คณะกลาง

พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ ฝ่ายอรัญญวาสี

พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะทักษิณ เป็นที่สมเด็จพระวันรัต

เมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เพื่อประสานนโยบายฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร ให้เป็นไปด้วยดี พระองค์ก็ได้บริหารงานคณะสงฆ์ให้ลุล่วงไป โดยแต่งตั้งพระมหาเถรานุเถระในสังฆสภา ให้ดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติ แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับดังกล่าวโดยครบถ้วนด้วยดีทุกประการ





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย