วัดบึง


พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2220
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2230


วัดบึง

นครราชสีมา


ประวัติความเป็นมา

พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2220 สังกัดมหานิกาย สร้างในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2230 เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่า เป็นวัดที่เจ้านาย หรือ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีทั้งทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ภายในวัดประกอบด้วย ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น พระอุโบสถ ตู้พระะรรม และภาพจิตรกรรม เป็นต้น น่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดบึง เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2539 โดยเหตุที่วัดแห่งนี้ในอดีตตั้งอยู่กลางบึง จึงเรียงขานกันว่า วัดบึง จนถึงปัจจุบัน

วัดบึง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2220 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นวัดที่สร้างพร้อมๆ กับการสร้างเมืองนครราชสีมา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้โดยพระยายมราช หรือ สังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จ จึงโปรดฯ ให้ประชาชน และคฤหบดีและขุนนาง สร้างวัด 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช(วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดบึง และวัดสระแก้ว

วัดบึง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดที่เจ้านาย หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้นสร้างขึ้น เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดี ทั้งทางด้านศิลปกรรและสถาปัตยกรรม คือ พระอุโบสถ พระพุทธรูปประธาน ใบเสมา และองค์ประกอบอื่นๆ และวัดบึงมีสมญานามว่า วัดบึงขุนนาง

ลักษณะสำคัญของวัดที่บ่งบอกว่าเป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยา คือ พระอุโบสถฐานแอ่นแบบเรือสำเภา กว้าง ๓ ห้อง ยาว ๖ ห้อง หลังคาจั่ว ๒ ชั้น เชิงชาย ๓ ชั้น หน้าบันด้านทิศตะวันออกแกะสลักเป็นลาย กระหนกก้านขด มีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ตรงกลาง ส่วนหน้าบันด้านทิศตะวันตกแกะสลักลาย กระหนก ก้านขดมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑอยู่ตรงกลาง เสาของพระอุโบสถ เป็นเสากลมขนาด ใหญ่ ๑๔ ต้น มีหน้าต่างด้านละ ๕ ช่อง คันทวยไม้สวยงามมาก แกะสลักเป็นรูปพญานาคทั้งหมด ๑๒ อัน แต่ละอันยาว ประมาณ ๒ เมตร   

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อโตอู่ทอง) •


พระอุโบสถ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าว 12.15 เมตร ยาว 22 เมตร สูง 30 เมตร หลังคาลาด 4 ชั้น เครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ฐานมีลวดลายบัวโค้งเป็นฐานสำเภา เรียกตามภาษาช่างว่า โค้งปากตะเภา สองข้างผนังชั้นนอกมีคันทวยข้างละ 6 ตัว รวม 12 ตัว ทำเป็นรูปนาคแกะสลักไม้ประดับด้วยกระจกสี ประตูทางเข้าด้านหน้ามี 3 ประตู ด้านหลังมี 2 ประตู อกเลาประตูแกะสลักลวดลายไทย มีหน้าต่งด้านละ 5 ช่อง รวม 10 ช่อง

ส่วนด้านบนของพระอุโบสถ ด้านทิศตะวันออกหน้าบันไม้แกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อย่ตรงกลางรอบข้างเป็นลายก้านขด ทิศตะวันตกหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทางครุฒวาหนะท่านกลางก้านลายขด มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ประดับด้วยกระจกสี   

พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (หลวงพ่อโตอู่ทอง) ขนาดหน้าตัก กว้าง 6 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิราบพระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น   

ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเขียนบรรยายพระพุทธประวัติ จำนวน 14 ภาพ   

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-แผนกบาลี-แผนกสามัญ   

บันไดทางขึ้นพระอุโบสถทั้งสองด้านทำบันไดนาคขอมขึ้นใหม่ ซึ่งดูแล้วยังขัดกัน เพราะเป็นศิลปกรรมคนละสมัย   

ด้านหน้าพระอุโบสถ   

พระเจดีย์   

ซุ้มประตูวัด   

พระเจดีย์ ด้านหลังพระอุโบสถ   

หอระฆัง   

พระบรมสารีริกธาตุ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกประทานพระบรมสารีริกธาตุแก่พระราชสีมาภรณ์ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อประดิษฐานไว้ที่บุษบก ภายในพระอุโบสถวัดบึง   

 10,447


พระอารามหลวงทั่วไทย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย