วัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร


พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2325
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2325


วัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร

กรุงเทพมหานคร


วัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อวัด “สำเพ็ง” ตามชื่อถนนที่วัดตั้งอยู่ คือถนนสำเพ็ง ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดปทุมคงคา” ปัจจุบันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร ถนนทรงวาดติดต่อกับถนนสำเพ็ง

   

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธมหาชนก พระประธานในพระอุโบสถ •

วัดปทุมคงคา เป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตและอุปจารวัดกว้างขวาง ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเห็นว่า เมืองธนบุรี ซึ่งอยู่ในฝั่งตะวันตกนั้น คับแคบ ป้องกันศัตรูได้ยาก อีกทั้งพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานนั้นก็ขยายไม่ได้ เพราะตั้งอยู่ในเขตวัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ส่วนในฝั่งตะวันออกนั้น (ฝั่งพระนคร) เป็นชัยภูมิดีกว่า โดยเป็นที่แหลม มีลำแม่น้ำเป็นขอบเขตกว่าครึ่ง ถ้าตั้งพระนครข้างฝั่งตะวันออก แม้นข้าศึกยกมาติดชานพระนคร ก็พอจะสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าฝั่งตะวันตก เสียแต่ว่าเป็นที่ลุ่มอยู่บ้าง จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตนพันธ์) กับพระวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่าง และไพร่ไปกะที่สร้างพระนครใหม่ ณ ฝั่งตะวันออก และที่ซึ่งสร้างพระราชวังใหม่และเสาหลักเมืองนั้น เป็นที่ของพระยาราชาเศรษฐีกับพวกคนจีนได้อาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนแล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกคนจีน ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองวัดสำเพ็ง (วัดปทุมคงคา) ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกคนจีน ย้ายมาตั้งเคหสถานกันใหม่นั้น ก็เห็นว่า วัดสำเพ็ง (วัดปทุมคงคา) นี้ มีอยู่แล้ว เป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาและเป็นวัดที่ชำรุดทรุดโทรมมาก สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสุรมหาสิงหนาท จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ทั้งวัด ดังปรากฏเรื่องอยู่ในพระราชพงศาวดารว่า “ทรงปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมของเก่า คือวัดสำเพ็ง เสร็จแล้วทรงอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกาธิราชเจ้า ภายหลังที่กรมพระราชวังบวรสุรมหาสิงหนาททรงปฏิสังขรณ์และสร้างเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดปทุมคงคา”   

ต่อมาตลอดสมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้ทำการซ่อมแซมหรือปฏิสังขรณ์ใด ๆ อีกเลย เพราะเพิ่งสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดปทุมคงคาเริ่มชำรุดทรุดโทรมอีกครั้งหนึ่ง พระยาสวัสดิวารีได้กราบทูลขอทำการบูรณปฏิสังขรณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็โปรดเกล้าฯ ยอมอนุญาตให้พระยาสวัสดิวารีทำการบูรณปฏิสังขรณ์ได้ แต่เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์ยังไม่ทันเสร็จ พระยาสวัสดิวารีก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน หาได้โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ใดรับบูรณปฏิสังขรณ์ต่อไปอีกไม่ คงปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมอยู่ตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓
   

สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิศาลศุภผล ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อ ขณะที่ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าวัดนี้เป็นวัดของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรมหาสิงหนาท สร้างอุทิศถวายสมเด็จพระบรมไปยิกาธิราชเจ้า จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรมทำการเพิ่มเติมอีก และให้ช่างยกพระพุทธรูปในพระอุโบสถให้สูงขึ้น แล้วทำเป็นพระทรงเครื่องต้นอย่างกษัตริย์ แล้วต่อชุกชีออกมา ทำเป็นรูปเทวราชถือพุ่มฉัตรดอกไม้ทอง ดอกไม้เงินด้วย ๒ องค์
   
{ พระพุทธมหาชนก พระประธานในพระอุโบสถ }
พระพุทธมหาชนก พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่สวยงามมาก (ทรงเครื่องที่ว่าคือ ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ พระพุทธรูปที่เราเห็นทั่วๆ ไป จะห่มจีวร แต่พระพุทธรูปทรงเครื่องต้น)   
{ พระอุโบสถ พระวิหาร }   
{ วิหารคต }   
{ พระพุทธรูปในวิหารคต }   
{ หอไตรปริยัติธรรม }   
{ หอระฆัง }   
{ พระเจดีย์ }   

- เจ้าอาวาส -
• พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) •


 10,450


พระอารามหลวงทั่วไทย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย