ความกลัวคือความขัดแย้งของจิต
ความขัดแย้งคือเส้นทางที่ถูกแบ่ง
มันเป็นเพียงทางที่ต้องเลือก ไม่ใช่ทางตัน
ไม่ผิดที่กลัว แต่จะผิดเมื่อไม่กล้าที่ทำ
สรุปความ...ผมรู้จักคุณทันที...
..1..รักดี
..2..กลัว
..3..สับสน
...หากคุณรักและชอบงานศิลปะ..โดยเฉพาะงานวาดภาพ...
...ตอนนี้ผมดูภาพของคุณบนกระดาษมีสีครบทุกอย่าง..
...แต่อยู่ในสภาพ..เปรอะ..เปื้อน..หลากสี..
...ฉะนั้น..ขอให้คุณเอากระดาษวาดภาพสีขาวมาตั้ง..พิจารณาแต่..สีขาว..
...ไม่ต้องลงสีใดๆลงไป..คุณเพ่งสายตาโดยปรกติ..ลงบนกระดาษ..สีขาว..
...อยู่คนเดียว..ในห้อง..หรือ..สถานที่สงัด..หยุด..หรือ..โยนทิ้งความนึกคิดเรื่องอนาคตไป..
..เหลือแต่..ปัจจุบัน..เท่านั้น
...หากคุณทำได้..5-7วัน..คุณจะพบตัวตนที่แท้จริง
น้องครับ พี่ขอถามน้องอย่าน้อย 1 คำถามให้คิด
คำถาม ...---ถ้าน้องสอบติดแพทย์ ,วิศวะ, อักษร, จุฬา กับ สอบตติดสาขาที่น้องอยากเรียน แต่เป็นมหาลัยที่น้องคิดว่าไม่มีคุณภาพ น้องเลือกอะไรครับ?
พี่อยากให้น้องตั้งสติ และเป็นกำลังใจให้ครับ เพราะอ่านบทควมของน้องแล้ว นึกย้อนถึงเรื่องตัวเองตอนอดีตเลยครับ
แต่ถือว่าพี่มีประสบการณ์มาก่อน ก็อยากจะแนะนำดังนี้ครับ
--- น้องต้องเปลี่ยนทัศนะคติ เรื่องภาพลักษณ์ของมหาลัยโดยด่วนครับ หรือเลิกคิดไปก่อนได้เลยครับ (โดยเฉพาะการทำงานเกี่ยวกับทางด้าน Art 95 เปอร์เซนต์ไม่ดูเกรดและใบปริญญาหรือว่าจบมาจากสถาบันไหนครับ หนึ่งในทีมวาด story board ให้กับ ก้านกล้วยก็จบ อาชีวเอกบัญชีมาครับ)
--- น้องมีความมุ่งมั่นมากครับ รู้จุดด้อยของตัวเองเป็นสิ่งที่ดี (วาดรูปไม่เก่งใช่มะ) แต่ค่อย ๆ เรียนรู้ค่อย ๆ ฝึกฝนก็ได้นี่ครับ ในขั้นการเป็นนักศึกษา น้องยังมีโอกาสฝึกฝนได้ตั้ง สี่ปีนี่ครับ นี่น้องเล่าเหมือนกับว่าน้องจะเข้าไปสมัครงานวันนี้พรุ่งนี้เลย ใจเย็น ๆ ครับ
---การเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งครับพี่ไม่เถียงว่าคนเราอย่างน้อยต้องจบปริญญา แต่มหาลัยไม่ใช่ เป้าหมายของชีวิตนะครับ มันไม่ใช่สถานที่ที่จะให้น้องได้ทุกอย่าง โดยเฉพาะความรู้ความสามารถ พี่ยกตัวอย่างว่าบันฑิตที่จบจากเอกถ่ายภาพจากมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด น้องคิดว่ามันถ่ายรูปสวยทุกคนมั้ยครับ หรือว่าคนที่จบโปรแกรมเมอร์จากมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดเช่นกัน มันเขียนโปรแกรมได้ทุกคนมั้ย สิ่งเหล่านี้น้องต้องฝึกฝนครับและหาความรู้อยู่เสมอ ปิดเทอมต้องหาที่ฝึกงาน (แม้ว่ามหาวิทยาลัยไม่สั่งให้ฝึก) ทำงานส่งประกวดไม่ขาด (แม้ว่ามหาวิทยาลัยไม่บังคับ) จะทำให้น้องมี Portfolio ไว้ใช้สมัครงานในอนาคตด้วย
---ทัศนะคติที่เกี่ยวกับการทำงานในสายอาชีพ CG หรือ VFX ที่น้องเข้าใจว่า เขารับแต่คนเก่งขยันและมีผลงานดี ๆ เชินหน้าชูตาได้ นั่นไม่ถูกไปทั้งหมดครับ ถ้าพี่บอกความจริงว่า ถ้าน้องผลงานดีระดับเทพ แต่มีเปอร์เซนต์ที่จะได้ทำงานน้อยกว่าคนไม่เป็นไรเลยน้องจะโกรธพี่มั้ยครับ แต่เรื่องจริงมันเป็นอย่างนั้นครับ พี่แนะให้ก็ได้ครับ
การรับคนเข้าทำงานในสายอาชีพที่น้องฝันนะครับ เค้าแบ่งเป็น ระดับของความชำนาญครับ เช่น ระดับ Basic หรือ Beginner ส่วนใหญ่จะรับเด็กจบใหม่ไฟแรง และยังไม่มีประสบการณ์ แต่ใจรัก เงินเดือนอาจน้อยหน่อยแต่เป็นการเริ่มที่ดีเหมือนจ้างให้เรามาเรียนรู้งาน
พอน้องทำงานมีประสบการณ์สัก สอง สาม ปี ก็เข้าสู่ Intermediate หรือระดับกลาง ตอนนี้น้องก็เริ่มต่อรองเงินเดือนได้แล้วครับ เพราะเราพอมีประสบการณ์บ้างแล้ว
จากนั้นก็เข้าสู่ขั้น Advance เมื่อทำไปได้สัก 4 ถึง 5 ปี ระดับนี้ฝืมือก็ระดับเทพแล้ว ค่าตัวสูง แต่ในหนึ่งบริษัทอาจจะต้องการเพียงไม่กี่ตำแหน่งครับ เขาจ้างไว้เพื่อฝึกเด็กจบใหม่เงินเดือนน้อย ๆ ในระดับ Basic นั่นแหละ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมบางคนเก่งแต่บริษัททำไมไม่จ้างไงครับ คือที่จริงไม่ใช่ว่าเค้าไม่จ้างนะแต่คนระดับ Advance มักจะเรียกค่าตัวสูงมาก
สุดท้ายพัฒนามาถึงขั้น Artist หรือเรียกว่าศิลปินครับ ชาตินี้ใช่ว่าเป็นกันได้ทุกคนนะครับจะต้องค้นหาตัวเองและมีงานที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ไม่จำกัดว่ามีอายุงานมาแล้วกี่ปี บางคนเป็นนักศึกษาแต่มีเอกลักษณ์ในงานของตัวเองก็หากินเป็น Freelance รอให้คนมาจ้างทำงานนู้นงานนี้ได้แล้ว แต่ว่าคนที่เป็น Artist ส่วนใหญ่ทำงานเป็นทีมไม่ค่อยได้ครับ ส่วนใหญ่จะ One man Show แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าติสจัดจนพูดคุยไม่รู้เรื่องนะครับ
---ทั้งหมดทั้งมวลนี้ พี่ไม่ได้พูดลอย ๆ ครับ เพราะพี่เป็นคนหนึ่งที่จบ ราชมงคลครับที่น้องไม่แน่ใจว่ามีคุณภาพหรือเปล่า พี่ทำงานในตำแหน่ง animator และ Producer ให้กับ ภาพยนตร์การ์ตูนฝีมือคนไทยที่เคยเข้าฉาย เรื่องไหนก็พอเดาได้นะครับ เพราะมีอยู่สองเรื่องแต่ไม่ขอบอกและกัน ตอนนี้ก็ทำงานกับเพื่อน ๆ พี่ ที่จบทั้งศิลปะกร จาก ม.รังสิต จุฬา ราม ราชภัฎ อาชีวะ เทคนิค หรือบางคนจบเอกประมงหรือบัญชีมาก็มี พี่ก็ไม่เห็นว่าจะมีอุปสรรคอย่างที่น้องวิตกมาสักเรื่องเลยนี่ครับ ทุกสิ่งมันอยู่ที่เรานะครับ
พอน้องได้ออกมาทำงานแล้วน้องจะเข้าใจว่า สิ่งที่ในมหาลัยไม่ได้สอนมันมีอยู่เยอะมากครับ อย่าไปยึดติดกับมันมาก แล้วจะรู้ว่าเรื่องสถาบันนี้มันโค-ตร ไร้สาระเลยเมื่อจบออกมาทำงาน
ขอให้ผ่านพ้นวันที่สับสนไปให้ได้นะครับ นี่น้องยังดีนะพ่อให้ตั้งแสนนึงต่อปี ตอนที่พี่เลือกเรียน เอกถ่ายภาพและภาพยนตร์ที่ราชมงคลแทนที่จะเลือกเรียนเกษตร ตามที่พ่อพี่หวังไว้ พ่อพี่นี่บอกเลยนะว่าไม่ส่งเสีย ขอให้น้องโชคดีครับ
ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ รู้สึกีขึ้นมากเลย
และชอบเว็บนี้มากด้วยครับ
น้องครับ ผมนำคำถามไปถามที่นี่ ลองดูคำแนะนำนะครับ อาจมีประโยชน์...
http://larndham.net/index.php?showtopic=34678&st=0
ผมก็เคยสับสนนะครับ
และเข้าใจว่าเป็นไปตามวัย
ผมว่า น้องใช้เวลาทบทวนมากๆ ครับ
เพราะเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต
สิ่งสำคัญที่สุด คือทำเหตุให้ดีที่สุด
เมื่อเหตุดีแล้ว ทำใจรับผลให้ได้ครับ
อยู่กับมัน
ถ้ามองอย่างความเป็นจริง
มหาวิทยาลัย และกลุ่มเพื่อนมีผลครับ
ไม่ผิดถ้าจะเลือกสิ่งแวดล้อมให้กับตัวเอง
แต่ต้องดูความพร้อมหลายๆ ด้านนะครับ
เช่นบางมดค่าเรียนแพง พ่อกับแม่ส่งได้ไหม
เราเป็นลูก จะฆ่าท่านทั้งเป็นหรือ
สุดท้ายเราจะเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุด
ดีที่สุดของเรา อาจไม่ดีที่สุดของหลายๆ คน
แต่บริบทของเรา เราทำดีแล้ว
การประสบผลสำเร็จ
ความเพียรเป็นสิ่งสำคัญครับ
แต่มีอย่างอื่นด้วย
แบบ แข่งวาสนาแข่งกันไม่ได้
การสร้างวาสนา ก็อย่างทำบุญ กตัญญูกับพ่อแม่
คิดทบทวนมากๆ ครับ
ทำดีที่สุดของเรา
ภูมิใจในสิ่งที่ทำ และสิ่งที่เป็น
แม้ไม่ได้เกิดเป็นดอกซากุระ
จงอย่ารังเกียจที่จะเป็นบุปผาอื่น
แม้ไม่ได้เป็นซามูไร
จงดีใจที่ได้เป็นสมุนซามูไร
ภูเขาไฟฟูจิสวยที่สุดก็จริง
แต่จะทำให้ภูเขาอื่นไร้ค่าก็หาได้ไม่
เป็นถนนไม่ได้
จงเป็นแค่บาทวิถี
เป็นดวงอาทิตย์ไม่ได้
ขอเป็นดวงจันทร์ดวงดาวเถิด
เป็นอะไรก็ได้
จงเป็นให้ดีที่สุด
ข้อสอบแบบปรนัย เป็นข้อสอบที่มีโอกาสได้คะแนนน้อยกว่าข้อสอบอัตนัย เพราะมีอยู่สองอย่าง คือ ไม่ถูกก็ผิดไปเลย ถ้ามี4 ตัวเลือก โอกาสถูกมีเพียง 25% แต่ข้อสอบอัตนัย มีโอกาสได้คะแนนมากกว่า เพราะการเขียนสามารถแสดงได้ว่ามีความรู้มากน้อยแค่ไหน อาจารย์จะให้คะแนนเป็นบางส่วนได้ ระบบการศึกษาของไทย โดยเฉพาะประถมและมัธยม ไม่นิยมออกข้อสอบอัตนัย เพราะนักเรียนแต่ละห้องเยอะ ครูไม่มีเวลาพอที่จะตรวจข้อสอบอัตนัยได้ งานอื่นๆก็ล้นมือไปหมด จึงนิยมออกข้อสอบปรนัย เพราะอาจจะใช้เวลานานหน่อยในการออกข้อสอบ แต่จะตรวจได้เร็วกว่ามาก และไม่ต้องระวังเรื่องมาตรฐานในการให้คะแนนเหมือนข้อสอบอัตนัย เมื่อมีอาจารย์หรือครูบางท่านออกข้อสอบอัตนัย เด็กจึงรู้สึกกลัวว่าจะทำไม่ได้ดี เพราะไม่เคยชิน จึงไม่น่าแปลกใจว่าเด็กไทยจำนวนมาก จะเห็นว่าข้อสอบอัตนัยเป็นเรื่องน่ากลัว และรู้สึกว่าอาจารย์โหดร้ายที่ออกข้อสอบเป็นอัตนัย
การเลือกเรียน ใกล้บ้าน จริงๆแล้ว มีข้อดีมากสำหรับกรุงเทพฯ เพราะไม่ต้องหมดเปลืองเวลาไปกับการเดินทางที่หาสาระประโยชน์ไม่ค่อยได้ และยังเปลืองเงินโดยใช่เหตุ อีกทั้งเสียสุขภาพ คือ ถ้าเรียนใกล้บ้าน ก็จะมีเวลาในการพักผ่อนมากขึ้น ไม่ต้องตื่นแต่มืดเพื่อบากบั่นไปเรียน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้หลายๆครั้งต้องขาดเรียน เพราะตื่นไม่ทันบ้าง หรือเพราะสาเหตุอื่นๆที่จะหามาอ้างเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเรียน เป็นต้น
เรื่อง สถาบันที่จบ แม้ว่าในทางปฏิบัติจะมีส่วนจริงอยู่บ้าง ว่าสถาบันและเกรดที่จบมามีส่วนสำคัญ (แต่ไม่ที่สุด) เพราะเป็นการประเมินขั้นต้น ว่าคนคนนั้นมีสติปัญญาและความสามารถมากน้อยเพียงใด แต่ผลงานและความสามารถที่แท้จริง ไม่สามารถประเมินได้จากสถาบันและเกรด จะต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ ผมเห็นตัวอย่างเด็กที่จบราชภัฎหลายคน ประสบความสำเร็จในการทำงาน ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการเมื่ออายุงานไม่ถึง 5 ปีก็มี หรือ สามารถสอบเข้าเรียนต่อปริญญาโทในมหาวิทยาลัยชื่อดังของรัฐในกรุงเทพฯ หรือ มีความสามารถโดดเด่้นเป็นที่ยอมรับในวงการนั้นอย่างมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ต้องพิสูจน์กันจากผลงานของเขาทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่ได้มาโดยบังเอิญ
ฉะนั้น การกังวลใจไปก่อนจึงไม่มีประโยชน์ หากจะนำมาเป็นสิ่งบั่นทอนกำลังใจของตนเอง แต่หากจะนำมาเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดพลังในการต่อสู้ฝ่าฟัน เพื่อไม่ให้เกิดสิ่งที่เรากังวลนั้น อยากให้เจ้าของกระทู้ เปลี่ยนคำว่า "กลัว" ที่มีอยู่เต็มไปหมด มาเป็นความพยายามที่จะไม่ทำให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นกับเรานะครับ ต้องหันมาย้อนมองตัวเราก่อนว่า มีข้อบกพร่องตรงไหน แล้วพยายามแก้ไข เช่น เรายังวาดรูปไม่ดีพอ ก็ต้องฝึกฝนให้มากขึ้น ถ้ากลัวสอบไม่ได้ ก็ต้องพยายามอ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัด ให้ครบและมากที่่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องฝึกฝนใจตัวเองด้วย หากเราพยายามอย่างถึงที่สุดจริงๆ (ไม่ใช่แบบเข้าข้างตัวเอง) หากพลาดไป จะต้องยอมรับผลที่ตามมาให้ได้ด้วย ทางออกของปัญหายังมีอยู่ การเรียนมหาวิทยาลัยเอกชน หรือ มหาวิทยาลัยราชมงคลหรือราชภัฏ ไม่ได้แย่เสมอไปหรอกครับ ขึ้นกับตัวของเราเองมากกว่า
Link :
http://larndham.net/index.php?showtopic=34678&st=10&#top
ถ้าจะเรียนอะไรก็มองที่ปลายทางของสาขางานนั้นๆ ว่าใช่ตัวเราหรือเปล่า ถ้ามีแต่ความ อยากหรือชอบคุณก็จะหาตัวเองไม่เจออีก
อยาก ทำงานอะไร เป็นอะไรให้ไปดูว่างานนั้นเค้าทำกันยังไง ได้อะไรบ้าง ถ้าคิดว่าใช่ก็ค่อยมาหาดูว่า เค้าเรียนกันที่ไหน มหาลัยไหนเปิดบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ต้องการคุณสมบัติอะไรบ้างที่จะเข้าได้ สุดท้ายมาเตรียมตัวทำอย่างไรเพื่อให้เราเป็นคนที่มีคุณสมบัติที่เค้าต้อง การ
มองให้รอบด้าน อย่าคิด อย่าตัดสินใจเพราะว่าความฝันอย่างเดียวแต่ไม่มองความจริง เพราะเรามีชีวิตอยู่บนความจริงที่มีความฝันเป็นแรงผลักดัน คนที่เป็นทุกข์เพราะมัวแต่อยุ่บนโลกของความฝัน ซึ่งไม่มีจริง
ขอยก ตัวอย่างของตัวเองสมัยเรียนม.ปลาย อยู่ในช่วงรอยต่อของชีวิตว่าจะหันเหไปเรียนในสาขาอะไรดี สมัยอยู่ม.6 เรียนสายวิทย์ในโรงเรียนชื่อดังประจำจังหวัดแห่งหนึ่งซึ่งมีคนเก่งระดับหัว กะทิมารวมๆ กัน ตามสมัยนิยมในขณะนั้นอาชีพที่บรรดาผู้ปกครองอยากให้ลูกหลานที่เรียนดีคือ อาชีพแพทย์เพราะ มีรายได้ดี มีเกิยรติ ทำให้นักเรียนหลายๆคนตั้งเป้าหมายที่จะสอบเข้าคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยชื่อดัง ทั้งหลาย แต่เนื่องจากการเรียนในด้านนี้ต้องมีความเพียรและรับผิดชอบอย่างสูงทำให้นัก ศึกษาบางคนเมื่อสอบเข้ามาเรียนได้จริงกลับไม่ชอบ บางคนทนเรียนจนจบเพราะสติปัญญาดีแต่ก็ไม่ทำงานในสาขาอาชีพที่จบมา ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของหลวงโดยใช่เหตุ ที่สำคัญคนที่เรียนสูญเสียเวลาซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติอันมีค่าในวัย หนุ่มสาวไปโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
ด้วยเหตนี้โครงการให้ นักเรียนม.ปลายที่สนใจเรียนสาขาแพทย์มาศึกษาดูงานในโรงพยาบาลในเขตจังหวัด จึงเกิดขึ้นเพื่อได้ทราบลักษณะงานและบรรยากาศการทำงานหน้างานจริงๆ ว่าเป็นอย่างไรก่อนตัดสินใจไปเรียน
ระยะเวลา 10 วันในการมาช่วยงานเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ได้เดินติดตามหมอไปดูห้องคนไข้ในตึกต่างๆ ทำให้เข้าใจภาพการทำงานได้ชัดเจนขึ้นว่า จบมาแล้วนี่แหละคือสิ่งที่ต้องเจอ
สำหรับ ตัวเอง ประสบการณ์นี้ทำให้ "ตาสว่าง" ค้นพบว่า ไม่ใช่ตัวเราเลยที่จะมาทำงานในลักษณะนี้ บรรยากาศแบบนี้ เนื่องจากตอนนั้นอายุ 17-18 ไม่ได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังนอกเหนือจากวิชาพุทธศาสนา (เรียนไปแบบนกแก้วนกขุนทอง ท่องจำ ทำให้ได้เกรด 4 ตามคติ ตามบรรยากาศการเรียนที่แข่งขันคุกรุ่นของนักเรียนในห้องเด็กเก่งๆ แต่ถามว่าเข้าใจมันจริงไหม คิดว่าคงไม่นะ คำว่าทุกข์ในหนังสือเรียนที่อ่านในตอนนั้นต่างกับความเข้าใจคำว่าทุกข์ใน วันนี้อย่างสิ้นเชิง)
แต่ละวันก็จะไปดูงานและช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ หรือหมอในแต่ละตึกต่างๆ กันไป ห้องอายุรกรรม ตึกอุบัติเหต ห้องไอซียู ห้องเด็กอ่อน แผนกและส่วนงานต่างๆ มากมายภายในโรงพยาบาล สิ่งที่รุ้สึกแทบทุกวันคือหดหู่ เศร้าหมองที่ต้องมาเจอบรรยากาศของการเกิดแก่เจ็บตาย ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่สวยงาม มีแต่เลือด น้ำเหลือง ของสกปรก กลิ่นเหม็น กลิ่นยา กลิ่นเวชภัณฑ์ มีความตื่นตระหนก มีเสียงโอดโอย กรีดร้อง ร่ำไห้ระงม ความเศร้า เห็นความทุกข์ของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แววตาของคนที่เศร้าโศกความเสียใจกับการสูญเสียจากความตายและโรคภัย ฯลฯ แต่อีกใจนึกก็คิดว่า “เงินมันดีนะ” ถึงตอนนี้ก็ชั่งใจระหว่างผลตอบแทนกับลักษณะงาน
เดินไปตึกแล้วตึกเล่า ห้องคลอดก็ไปยืนดูหมอทำคลอดผ่าหน้าท้องดึงเด็กออกมาต่อหน้าต่อตา เห็นทุกขั้นตอน เห็นเลือด กลัวเลือดและทุกวันนี้ก็ยังกลัวอยู่ ไปดูห้องเด็กอ่อนที่มีทั้งอยู่บนเตียง และตุ้อบเพราะคลอดก่อนกำหนด มองเห็นเด็กตัวเล็กมาก ผิวหนังบอบบางมองเห็นเส้นเลือดมากมาย หายใจเข้าออก ดูช่างเป็นสิ่งมีมีชีวิตที่บอบบางเหลือเกิน มองเห็นเด็กบางคนที่แม่พยายามทำแท้ง แต่ไม่ตายต้องมาอยู่ในตู้อบ บางคนคลอดมาสมองขาดออกซิเจนทำให้พัฒนาการผิดปกติ
ได้เห็นว่าหมอและ พยาบาลยุ่งมากโดยเฉพาะโรงพยาบาลประจำจังหวัด แทบไม่มีเวลาพักเลย ชีวิตมีแต่ตารางที่คนอื่นกำหนด มีความรับผิดชอบสูงต่อชีวิต ต้องรองรับความเครียดจากการทำงานและความคาดหวังจากคนไข้ ญาติของผู้ป่วย ในตอนนั้นเคยช่วยพี่พยาบาลเช็ดตัวผุ้ป่วยคนนึง อีกวันเค้าก็เสีย มองเค้าหามออกไป รู้สึกเสียใจเหมือนกันทั้งๆที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน พอจะเข้าใจหมอเจ้าของไข้ที่พยายามดูแลรักษายื้อชีวิตจากความตายว่าจะรู้สึก อย่างไรเมื่อคนไข้ที่รักษาต้องตายไป แม้จะบอกว่าเห็นภาพแบบนี้จนชินก็ตาม
เทอม สุดท้าย ก็ไม่มีความเครียดในการเรียนและการเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์ซึ่งเป็นระบบสอบ เข้าอุดมศึกษาในสมัยนั้น เพราะว่าได้ปล่อยวาง ทิ้งวิชายากๆ ที่เราพยายามทำดีกับมันถึงที่สุดเพราะว่า รู้ตัวแล้วว่า คงไม่ได้ใช้อีกแน่ๆ ทั้งเคมี ฟิสิกข์ ชีวะ เลข สอบเพียงให้จบม.ปลายแค่ผ่าน แต่หันมาตั้งใจ ทุ่มเทวิชาทางสาขาศิลปศาตร์และภาษาแทน ไม่ต้องไปเรียนกวดไปทิ้งโค้งสุดท้ายเหมือนเพื่อน เพราะมั่นใจชัดเจนมากว่าไม่อยากทำงานในสาขาอาชีพยอดฮิตในขณะนั้นเลยแล้วถ้า ฝืนก็จะเป็นทุกข์มากด้วยเพราะต้องใช้ความสามารถและพยายามสูงไม่เหมาะกับเรา เลย เพื่อนคนอื่นๆ เริ่มตั้งคำถามตัวเองว่าใช่ตัวเองไหมจากที่ไปเห็นมา บางคนที่เก่งๆ หัวดีที่สอบหมอก็ได้แน่ๆ เปลี่ยนสายไปเป็นวิศกรรมศาสตร์แทน เรียนบัญชีแทน เรียนสถาปัตยกรรมแทน ส่วนตัวเองมาเรียนด้านภาษาแทนทั้งๆ ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์มา 3 ปี
ทุกวันนี้มีความสุขดีที่เรียนอะไรไม่ ตามคนอื่นเขา แต่เข้าใจตัวเองก่อน ไม่สอบตามใจพ่อแม่ ไม่เห่อตามเพื่อนตามกระแสสังคม ไม่นิยมสถาบัน เมื่อเลือกแล้วก็ตั้งใจมากพอจนในที่สุดก็ได้เรียนในสิ่งที่เหมาะกับเรา
ขอ ให้น้องหาตัวเองเจอนะคะ เรื่องอื่นยังสำคัญน้อยมากนักเมื่อเทียบกับว่า ถามตัวเองว่าเราต้องการอะไรกันแน่ อย่างอื่นถ้าเราตั้งใจ หนทางจะมาเองล่ะค่ะ..
วิฬาร์วรรณ
คัดลอกมาจากความเห็นที่นี่ครับ
http://larndham.net/index.php?showtopic=34678&st=14
ฝากถึงน้องต้นเรื่องนะครับ
ดีใจที่น้องรู้ว่าใจน้องอยากทำงานอะไรต่อไปนะครับ
ส่วนเรื่องอุปสรรคความกลัวต่างๆไม่ใช่ปัญหาใหญ่มากมายหากเรามั่นใจในทางที่เลือก
หลายๆครั้งเรามักกลัวกับปัญหาต่างๆที่ผ่านเข้ามา และมองว่ามันใหญ่มากๆสำหรับเรา
แต่พอผ่านมันไปแล้วมันก็ไม่ได้ใหญ่มากมายเท่าที่เรากลัวไป การสอบเข้ามหาลัย
ก็เช่นเดียวกันครับ เห็นใจน้องๆรุ่นใหม่ๆนะ มีระบบการสอบการแข่งขันทั้งตัวเองและอื่นๆ
มากมายซับซ้อนขึ้นทุกทีๆ แต่อยากให้เพิกความกลัวต่างๆออกไปก่อนนะครับ
มองเป้าหมาย ตรองเป้าหมายที่เราต้องการด้วยหลายๆอย่าง เอาใจเราเป็นหลักก่อน
ถ้าเราชอบแน่ๆแล้วเราก็มาประเมินตัวเราเองฟังรอบข้างบ้างพอเอามาประกอบไม่ให้
เราเอนเอียง ว่าเราเหมาะไหม มีคุณสมบัติพอหรือยัง แม้ยังไม่เหมาะไม่พร้อมแต่
มองดูทางแล้วเราพร้อมจะสู้ พร้อมจะเดินในทางนี้ และจะมีความสุขกะสิ่งที่เลือกจริงๆ
ก็ค่อยเตรียมตัวเตรียมความพร้อมครับ ไม่อยากให้เอาเวลามาบีบความฝัน แม้ไม่ได้
อย่างที่หวังจริงๆในคราวแรกถ้ามั่นใจในฝันและเต็มที่พี่ก็ไม่อยากให้ทิ้งฝันนะ
เพราะงานที่เราชอบจะเป็นงานที่เราทำได้ดีที่สุดในระยะยาว และที่สำคัญจะมีความสุข
มากที่สุดแม้จะเหนื่อยก็ตาม ดังนั้นโดยส่วนตัวอยากให้เอาความเครียดความกลัว
และเงื่อนไขอื่นๆเช่นเวลา จะได้ไหมนะปีนี้อะไรแบบนี้ออกไปก่อน มามองความฝันตัวเอง
จริงๆจังๆดีๆ ว่าเราพร้อมจะเดินไปในทางนี้ไหม เอาแน่ไหม ถ้าใช่ก็ลุยครับ จะช้าจะเร็ว
สักวันก็ถึงครับ ถ้าทำแบบนี้ระหว่างทำเราก็จะมีความสุข เมื่อสำเร็จแล้วเราก็จะมีความสุข
เป็นกำลังใจให้นะครับ ขอให้น้องมีความสุขกะสิ่งที่จะทำและสิ่งที่จะได้ทำครับ
ขอบอกว่าหลายคนใช้เวลาทั้งชีวิตยังหาสิ่งที่ตัวเองอยากทำไม่เจอเลยนะ
ถ้าเราเจอแล้วจะกลัวอะไรครับ ไม่มีอะไรสายเกินไปหรอก สู้ไม่ถอยก็พอ
ส่วนเรื่องอื่นๆเช่นจะเรียนที่ไหน ก็ตรองดูตามลำดับไปครับ อย่าเอาความเครียด
อย่าเอาเวลาต่างๆมากดดันให้เราเดินไปทางที่สักแต่ว่าเอาๆไป ลองมาเตรียมการดีๆ
จะช้าจะเร็ว(ซึ่งไม่มีคำว่าช้ามากแน่ๆ)หากตั้งใจ มั่นใจ แขวนความกลัว ความเครียด
ความกดดันไว้แล้วค่อยๆทำฝันอย่ารอบคอบรอบด้าน แค่นี้ก้น่าจะพอละครับ สู้ๆ
อ่อ...อย่างไรก็ตามต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริงด้วยครับ มองโลกตามจริง
ตามที่พี่ๆด้านบนก็ได้กล่าวมา เพราะบางทีความฝันก็เกิดจากการที่เราไม่เห็นตามจริง
ถ้าดูตามจริงแล้วยังฝันเช่นนั้นอยู่ก็ตั้งใจ เต็มที่ แล้วเราจะได้ไม่เสียใจในภายหลังครับ
(ไอหมอก)
http://larndham.net/index.php?showtopic=34678&st=19&#top
พี่สาวเป็นกราฟฟิคดีไซเนอร์ที่มีความสุขกับงาน และชีวิตมากๆ ค่ะ
(สถาปัตย์นิเทศน์ ต่อกราฟฟิคดีไซน์ค่ะ) สงสัยอะไรถามได้แล้วจะไปถามต่อให้ค่ะ ตอนนี้ขอเล่าเท่าที่เข้าใจก่อนนะคะ
...................................................................
ผมกลัว กลัวไม่มีที่เรียน กลัวไม่มีงานทำ กลัว...
ก็น่ากลัวอยู่ค่ะ เข้าใจ
ความกลัว มันสั่งกันให้ไม่กลัว ไม่ได้หรอกค่ะ กลัว ก็กลัวค่ะ เรื่องปกติ
เป็นใครๆ เพื่อนๆ เองตอนนี้ก็กลัว พี่ๆ ก็เคยกลัวกันมาแล้วทั้งนั้นค่ะ
เรื่องสถาบันมีผลหรือเปล่า เป็นปัจจัยหนึ่งค่ะ แต่อย่างที่ว่าผลงานสำคัญด้วยค่ะ
อีกอย่างนึง ต่อให้จบตรีอะไร คนเราต่อโท เทคคอร์สเพิ่มกันข้างนอกได้นี่นะคะ
กลัว ไม่มีงาน ต่อให้จบที่ไหนก็ตาม ถ้าผลงานดี ประพฤติตัวดีน่าร่วมงาน ผลงานเนี๊ยบ รับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ไอเดียดี อาจารย์ก็เอ็นดู พี่ๆ ที่จบไปแล้วก็มีรู้จักติดต่อฝากฝังตัวดีๆ ทำไมจะไม่มีงานทำละคะ
การสมัครงาน ก็เป็นสิทธิ์ของเขาว่าอยากได้ทีมงานแบบไหน
ถ้า ที่ทำงานชนิดที่ไม่สนใจผลงาน แค่ตัดสินคนกันที่สถาบัน ก็อย่าไปทำงานกะเค้าเล๊ย เค้าอาจมีเกณฑ์หรืออะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้ก็ได้ค่ะ
งานพวกนี้จริงๆ หางานได้กว้างกว่าที่คิดนะคะ
เพื่อนๆ สถาบันเดียวกับพี่สาว ยังไม่เคยได้ยินว่ามีคนตกงานเลย
และกระจายตามที่ที่ตอนแรกคิดเองไม่ถึงด้วย
สมัย พี่สาวก็เคยได้ยินคำพูดเรื่องต้องฝึกวาดรูปเยอะๆ เหมือนกัน เขาก็ไปเรียนพิเศษ ฝึกฝนตัวเองจนถึงวันสอบ ได้แค่ไหนก็ทำเต็มที่เท่านั้น เวลาเรียนจริงๆ วัดกันที่ไอเดีย กับความรับผิดชอบด้วยค่ะ
กลัวว่าไปเรียนเรียน ม.ศรีปทุมจะเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เพราะสังคมใช้ตังค์เยอะ ที่...
ใจเย็นๆ คุณน้อง สอบไปให้หมด เข้าอะไรได้แล้วค่อยมาคิดว่าจะเอาอันไหนดี
ในกลุ่มสังคมก็ต้องมีเพื่อนที่เข้ากับเราได้บ้างสิน่า
อยากเข้าบางมดเพราะอยากเรียนเอก vfx ซึ่งที่อื่นไม่มี
พวกสาขาวิชา เพิ่มกันได้เสมอนี่ค่ะ แล้วเร็วด้วยนะคะ
สถาบันอื่นๆ วันนี้ไม่สอนอาจสอนปีหน้าก็ได้
แนะนำให้สอบถามทางคณะสถาบันอื่นๆ ด้วยค่ะว่ามีแผนเพิ่มสาขาวิชาในปีต่อๆไปไหม
เคยมีเพื่อนทำแบบนี้เหมือนกัน แล้วภาคให้เรียนหน่วยที่อยากเรียนในปีสองได้ก็มีนะคะ
การได้เรียนกับคนเก่ง ทำให้เรากระตือรือร้น ทำให้เราเก่ง
เห็น ด้วยค่ะ รวมทั้งความเป็นมืออาชีพของอาจารย์ เครื่องมือ โอกาส และสนามให้นักศึกษาฝึกฝน แต่ยังไงก็ตาม ได้ก็ดี ไม่ได้เราก็ต้องพยายามเองให้มากขึ้นก็ได้ค่ะ
แค่ผมอยากถามว่าถ้าพี่ ๆ เป็นแบบผมจะทำอย่างไรดีอ่าครับ
อ่านคำแนะนำของพี่ๆ คนอื่นๆ ให้ดีค่ะ พี่ๆ แนะนำกันดีๆ ทั้งนั้น
ทำใจร่มๆ กลัวก็รู้ว่ากลัว ใครๆ ก็กลัวกันทั้งนั้น ตื่นเต้นก็รู้ว่าตื่นเต้น
ทำให้เต็มที่ สอบให้เต็มที่ค่ะ ได้ผลยังไงมาทางออกกันอีกทีได้
พุดน้ำบุศย์
http://larndham.net/index.php?showtopic=34678&st=18
--- โหะ ๆ อินเตอร์เนตสมัยนี้มันดีจริง ๆ นะครับ ถามแค่วันเดียว ร่งขึ้นก็มีคนมาตอบเพียบเลย ---
--- ถ้าไม่มีเนตนี่ก็แย่เหมือนกันนะครับ เรื่องมันยาว ผมสรุปใจความให้คนอื่นฟังไม่ได้ เขางงกันหมด---
เฮ้อ...สบายใจเฉิบ ตอนนี้ก็ฝึกวาดรูปและ CG ทุกวันแล้วโดยเฉพาะโปรแกรม ZBrush แล้วก็ดูแลชมรม
Film Cg ได้อย่างราบรื่น
ขออนุโมทนาบุญนะครับ ผลดีจงกลับไปถึงตัวท่านและคนรอบข้างนะครับ :)