ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุรวม ๘๔,๐๐๐ องค์

 neng1515    16 พ.ค. 2555

 โครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุรวม ๘๔,๐๐๐ องค์ ครั้งที่ ๑ จำนวน ๘,๔๐๐ องค์

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นพุทธบูชาและพุทธานุสสติ
๒. เพื่อเป็นการสืบทอดอายุพุทธศาสนาและไว้ใช้เป็นทุนในการบูรณะหรือซ่อม แซม ศาสนวัตถุ เช่น โบสถ์, ศาลา ฯลฯ ของวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับพระที่ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมานี้ไปบรรจุไว้
๓. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ, ดวงพระวิญญาณอดีตองค์บูรพกษัตริย์ไทยและบรรพบุรุษนักรบไทยทุกๆท่านที่ได้ร่วมปกป้องแผ่นดินไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน 


นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายร้อยปีที่พุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาได้มีการสร้างพระเพื่อบรรจุกรุกันมาโดยตลอด นับเนื่องแต่สูงสุดคือองค์บูรพมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ เหล่าขุนนาง คหบดี หรือแม้แต่พระ สงฆ์ , ฤาษี หรือผู้นำของชุมชนได้เป็นผู้นำในการจัดสร้างพระเพื่อบรรจุกรุ โดยอาจเป็นไปตามเชื่อคตินิยมว่าเป็นการสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาให้ครบ ๕,๐๐๐ ปี ตามที่องค์พระสมณโคดมได้ทรงกล่าวไว้ และเพื่อเป็นการสะสมทุนบุญให้กับตนเองและหมู่คณะ หรือสร้างเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบิดามารดา ครูบาอาจารย์หรือผู้มีพระคุณก็ตาม

ในบรรดาพระกรุที่มีการขุดพบกันหลายสิบหลายร้อยกรุ ดังที่เราๆท่านๆ ได้มีโอกาสรู้จักพบเห็นหรือได้ครอบครองมาบูชากันนั้น นิยมจัดสร้างด้วยมวลสารที่มีความหลากหลาย เช่น เนื้อดิน เนื้อผง เนื้อโลหะ เป็นต้น โดยในมวลสารการสร้างพระประเภทโลหะนั้นเองก็ยังมีการแยกเป็นหลายประเภท ตามฐานะของผู้มีศรัทธาจัดสร้างตั้งแต่เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาค เนื้อชินเงิน เนื้อตะกั่ว เป็นต้น

ดังนั้นแล้วเราคงปฏิเสธกันไม่ได้ว่าในจำนวนพระกรุที่ผ่านกาลเวลามานานแสนนานนั้นพระที่จัดสร้างขึ้นมาจากเนื้อตะกั่วนั้น สามารถทนต่อสภาวะการเปลี่ยน แปลงของสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเนื้อตะกั่วเองนั้น จากประสบการณ์ของผู้มีความรู้ส่วนใหญ่ได้อธิบายไว้ว่าเป็นวัสดุที่นำมาสร้างเป็นองค์พระแล้วเสกได้ดี คือเต็มเร็ว และอยู่ได้นาน แถมตัววัสดุเองก็มีราคาไม่สูงมากนัก จึงเป็นวัสดุประเภท “ ดี ทน ถูก ”
ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นทางผู้ดำเนินการจึงได้เลือกใช้โลหะประเภทตะกั่วในการจัดสร้างพระเพื่อบรรจุกรุในครั้งนี้

รูปแบบการดำเนินงาน

โครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุรวม ๘๔,๐๐๐ องค์ในครั้งนี้นับว่าเป็นโครงการงานบุญงานแรกของตัวผมเอง(คิดไว้นานแล้วพึ่งจะได้โอกาสลงมือทำ) หลังที่ได้วางแผนและปรึกษากับหลายๆ ท่านแล้ว ในเบื้องต้นจึงได้แบ่งโครงการฯ นี้ออกเป็นทั้งหมด ๑๐ ครั้งย่อยๆ โดยในแต่ละครั้งจะทำการสร้างพระครั้งละ ๘,๔๐๐ องค์

อนึ่ง โครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุนี้แบ่งย่อยออกเป็น ๑๐ ครั้งๆละ ๘,๔๐๐ องค์ โดยความตั้งใจเดิมของตัวผมเองอยากให้มีการบรรจุตามวัดต่างทั้ง ๕ ภาค คือ

๑. ภาคกลาง จำนวน ๒ วัดๆ ละ ๘,๔๐๐ องค์
๒. ภาคเหนือ จำนวน ๒ วัดๆ ละ ๘,๔๐๐ องค์
๓. ภาคใต้ จำนวน ๒ วัดๆ ละ ๘,๔๐๐ องค์
๔. ภาคตะวันออก จำนวน ๒ วัดๆ ละ ๘,๔๐๐ องค์
๕. ภาคตะวันตก จำนวน ๒ วัดๆ ละ ๘,๔๐๐ องค์

โดยวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้พระไปบรรจุกรุนี้จะเป็นวัดใดก็ได้ ขอให้เพื่อนสมาชิกส่งชื่อวัดและรายละเอียดตามสมควร เข้ามาให้เพื่อนสมาชิกร่วมกันโหวต โดยกำหนดกติกาในการพิจารณาขึ้นมาร่วมกัน วัดที่เข้าหลักเกณฑ์และได้ รับเสียงโหวตมากที่สุดในแต่ละภาคจะได้รับพระที่ร่วมกันจัดสร้างขึ้นนี้ไปบรรจุไว้ เพื่อเป็นทุนในการซ่อมแซมศาสนวัตถุของวัดนั้นๆ สืบต่อไป


เพื่อให้การสร้างพระบรรจุกรุในครั้งนี้ถูกต้องตามแบบโบราณกาลคือให้ทั้ง ดีในและดีนอก

ดีในคือ นับตั้งแต่เนื้อวัสดุที่ใช้ในการสร้าง ต้องมีการลงอักขระเลขยันต์จากภิกษุผู้ทรงคุณหลายๆท่านหรือได้รับการอธิฐานจิตจากท่านมาแล้ว ผมจึงได้นำตะกั่วที่ซื้อสะสมไว้น้ำหนักประมาณ ๑๔๐ กก.มาทำการหลอมเทเป็นแผ่น ณ วัดท่าช้าง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ มี.ค. ๕๕ ที่ผ่านมานี้ ซึ่งเป็นพิธีเทพระกริ่งท่าช้าง โดยมีพระครูโสภณสิริธรรม ( หลวงพ่อสม สุชิโว ) วัดโพธิ์ทอง ท่านนั่งอธิฐานจิตในพิธีด้วย และในวันนั้นก็มีพี่ๆน้องๆในพลังจิตมาร่วมบุญกันหลายท่าน

โดยเทออกมาเป็นแผ่นกว้างยาวประมาณ ๗ x ๗ นิ้ว หนาประมาณ .๕- ๑ ซม. ได้จำนวนแผ่นเป็นเลขที่มงคลมากคือ ๑๐๘ แผ่น ได้ถวายหลวงพี่เปี๊ยก วัดท่าช้างไว้ จำนวน ๒๘ แผ่น คงเหลือที่ผม จำนวน ๘๐ แผ่น ซึ่งจะได้นำไปขอความเมตตาจากพระภิกษุผู้ทรงคุณท่านลงอักขระเลขยันต์หรืออธิฐานจิตแผ่นชนวนให้ครบตามจำนวนต่อไป

และหากว่ามีพี่ๆ น้องๆ ท่านใดมีความประสงค์จะช่วยงานบุญครั้งนี้โดยการนำแผ่นตะกั่วที่ตั้งใจเป็นแผ่นชนวนมวลสารนี้ไปขอความเมตตาจากพระเกจิที่ท่านเคารพนับถือขอให้ท่านลงอักขระเลขยันต์ให้ก็ติดต่อมานะครับ ผมจะรีบจัดส่งไปให้หรือท่านที่อยู่ไกลๆก็ซื้อแผ่นตะกั่วจากร้านสังฆภัณฑ์ แล้วนำไปให้พระเกจิที่เคารพนับถือท่านลงอักขระแล้วส่งกลับมาที่ผมก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ โดยส่งมาตามที่อยู่ด้านล่าง

ดีนอกเมื่อจัดสร้างเป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยจะให้มีการเข้าพิธีพุทธาภิเษก อย่างน้อย ๓ พิธี และอธิฐานจิตเดี่ยวอย่างน้อย ๓ – ๕ องค์ ก่อนที่จะมีการบรรจุกรุต่อไป

ซึ่งการนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก และอธิฐานจิตเดี่ยวนี้ก็คงจะต้องขอความร่วม มือร่วมใจจากพี่ๆน้องๆที่ร่วมบุญกันครั้งนี้เป็นผู้ประสานงานอีกด้วยเช่นกันครับ


และเมื่อได้แผ่นชนวนทั้งหมดมาแล้ว รวมถึงท่านที่บริจาคมวลสารไม่ว่าจะเป็นพระหรือเครื่องรางเนื้อตะกั่วเข้ามาร่วมบุญกัน ผมจะนำมาหลอมชนวนมวลสารทั้งหมดรวมกันแล้วแบ่งออกเป็นสิบส่วน เพื่อใช้เป็นชนวนหัวเชื้อในการสร้างพระทั้ง ๑๐ ครั้งต่อไป

พุทธลักษณะที่จัดสร้าง

พุทธลักษณะของพระที่ร่วมกันจัดสร้างขึ้นนี้จะเป็นการผสมผสานระหว่างโบราณและปัจจุบัน โบราณคือพิถีพิถันในการจัดสร้างตั้งแต่เนื้อหาและการปลุกเสกหรืออธิฐานจิตเรียกว่าให้ดีทั้งในและดีทั้งนอก ปัจจุบันคือยุคนี้เป็นเรื่องของความรวดเร็วด้วยมีเครื่องไม้เครื่องมืออันทันสมัย จึงจะใช้วิธีปั๊มขึ้นมาเป็นองค์พระ

เป็นพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ ขนาด ประมาณ ๑.๘ ซม.x ๒.๕ ซม.หนาประมาณ ๓ มม.

ความหมายของพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์เก้าใบ

ด้านหน้า
- พิมพ์สมเด็จ หมายถึง เป็นพิมพ์พระที่นิยมสร้างกันในยุคปัจจุบันนี้
- ปรกโพธิ์ หมายถึง ๑. พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันพระองค์ท่านทรงตรัสรู้ ณ ใต้ต้นโพธิ์
๒. ความร่มเย็นเป็นสุขเมื่ออยู่ใต้ร่มโพธิ์
- เก้าใบ หมายถึง ถือเอา เลข ๙ เป็นเลขมงคล เจริญก้าวหน้า

( ตามตัวอย่าง รูปด้านล่าง แต่ต้องแก้ไขจำนวนใบโพธิ์ให้เหลือเพียงเก้าใบ แต่เพิ่มขนาดใบโพธิ์ให้ใหญ่ขึ้น )



ด้านหลัง
มีพระคาถา เป็นตัวอักขระแบบจม ดังนี้

แถวที่ ๑ นะ
แถวที่ ๒ โม พุท ธา ยะ
แถวที่ ๓ นะ มะ พะ ทะ
แถวที่ ๔ จะ ภะ กะ สะ
แถวที่ ๕ นะ มะ อะ อุ

แถวที่ ๑ และ ๒ นะ โม พุท ธา ยะ เป็นพระนามย่อของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ในภัทรกัปนี้ ดังพระคาถานมัสการพระเจ้า ๕ พระองค์ ดังนี้

นะ กาโรกุกกุสันโธ
โม กาโรโกนาคะมะโน
พุท กาโรกัสสะโปพุทโธ
ธา กาโรโคตะโมพุทโธ
ยะ กาโรอะริยะเมตตรัยโย
ปัญจะพุทธา นะมามิหัง ฯl

แถวที่ ๓ เป็นธาตุทั้ง ๔
นะ คือ ธาตุน้ำ
มะ คือ ธาตุดิน
พะ คือ ธาตุไฟ
ทะ คือ ธาตุลม

แถวที่ ๔ เป็น ธาตุกรณีย์
จะ คือ ธาตุน้ำ
ภะ คือ ธาตุดิน
กะ คือ ธาตุไฟ
สะ คือ ธาตุลม

แถวที่ ๕ เป็นแก้ว ๔ ดวง ใช้สำหรับหนุนธาตุ
นะ แก้วมณีโชติ หนุน ธาตุน้ำ
มะ แก้วไพฑูรย์ หนุน ธาตุดิน
อะ แก้ววิเชียร หนุน ธาตุไฟ
อุ แก้วปัทมราช หนุน ธาตุลม


การร่วมบุญกับโครงการฯ

๑. ร่วมบริจาคปัจจัย โดยโอนเข้า บ/ช. ตามรายละเอียดด้านล่าง
๒. ร่วมบริจาคมวลสาร เช่น แผ่นจารอักขระจากพระเกจิที่ท่านเคารพนับถือ ตะกรุดตะกั่ว พระหรือเครื่องรางเนื้อตะกั่ว โดยจัดส่งมาตามที่อยู่ด้านล่าง
๓. ร่วมเช่าบูชาวัตถุมงคลบางส่วนที่ผมสะสมไว้ รายได้ทั้งหมดเข้าโครงการสร้างพระฯ
๔. ร่วมทำบุญกับโครงการฯชุดละ ๑๕๐ บาท(รวมค่าจัดส่ง) โดยมีรายละเอียดดังนี้

โครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุ รวม ๘๔,๐๐๐ องค์
ครั้งที่ ๑ จำนวน ๘,๔๐๐ องค์

โดยพระจำนวน ๘,๔๐๐ องค์ จะทำการแบ่งออกเป็น ๘๔๐ ชุดเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบุญกัน โดยร่วมทำบุญชุดละ ๑๕๐ บาท ซึ่งคิดเป็นเงิน ๑๒๖,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนในการดำเนินการต่อไป

รายละเอียดของการทำบุญต่อชุด

โดยในการทำบุญ ๑ ชุด จะประกอบด้วยพระจำนวน ๑๑ องค์

พระจำนวน ๑๐ องค์ จะร่วมสมทบเข้าโครงการสร้างพระบรรจุกรุฯ

พระจำนวน ๑ องค์ มอบให้เป็นที่ระลึกในการบริจาคเงินร่วมทำบุญกับโครงการสร้างพระบรรจุกรุฯ(เนื้อเดียวกันกับพระที่บรรจุกรุและจะจัดส่งให้กับผู้ร่วมทำบุญต่อเมื่อผ่านพิธีพุทธาภิเษกและอธิฐานจิตเดี่ยวเสร็จเรียบร้อยแล้วและก่อนที่จะนำพระไปบรรจุยังวัดที่ได้รับการคัดเลือกจากเพื่อนสมาชิก)

ค่าใช้จ่ายในโครงการสร้างพระฯ มีดังนี้

๑. ค่าตะกั่ว
๒. ค่าบล็อคพระ
๓. ค่าปั๊มพระ (๘,๔๐๐ องค์+ พระที่ระลึก ๘๔๐ ชุดๆละ ๑ องค์ รวม ๙,๒๔๐ องค์)
๔. ค่ากล่องพระที่ระลึก ( ๘๔๐ กล่อง )
๕. ค่าปัจจัยในการถวายวัดเมื่อฝากเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกและถวายพระที่ท่านอธิฐานจิตเดี่ยว (ค่าน้ำมันรถในการเดินทางผมออกเอง )
๖. ค่าจัดส่งพระที่ระลึก กลับไปยังผู้ร่วมทำบุญ



หากมีผู้ร่วมบริจาคจนได้ปัจจัยเพียงพอในการจัดสร้างและมีพระที่ระลึกเหลือจะถวายให้กับวัดที่ได้รับการคัดเลือกไว้แจกญาติโยมต่อไป รวมถึงปัจจัยบาง ส่วนจะตั้งเป็นกองผ้าป่าถวายให้กับวัดนั้นๆพร้อมกับการถวายพระที่ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมานี้นะครับ

ชื่อบัญชี จ.ส.อ.ราเชนทร์ โต๊ะกลม

ธ.กรุงไทย สาขา เขาพระงาม

ประเภท ออมทรัพย์

135-0-21916-9


หรือร่วมบริจาคมวลสาร โดยจัดส่งมาที่
จ.ส.อ.ราเชนทร์ โต๊ะกลม
ผ.๒ คส.สพ.ทบ.
ต.เขาพระงาม อ.เมือง
จ.ลพบุรี ๑๕๑๖๐

โทร. ๐๘๖-๑๓๓-๗๓๔๑ (AIS) ๐๙.๐๐ ถึง ๒๒.๐๐ น.

 ลิงค์กระทู้โครงการครับ 

http://board.palungjit.com/f15/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B9%98%E0%B9%94-%E0%B9%90%E0%B9%90%E0%B9%90-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%91-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B9%98-%E0%B9%94%E0%B9%90%E0%B9%90-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-335851.html https://cdn.jsdelivr.net/gh/tatikers/san/dhamma.js">   




เปิดใจ...ทำไม....สร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุรวม ๘๔,๐๐๐ องค์

ทำไมต้องสร้างพระบรรจุกรุ

มีหลายๆท่านที่ได้เข้ามาอ่านกระทู้โครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุ รวม ๘๔,๐๐๐ องค์ นี้ แล้วและได้กรุณาโทร.เข้ามาสอบถามกับผมหลายท่าน ถึงรายละเอียดของโครงการฯ นี้ ซึ่งก็ได้อธิบายให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายที่ผมคิดโครงการฯนี้ ขึ้นมาว่า

เพราะตัวผมเองนั้นอาจจะมองต่างจากคนอื่นๆ หลายคนที่พูดกันว่าเหรียญมักมีสองด้านเสมอ แต่ผมกลับมองว่าเหรียญนั้นมีด้วยกันถึงสามด้านคือนอกจากที่เรียกกันทั่วไปว่าด้านหัวด้านก้อยแล้วเหรียญยังมีด้านข้างด้วย แล้วด้านข้างของเหรียญที่ผมเห็นคือแบบนี้ครับ

วัดในประเทศไทยนั้นว่ากันว่ามีถึงกว่า ๓๐,๐๐๐ วัด แล้ววัดที่มีพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนโดยทั่วไปหรือวัดที่มีพระภิกษุที่อาจเป็นเจ้าอาวาสหรือพระลูกวัดที่มีความรู้หรือเชี่ยว ชาญในด้านต่างๆกัน แต่มีความสามารถที่จะหาปัจจัยเข้ามาเพื่อใช้ในการทนุบำรุงหรือเพื่อบูรณะซ่อมแซมศาสนวัตถุของวัดได้ง่ายกว่าวัดอื่น (ต้องกราบขออภัยครับ..ถ้าพูดในแบบของธุรกิจคือวัดนั้นมีจุดขาย) นั้นทั่วประเทศไทยคงมีไม่กี่ร้อยวัด (หรือจะแค่ร้อยกว่าวัด..? )

แล้ววัดที่เหลืออื่นๆที่ต้องรอปัจจัยแค่ชาวบ้านรอบๆ วัดมาหยอดเงินใส่ตู้รับบริจาค บางทีแค่ค่าน้ำค่าไฟก็พอบ้างไม่พอบ้างหรือต้องรอผ้าป่าหรือกฐินจากลูกหลานจากคนในหมู่บ้านที่อาจได้ไปทำงานกรุงเทพหรือมีโอกาสวาสนาได้ทำงานมีตำแหน่งจัดกฐินมาทอดช่วงออกพรรษากัน ทางวัดก็เตรียมการต้อนรับให้สมฐานะ ได้เงินกฐินแสนกว่าบาท ,สองแสน เจอหักค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงต้อนรับเข้าไปทางวัดจะเหลือเท่าไร

หากวัดมีศาสนวัตถุเกิดชำรุดทรุดโทรมขึ้นมา ปัจจัยที่ต้องใช้ในการซ่อมแซม วัดจะจัดหาขึ้นมาจากไหนกัน หรือจะอาศัยเพียงเงินที่เหลือจากกฐินผ้าป่าในแต่ละปี เท่าที่รับรู้มาบางวัดเมื่อมีปัจจัยสักก้อนหนึ่งก็จะเรียกช่างมาทำการซ่อมแซมพอปัจจัยหมดก็ต้องสั่งช่างหยุดงาน บางครั้งพอวัดมีปัจจัยแต่ช่างไม่ว่าง(ช่างที่มีฝีมือในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมศาสนวัตถุ บางช่างจะถูกจองคิวต่อ เนื่องกันหลายวัด )เนื่องจากไปทำงานให้กับวัดที่มีปัจจัยมากพอที่จะจ้างช่างให้ทำงานนั้นๆจนแล้วเสร็จ

หากโครงการสร้างพระฯที่ผมคิดขึ้นมานี้มีผู้เห็นดีด้วยให้การสนับสนุนจนสำเร็จผลอย่างที่ตั้งความ หวังไว้ ก็จะมีวัดที่ได้รับการคัดเลือกจากกติกาที่กำหนดขึ้นมาร่วมกันนี้ จำนวน ๑๐ วัดครบทั้ง ๕ ภาค คือกลาง, เหนือ, ใต้, ออก,ตก ได้รับพระที่จัดสร้างไปบรรจุไว้ หากมีศาสนวัตถุของทางวัดชำรุดทรุดโทรมขึ้นมา เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ซึ่งอาจเป็น ๒๕ หรือ ๓๐ ปี ทางวัดก็สามารถนำออกมาจากกรุขึ้นมาจำหน่ายหาปัจจัยเพื่อใช้ในการซ่อมแซมต่อไปได้เลย ด้วยจำนวน ๘,๔๐๐ องค์ต่อวัดนี้แม้จะเป็นจำนวนไม่มาก หากคิดด้วยจำนวนตัวเลขของเงินในปัจจุบันคือองค์ละ ๑,๐๐๐ บาทคูณด้วย ๘,๔๐๐ องค์ วัดจะมีปัจจัยจำนวน ๘,๔๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งหากอยู่ในวันเวลาของอีก ๒๕ หรือ ๓๐ ปี ข้างหน้ามูลค่าของการเช่าบูชาอาจจะมากกว่านี้ก็อาจเป็นได้ ซึ่งไม่อาจรับรู้ได้แต่ก็เป็นผลดีกับทางวัดไปในกรณีนั้น

เรื่องการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุนี้เคยคิดไว้หลายปีแล้วครับ ลองชมภาพด้านล่าง เคยสะสมตะกั่วไว้หลายสิบก้อนแต่เนื่องจากก้อนนึงหนักตกประมาณสิบห้าถึงยิ่สิบกิโล ก็เลยเอาไปเก็บไว้ในโรงเก็บไม้หลังบ้านเก็บลืมจนปลวกขึ้นต่อมาถูกขโมยไปจนเหลืออยู่สองสามก้อนเท่านั้นเอง

ได้มีโอกาสนำเอาแผ่นก้อนตะกั่วที่ขนาดไม่หนานักไปขอความเมตตาจากพระอาจารย์อภิญญา คณุตโม วัดบางพระ ศิษย์เอกของหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม และสายวิชาของหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยาท่านกรุณาลงให้ทั้งสองด้านเลย ด้วยลายมือที่งดงามมากครับ ส่วนอีกแผ่นหนึ่งไปขอความเมตตาท่านพระครูประภาสธรรมทัต (พอจ.ป้อม ปภาสโย) วัดหนองม่วง ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี ท่านเมตตาลงวิชาพระลักษณ์หน้าทองให้ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งท่านลงยันต์ครูสายวิชาวัดโตนดหลวงให้ไว้ด้วย ส่วนวันเวลานี้จำไม่ได้แล้วครับน่าจะก่อนปี๔๘หรือปี๔๙ประมาณนั้นครับ

ทำไมต้องเนื้อตะกั่ว

มีบางท่านที่โทร.เข้ามาตั้งคำถามว่า ทำไมต้องเนื้อตะกั่ว ทำไมไม่ทำเป็นเนื้อผง ก็ได้ให้คำตอบไปว่าเป็นเรื่องของความแข็งแรงทนทาน สามารถอยู่ในกรุได้เป็นเวลาหลักร้อยปี ทนต่อสภาพการกัดกร่อนหรือร้อนชื้นได้ดีกว่าเนื้อโลหะอื่น หรือแม้หากว่าสภาพกรุที่เก็บรักษามีเหตุต้องเปลี่ยน แปลงไปจะด้วยเหตุใดๆก็ตาม สภาพขององค์พระก็จะไม่แตก หัก ง่ายเหมือนกับเนื้อผง เป็นการสืบทอดอายุพุทธศาสนาได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ นี้และตะกั่วนี้เป็นวัสดุที่ผู้รู้หลายท่านกล่าวไว้ว่า ตะกั่วเสกดี เต็มเร็ว และราคาก็ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบเนื้อโลหะอื่น

ทำไมต้องดีนอกดีใน

บางท่านตั้งคำถามว่าทำไมต้องดีนอกดีใน ในเมื่อพระบรรจุกรุที่เขาว่ากัน บ้างก็ว่าไม่ได้ทำพิธีแต่เมื่อถูกบรรจุไว้ในวัดผ่านการสวดมนต์ สวดปาติโมกข์ สวดธรรมจักรก็มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาได้แล้ว ก็ได้ตอบไปว่าจะมีการทำพิธีหรือไม่เราก็ไม่มีโอกาสได้เห็นแต่ถ้าพระกรุไม่ได้ผ่านการทำพิธีเลย ทำไมโบราณถึงพูดไว้ว่าสร้างพระต้องให้ดีทั้งในและนอก การเริ่มโครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุรวม ๘๔,๐๐๐ องค์นี้ ในชีวิตผมนี้คงมีโอกาสทำได้แค่ครั้งเดียว เมื่อตั้งใจทำแล้วก็อยากจะทำให้ได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยอมเสียเวลา ยอมเหนื่อยเอาตะกั่วไปหลอมเทเองออกมาเป็นแผ่นหนาประมาณ .๕ ถึง ๑ ซม. ที่วัดท่าช้าง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทองเมื่อ ๒๓ มี.ค. ๕๕ ที่ผ่านมา (ชมภาพหน้าแรก # 7 ) แล้วก็เอาแผ่นนี้ตะเวนไปขอความเมตตาจากพระคณาจารย์หลายๆท่าน ลงอักขระให้โดยมีน้องอีกสองท่านคือน้องยันต์ครูอยู่ที่เชียงใหม่ ช่วยเป็นธุระพระคณาจารย์ในสายภาคเหนือให้และน้องlavar181 อยู่ที่ชลบุรีแต่บ้านแฟนอยู่ที่อุทัยก็ช่วยด้านพระคณาจารย์สายชัยนาทอุทัยให้ และเมื่อได้แผ่นชนวนที่ผ่านการจารอักขระมาครบแล้ว ก็จะมาดูวันเวลาที่เหมาะสมในการหลอมชนวนที่ได้มารวมทั้งที่มีผู้บริจาคมวลสารเช่นตะกรุดหรือแผ่นจารจากพระเกจิที่เคารพนับถือส่งเข้ามาเข้าโครง การฯ ด้วย ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาสำหรับเรื่องของแผ่นชนวนมวลสารนี้อีกประมาณหนึ่งเดือนกว่าๆหรือไม่เกินสิ้นเดือนมิถุนายน ๕๕ นี้

เมื่อหลอมแผ่นชนวนรวมเข้าด้วยกันแล้วก็จะแบ่งออกเป็นสิบส่วน เพื่อใช้เป็นชนวนหัวเชื้อในการสร้างพระเพื่อบรรจุกรุทั้งสิบครั้งต่อไป เมื่อปั๊มขึ้นมาเป็นองค์พระก็ต้องผ่านพิธีพุทธาภิเษก ที่ตั้งใจว่าอย่างน้อยสัก ๑ ถึง ๓ พิธี ซึ่งก็ต้องดูว่าในห้วงระยะเวลานั้นมีพิธีพุทธาภิเษกที่วัดใดบ้าง และคงต้องขอความกรุณาจากพี่ๆน้องๆท่านที่มีความสนิมสนมกับวัดนั้นๆ ช่วยส่งข่าวให้ด้วยจะได้นำเอาพระที่สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุกรุนี้ขอเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วยนะครับ ส่วนเรื่องการเสกหรืออธิฐานจิตเดี่ยวไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ครับ

ยังมีคำถามที่ถูกถามอีกหลายคำถามครับเช่น - ทำไมต้องมีพระที่ระลึก - ทำไมต้องบรรจุหลายวัด - ทำไมต้องมีกติกา - แล้วจะมีกำหนดสร้างเมื่อไร , จะปิดรับบริจาคมวลสารเมื่อไร ขออนุญาตมาต่อวันพรุ่งนี้นะครับ

ทำไมต้องมีพระที่ระลึก

บางท่านตั้งคำถามว่าทำไมต้องมีพระที่ระลึก ทำไมไม่สร้างพระบรรจุกรุอย่างเดียวเลย คำตอบที่ผมตอบไปก็คือเพื่อเป็นพุทธานุสสติ เมื่อใดที่เราเห็นพระที่ระลึกจากการที่ได้ร่วมบุญสร้างพระนี้ ครูบาอาจารย์หลายท่านๆกล่าวไว้ว่าการสร้างพระนั้นเป็นบุญใหญ่ เห็นเมื่อไร จิตใจก็แช่มชื่นจากบุญที่เราเคยทำไว้ ซึ่งเรื่องพุทธานุสสตินี้เมื่อครั้งไปขอความเมตตาจากพระอาจารย์นพดล วรธัมโม สำนักสงฆ์มะอึกแรด อ.บ่อไร่ จ.ตราด (สายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี)ท่านลงแผ่นชนวนให้ ท่านได้อ่านรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของโครงการสร้างพระฯ นี้เมื่ออ่านจบท่านได้เมตตาเทศน์อานิสงค์ของพุทธานุสติเรื่องของกุณฑลีเทพบุตรให้ฟังด้วย ขออนุญาตคัดลอกบทความมาให้อ่านกันเลยนะครับ เดี๋ยวเล่าผิดๆถูกๆจะกลายเป็นบิดเบือนไปเสียอีก

เรื่องมัฏฐกุณฑลี

เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวัน กรุงสาวัตถี ทรงปรารภมัฏฐกุณฑลี ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 2 นี้ มัฏ ฐกุณฑลีเป็นชายหนุ่ม มีบิดาชื่อ อทินนปุพพกะ ซึ่งเป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ไม่เคยบริจาคทานให้แก่ผู้ใด แม้แต่เครื่องประดับสำหรับบุตรชายเขาก็ทำให้เอง (พอจ.นพดล ท่านแปลชื่อกุณฑลีให้ฟังว่าผู้ที่มีตุ้มหูเกลี้ยง,หรือไม่มีลวดลาย )เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย(ค่ากำเหน็จ)สำหรับช่างเงินช่างทอง เมื่อบุตรชายคนนี้ล้มเจ็บลง แทนที่ท่านเศรษฐีจะไปจ้างแพทย์มาทำการรักษา (พอจ.นพดล ท่านว่าก็อาศัยไปถามหมอเอาว่าโรคที่มีอาการแบบนี้ใช้สมุนไพรอะไรรักษา แล้วก็ออกไปเก็บสมุนไพรแบบนั้นมาใช้รักษาลูกชาย , ท่านว่าหมอที่ไหนจะบอกตัวยาจนครบทุกตัว จริงไหม ท่านหันมาถามผม )ก็ใช้ยากลางบ้านมารักษาตามมีตาม เกิด จนกระทั่งอาการของบุตรชายเข้าขั้นโคมา เมื่อรู้ว่าบุตรชายจะต้องตายแน่แล้ว เขาก็นำบุตรชายที่มีอาการร่อแร่ใกล้ตายนั้นออกไปนอนเสียนอกบ้าน เพื่อที่ว่าคนอื่นๆที่มาเยี่ยมลูกชายที่บ้านจะได้ไม่สามารถมองเห็น ทรัพย์ สมบัติของเขาได้

ในเช้าวันนั้น พระศาสดาทรงใช้ข่ายคือพระญาณของพระองค์ทำการตรวจจับดูอัธยาศัยของคนที่จะได้เสด็จไปโปรด ก็ได้พบมัฏฐกุณฑลีนี้มาปรากฏอยู่ในข่าย ดังนั้นเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีจึงได้ไปประทับยืนอยู่ ที่ใกล้ประตูบ้านของอทินนบุพกเศรษฐี พระศาสดาทรงฉายฉัพพรรณรังสีไปยังที่ที่มัฏฐกุณฑลีนอนหันหน้าเข้าหาตัวเรือน มัฏฐกุณฑลีได้หันกลับมามองดูพระศาสดา แต่ตอนนั้นอาการป่วยของเขาร่อแร่จนไม่สามารถทำสิ่งใดได้นอกจากน้อมใจทำการ เคารพพระศาสดา เมื่อมัฏฐกุณฑลีสิ้นชีวิตด้วยจิตใจที่เลื่อมใสศรัทธาต่อพระศาสดา ก็ได้ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เมื่อไปเกิดอยู่บนสวรรค์แล้ว มัฏฐกุณฑลีมองลงมาด้วยตาทิพย์เห็นบิดาเข้าไปรำพึงรำพันถึงเขาอยู่ในป่าช้า ก็ได้แปลงตัวมาเป็นชายมีรูปร่างเหมือนกับมัฏฐกุณฑลีไม่มีผิด ร่างแปลงนั้นได้บอกบิดาของเขาว่าเขาได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว และได้พูดกระตุ้นบิดาให้ไปทูลนิมนต์พระศาสดามารับภัตตาหารที่บ้าน และที่บ้านของอทินนปุพพกเศรษฐีก็มีการตั้งคำถามขึ้นมาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่บุคคลตายแล้วจะไปเกิดบนสวรรค์เพียงแค่ทำใจให้มีศรัทธาใน พระพุทธเจ้าเท่านั้น โดยไม่มีการถวายทาน และรักษาศีลแต่ประการใดทั้งสิ้น ดังนั้นพระศาสดาจึงทรงอธิษฐานจิตให้มัฏฐกุณฑลีมาปรากฏในร่างของเทวดา และมัฏฐกุณฑลีก็ได้มาปรากฏตัวในร่างของเทวดาพร้อมด้วยเครื่องประดับที่เป็น ทิพย์ และได้บอกว่าตนได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จริงๆ เมื่อมีหลักฐานพยานปรากฏเช่นนี้แล้ว คนที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นั้นก็เกิดความมั่นใจว่าบุตรชายของอทินนปุพพกเศรษฐีไปเกิดบนสวรรค์เพียง แค่ทำใจให้มีศรัทธาในพระศาสดาเท่านั้นเองได้จริงๆ

ต่อแต่นั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทที่ 2 นี้ว่า

มโนปุพพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ สุขมนฺวติ ฉายา ว อนุปายินีฯ

ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจนำ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์ จะพูดจะกระทำก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย เพราะการพูดและกระทำอันบริสุทธิ์นั้น ความสุขย่อมตามสนองเขา เหมือนเงาติดตามตน.

เมื่อ พระธรรมเทศนาจบลง สัตว์แปดหมื่นสี่พันได้บรรลุธรรม มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร บรรลุโสดาปัตติผล อทินนกปุพพกพราหมณ์ บรรลุโสดาปัตติผลเช่นกันและเขาได้บริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมากในพระพุทธศาสนา.

อีกข้อหนึ่งที่ตอบไปคือพระที่ระลึกนี้ แม้ว่าจะได้ชื่อว่าพระที่ระลึก แต่ก็เนื้อเดียวกัน มวลสารเดียว กัน ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและเสกหรืออธิฐานจิตเดี่ยวเฉกเช่นเดียวกับพระที่จัดสร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุกรุในแต่ละครั้งย่อยๆ สามารถขึ้นคอได้อย่างสนิทใจด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ มวลสารที่ดี มีการผ่านพิธีกรรมถูกต้อง

และอีกอย่างหนึ่งคือพระที่ระลึกนี้จะเป็นหลักฐานยืนยันถึงการมีอยู่จริงของพระที่ไปบรรจุกรุตามวัดต่างๆที่ได้รับการคัดเลือก อาจแตกต่างกันเพียงพระที่ระลึกมีการตอกโค้ตที่ด้านหลัง และพระที่ระลึกนี้เท่าที่ปรึกษากับหลายท่านได้ให้ความเห็นมาว่าควรมีการเปลี่ยนพิมพ์บ้าง ก็ได้คิดไว้ว่าอาจให้มีสักห้าพิมพ์ บรรจุพระรวม ๕ ภาค คือภาคกลาง ,ภาคเหนือ, ภาคใต้,ภาคตะวันออก,ภาคตะวันตก ภาคละ ๒ วัดๆ ละ ๘,๔๐๐ องค์รวม ๑๐ วัด รวมเป็น ๘๔,๐๐๐ องค์ เช่น

พิมพ์สมเด็จ เป็นพิมพ์ที่ ๑ บรรจุภาคกลาง ครั้งที่ ๑ , บรรจุภาคเหนือ ครั้งที่ ๖ พิมพ์..........เป็นพิมพ์ที่ ๒ บรรจุภาคเหนือ ครั้งที่ ๒ , บรรจุภาคใต้ ครั้งที่ ๗ พิมพ์..........เป็นพิมพ์ที่ ๓ บรรจุภาคใต้ ครั้งที่ ๓ , บรรจุภาคตะวันออก ครั้งที่ ๘ พิมพ์..........เป็นพิมพ์ที่ ๔ บรรจุภาคตะวันออก ครั้งที่ ๔ , บรรจุภาคตะวันตก ครั้งที่ ๙ พิมพ์..........เป็นพิมพ์ที่ ๕ บรรจุภาคตะวันตก ครั้งที่ ๕ , บรรจุภาคกลาง ครั้งที่ ๑๐

ทำไมต้องบรรจุหลายวัด

-พี่.../น้อง...ทำบุญสร้างพระบรรจุกรุกับผมไหม -บรรจุกรุวัดไหน -วัดไหนก็ได้ -...งง...? -อธิบาย.................................................... -ทำไมต้องหลายวัด ทำไมไม่วัดเดียวไปเลย นี่เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยเมื่อไปชวนคนรู้จักมาร่วมบุญด้วยกัน ก็ต้องเล่ายืดยาวไปถึงมุมมองที่ผมมองต่างจากคนอื่นว่าเพราะอะไร อย่างน้อยๆ ถ้าโครงการสร้างพระฯ นี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างที่ตั้งใจไว้ก็จะมีวัดทั้ง ๕ ภาคของประเทศไทยรวม ๑๐ วัดที่ได้รับพระที่พวกเราพี่ๆน้องๆร่วมกันจัด สร้างขึ้นมานี้ไปบรรจุกรุไว้เพื่อให้วัดนั้นๆ ได้ใช้เป็นทุนในการบูรณะซ่อมแซมศาสนวัตถุ ให้ใช้ในงานศาสนพิธีได้ เป็นการสืบทอดอายุพุทธศาสนาต่อไป อีกอย่างหนึ่งก็คือที่มีโครงการสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุฯ กระจายไปครบทั้ง ๕ ภาครวม ๑๐ วัดนี้ ก็หวังว่าอาจจะกระตุ้นความคิดของใครได้บ้างว่าในประเทศไทยนี้ยังมีวัดอีกหลายวัด ที่เมื่อมีศาสนวัตถุภายในวัดชำรุดทรุดโทรมขึ้นมาแล้ว การหาทุนทรัพย์มาบูรณะนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะแล้วเสร็จ

ทำไมต้องมีกติกา

ทำไมต้องมีกติกา ในเมื่อบอกว่าชวนทำบุญสร้างพระบรรจุกรุ บอกว่าบรรจุวัดไหนก็ได้ หากไม่มีกติกา คนหนึ่งบอกฉันทำบุญห้าพันฉันขอไปบรรจุกรุวัด แถวบ้านฉันได้มั้ย อีกคนบอกฉันทำบุญหมื่นนึงฉันขอไปบรรจุกรุวัด แถวบ้านฉันมั่งซิ

การกำหนดกติการ่วมกันขึ้นมานี้ก็เพื่อใช้เป็นข้อพิจารณาว่าหากวัดใดผ่านหลักเกณฑ์ตรงนี้บ้าง ก็เสนอชื่อกันเข้ามา จากนั้นพี่ๆน้องๆที่ร่วมบุญกันในครั้งนี้ทั้งบริจาคเงิน, บริจาคเงินร่วมทำบุญสร้างทั้ง ๘๔๐ ชุด , บริจาคมวลสาร เรามาลงมติกันว่าวัดใดได้รับเสียงคัดเลือกมากที่สุด ก็ได้รับพระที่จัดสร้าง ขึ้นมานี้ไปบรรจุไว้ในวัดนั้นๆต่อไป

ข้อพิจารณาสำหรับวัด ที่จะได้รับพระที่จัดสร้างขึ้นมานี้ไปบรรจุไว้

๑. อยู่ในภาคกลาง(เนื่องจากเป็นการสร้างครั้งแรกขอเริ่มที่ภาคกลางก่อนเพื่อสะดวกในการประสานงาน)

ภาคกลาง มี 22 จังหวัด ดังนี้ กำแพงเพชร, กรุงเทพฯ ,ชัยนาท, นครสวรรค์, นครนายก, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, พิจิตร, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก , พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, สมุทรปราการ, สิงห์บุรี, สุโขทัย, สระบุรี, อ่างทอง, อุทัยธานี

หัวข้อต่อไปนี้เป็นแนวทางที่ใช้ในการพิจารณา อาจปรับรายละเอียดได้อีกหรือพี่ๆน้องๆเห็นควรว่าจะเพิ่มรายละเอียดในลักษณะใดก็เสนอกันเข้ามาได้นะครับ

- เป็นวัดที่มีศาสนสถานครบแล้ว - เป็นวัดที่ขณะนี้ไม่มีเจ้าอาวาสหรือพระลูกวัดที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆโดดเด่นจนสามารถหาปัจจัยได้โดยง่ายกว่าวัดอื่นๆ - เจ้าอาวาสเป็นผู้มีจริยานุวัตรงดงาม ชาวบ้านรอบๆวัดให้ความเคารพนับถือ และให้ความร่วมมือกับทางวัดเป็นอย่างดีเมื่อมีการประกอบพิธีทางศาสนาเช่น วันพระ วันมาฆะบูชา วันวิสาขะบูชา เข้าพรรษา ออกพรรษา ฯลฯ - ยอมรับระยะเวลา ๓๐ ปีในการทำหน้าที่เก็บรักษาของทางวัด หลังจากนั้นทางวัดมีสิทธิ์ที่จะเปิดกรุเพื่อนำพระที่บรรจุไว้ขึ้นมาให้ญาติโยมบูชาเพื่อหาปัจจัย หากมีศาสนสถานในวัดเกิดชำรุดทรุดโทรมขึ้นมา (เนื่องจากระยะเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ศาสนสถานเริ่มมีการชำรุดแล้ว ) - แต่หากครบระยะเวลา ๓๐ ปีแล้ว มีศาสนสถานในวัดนั้นชำรุดทรุดโทรมขึ้นมา ทางวัดมีสิทธิ์ที่จะพิจารณาเองว่าจะหาปัจจัยมาบูรณะซ่อมแซมเอง หรือจะเปิดกรุขึ้นมาให้บูชาหาปัจจัยมาบูรณะซ่อมแซมก็ได้

แล้วจะมีกำหนดสร้างเมื่อไร , จะปิดรับบริจาคมวลสารเมื่อไร

กำหนดสร้างเท่าที่ได้คุยกันแล้วนั้นจะเป็นหลังจากหลอมมวลสารแล้ว สำหรับวันที่หลอมมวลสารนั้นในเบื้องต้นกะไว้ประมาณช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งก็คงต้องดูวันเวลาฤกษ์ยามที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง ส่วนวันที่ปิดรับบริจาคมวลสารนั้น คงต้องก่อนสิ้นเดือนมิถุนายนประมาณสักหนึ่งสัปดาห์สำหรับวันเวลาที่แน่นอนนั้นจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่งครับ ถ้าพี่ๆน้องๆท่านใดจะร่วมบริจาคมวลสารสำหรับสร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุก็ทยอยส่งเข้ามาได้นะครับ ขอโมทนาบุญล่วงหน้าก่อนเลย ช่วงนี้ผมยุ่งๆอยู่กับงานทั้งงานส่วนตัวและงานหลวงที่จะต้องรับตรวจทางบัญชีในสัปดาห์หน้านี้ ก็ต้องเตรียมรับตรวจกันมาทั้งสัปดาห์ พอหลังจากที่รับตรวจเสร็จแล้ว ก็จะพอมีเวลาไปติดต่อเรื่องแบบและบล็อกพระ แล้วก็ตะเวนเรื่องแผ่นชนวนจากพระคณาจารย์สายอยุธยา อ่างทองและใกล้ เคียงได้ เพราะว่ายังมีแผ่นที่หลอมจากวัดท่าช้างวันนั้น ที่ยังไม่ได้จารอยู่กับผมอีกสิบกว่าแผ่น แล้วก็จะได้ถ่ายภาพพระเครื่องที่สะสมไว้บางส่วนว่าจะนำมาออกให้พี่ๆน้องๆที่สนใจบูชากันละครับ รวมถึงวัตถุมงคลที่มีผู้บริจาคมาให้บูชา รายได้เข้าโครงการสร้างพระฯนี้ทั้งหมด

ลิงค์กระทู้โครงการสร้างพระครับ

http://board.palungjit.com/f15/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B9%98%E0%B9%94-%E0%B9%90%E0%B9%90%E0%B9%90-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%91-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B9%98-%E0%B9%94%E0%B9%90%E0%B9%90-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-335851.html

หรือ

- www.palungjit.com
- ห้องพระเครื่องวัตถุมงคล - ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล - ......สร้างพระเนื้อตะกั่วเพื่อบรรจุกรุรวม ๘๔,๐๐๐ องค์....... - โดย user name ผาแดง


• "จิตหว้าเหว่เรร่อน เพราะขาดสติ" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

• พุทธมนต์ ๑๒ ตำนาน (พระปริตรฉบับสมบูรณ์ที่สุด) - อานิสงส์มากมี เทวดาเมตตา ชนะทุกอุปสรรค ทำอะไรก็เจริญ

• พุทธกิจ ๔๕ พรรษา

• วัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน)

• ๔๐.ปางโปรดพุทธมารดา

• วัดวังผาแดง ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย