สิ่งที่ก่อให้เกิดเป็นคุณและโทษ - หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีดว
ในพระธรรมเทศนา ในส่วนของอรรถกถาฏีกา ที่ท่านกล่าวขยายไว้
อย่างกว้างขวาง เพื่อชี้ให้เห็นถึง สิ่งที่ก่อนให้เกิดเป็นคุณและเป็นโทษ
ทั้งนี้เพราะ คำว่าเงินและทอง ท่านก็ให้คำจำกัดความอยู่ในความหมายที่ว่า
ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ปัจจัย 4 ไอ้ตอนท้ายที่เขาว่า ยินดี
ไม่ให้ยินดีในเงินและทอง แต่ว่าให้พอใจกับ ปัจจัย 4 ที่่ควรมีควรได้
ในความหมายอันหนึ่งก็หมายความว่า ไม่ให้ยึดติดครอบครอง
เงินและทองอันนั้น แต่จะให้เงินทองอันนั้น ไปแลกเปลี่ยนวัตถุอื่นที่เป็นปัจจัย 4
ปัจจัย 4 ก็มีเครื่องนุ่งห่ม อาหาร การบริโภค หรือเครื่องอุปโภค บริโภค
อันสมควรแก่สมณะ เสนาสนะ ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ หรือว่า
คิลานปัจจัย หรือ คิลานบริขาร ซึ่งภาคขยายออกไปจากคำว่าเงินและทองนี้
กว้างขวางที่เดียว ดังนั้นวัตถุอื่น ๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน
เสนาสนะ คิลานปัจจัย ซึ่งเรียกว่าปัจจัย 4 บางทีก็มากล่าวรวมกัน พูดรวมกัน
หรือเรียกรวมกันว่า ปัจจัย ดังนั้น เงินและทอง
จึงไม่ให้เรียกว่าเงิน ไม่ให้เรียกว่าทอง แต่ท่านให้เรียกว่าปัจจัย
ก็ให้มองไปอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ก็เป็นคำพูดที่เราเอามาใช้
กับสมณะ ถือว่าเป็น กัปปิยะโวหาร กัปปิยะโวหาร แปละว่า คำพูดที่ควร
ไม่ควรเรียกว่าเงิน ไม่ควรเรียกว่าทอง
ไม่ควรเรียกว่ารูปิยะ ไม่ควรเรียกว่าธนบัตร
ควรเรียกว่าพับ ไม่ควรเรียกชื่อว่า บาท
อย่างที่ให้กล่าวกันว่า ขอปาวรณาปัจจัยอันสมควรแก่สมณะบริโภค
100 พับ คำว่า 100 พับก็เอามาตีความหมายว่า 100 บาท
แต่ไม่พูดว่า 100 บาท พูดว่า 100 พับ อันนี้คือให้ยินดีในปัจจัย
ไม่ให้ยินดีในเงินในทอง ซึ่งข้อปฏิบัติไปถึงขั้นยินดีนิ
ถ้าพิจารณา อีกนัยยะหนึ่งก็หมายถึงว่า เบื้องต้นนิ
เบื้องต้นไม่ให้จับ อันนี้อันดับ 1 นะ
อันดับ 1 นี้ไม่ให้จับ อันที่ 2 ไม่ให้ใช้ผู้อื่น จับ
เบื้องต้นไม่ให้ถือเอง แล้วไม่ให้ใช้คนอื่นถือ
พออันที่ 3 นี้ไม่ให้ยินดี ที่นี้ภาคปฏิบัติ 3 ระดับนี้
พิจารณาตามแนวของการปฏิบัติ
ถึงขึ้นว่าไม่ให้ยินดีนั้นเป็นข้อที่ปฏิบัติที่สมณะชีพรหามณ์
ที่ภิกษุสามเณรในพระธรรมวินัยนี้ พึ่งปฏิบัติให้ไปถึง
พอว่าพึ่งปฏิบัติให้ไปถึง
หมายถึงการเจริญสมณะธรรม ให้ได้ถึงขั้นว่าไม่ยินดี
ไม่ยินดีในเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน
ถ้าระดับนี้ก็เป็นระดับ ลด ละ ปล่อยว่าง
ใครจะเก็บไว้ใครจะรักษาไว้ หรือว่าเพื่อตนอย่างไร
ก็แล้วแต่แหละ ก็ไม่ยินดี แต่ว่าเมื่อจะประสงค์ทำสิ่งโน้นสิ่งนี้
ก็ปรารภไป จะเท่าไหร่อย่างไง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่รับทราบว่าเท่าไหร่อย่างไร
ฉะนั้นข้อปฏิบัติตรงนี้เป็น 3 ระดับ ระดับหนึ่ง ถ้าพูดว่าระดับหนึ่งคือ จับเอง
ระดับที่ 2 ก็คือใช้ให้คนอื่นจับ ระดับที่ 3 ยินดี
นิระดับที่ 1 นี้ จับเองนี้ หยาบ
ระดับที่ 2 นี้ ใช้ให้คนอื่นจับ ก็ลดลงมาอีก ลดระดับหยาบลงไปอีก
ระดับที่ 3 ยินดี อันนี้ก็ละเอียด คือลดระดับลงไปอีก
หรือจะพูดว่า ระดับที่หนึ่งต่ำ
ระดับที่สองปานกลาง
ระดับที่สามสูงสุด หรือ เลอเลิศ
อันนี้ฝ่ายชั่ว
ถ้าฝ่ายดีก็ระดับที่ 1 ไม่จับ ระดับที่ 2 ไม่ใช้ให้คนอื่นจับ
ระดับที่ 3 ไม่ยินดี นิระดับ ความดีแต่ละระดับ แต่ละระดับ
และ หยาบละเอียดลงไป
ฉะนั้นคำว่า ยินดีนั้น บางท่าน ท่านก็อธิบายไว้ว่า
เป็นภาคปฏิบัติที่ให้สมณะ ในพระธรรมวินัยนี้
พึ่งปฏิบัติถึงระดับนั้น
คำว่าถึงระดับนั้น คือ ระดับไม่ยินดี
ระดับละความยินดี
ทีนี้ระดับละความยินดี ก็เป็นระดับพระอเสขะ
เสขะ อเสขะ หรือระดับพระอริยเจ้า ขั้นสูงสุด
ระดับที่ไม่ยินดี งั้นเอาแนวทางอันนี้มาเป็นข้อปฏิบัติ
ก็ฟังแล้วก็ดูดีเหมือนกัน
ดังนั้นข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ กัปปิยะ ท่านให้ใช้คำว่า กัปปิยะภัณฑ์
กัปปิยะปัจจัย ปัจจัยที่สมควร จึงเป็นเรื่องที่ บัญญัติ
ของการปฏิบัติออกมาให้เป็นรูปแบบชัดเจน
ก็คือไม่จับ ไม่จับ ไม่ใช้ให้คนอื่นจับ และไม่เรียกว่าเงิน ไม่เรียกว่าทอง
ให้เรียกว่าปัจจัย ก็คือข้อ ข้อจะเรียกว่าข้อหลีกเลี่ยงก็ได้
เพื่อให้เกิดผลกระทบ ต่อความเอื้อเฟื้อที่มีอยุ่ในพระธรรมวินัย
ถ้าทำใจได้ถึงขั้นไม่ยินดี จะเป็นที่อนุูโมทนา เป็นที่อนุโมทนา
อย่างยิ่ง กับการถือปฏิบัติโดยละเอียด ในพระธรรมวินัย
อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่นี้ผู้ที่ดูแลรักษา ก็ต้องดูแลรักษา ถึงแม้ว่า
ผู้ที่เป็นผู้ที่เขาถวายนั้นจะไม่ยินดี
แต่ผู้ดูแลรักษาก็ต้องดูแลรักษา ตามคติของโลกว่า ท่านก็มีสิทธิ์
มีสิทธิ์ในสิ่งนั้น ถึงแม้ท่านจะไม่ยินดีท่านก็มีสิทธิ์ในสิ่งนั้น
อันนี้ตามคดีโลก
ถ้าจะไปบิดบัง เบียดเบียน หรือ ลักหรือยักยอกก็ถือว่าผิด
ดังนั้นเป็นเรื่องที่ยอกย้อนที่ละเอียดเชียวนะ
ฉะนั้นเป็นภาคปฏิบัติโดยข้อสุดท้ายที่ท่านกล่าวว่า ไม่ให้จับไม่ให้ใช้คนอื่นจับ
ไม่ให้ยินดี จึงเป็นข้อปฏิบัติที่เราท่านทั้งหลาย เพิ่งไตร่ตรองใคร่ครวญถึงความเหมาะสม
ฉะนั้นในคณะของเรานี้ก็ถือว่า เป็นผู้เอาใจใส่ในด้านนี้
จัดให้มีผู้ดูแล จัดให้มีไวยาวัจกร
จัดให้มีผู้ขวนขวาย ในสิ่งที่ภิกษุ พึ่งประสงค์ หรือต้องการ
จึงใช้คำว่า ไวยาวัจกร คือผู้ขวนขวายดูแล ดูแลทรัพย์สมบัติของศาสนา
ทรัพย์สมบัติของวัด ทรัพย์สมบัติของภิกษุ
ถึงมีข้อปฏิบัติอยู่ว่า ภิกษุที่เขาบุกคะลิมา
ก็ต้องมีผู้ดูแลให้ นิที่เป็นของสงฆ์ภิกษุก็ต้องดูแลร่วมกัน
ที่เป็นของส่วนตัวก็มีบุคคลช่วยดูแล
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับการใช้สอยสิ่งเหล่านี้
เพราะถือว่าเป็นโทษอันตรายกับการเจริญสมณะธรรม
ความยินดีตรงนี้แหละที่มันเป็นปัญหาใหญ่
กับการประพฤติปฏิบัติ เราอาจจะบอกว่า เราไม่มี
หรือว่าจะพูดว่าเรามี มีด้วยความยินดีอยู่ตรงนั้นมีอยู่ตรงนี้
ก็เกิดความหึกเหิม ทางด้านจิตใจขึ้นมา
เหมือนที่กล่าวว่า สละแล้วละแล้ว มาบรรพชาอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้ แต่ว่ายังมีสิทธิในสมบัติตรงนั้นตรงนี้อยู่
หรือในสิทธิในมรดก สิทธิครอบครอง ตรงนั้นตรงนี้อยู่
ลักษณะ อย่างนี้
ก็ถือว่ายังพอใจยังยินดี ที่ก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
ถือตัวหรือตัวอีโก้ ตัวความสำคัญมั่นหมาย
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยวต่อการ
เจริญสมณะธรรม
เพราะบางครั้งบางคราวก็รู้ว่าตัวเองมีก็กลายเป็นตัว ยึดมั่น
ตัวอีโก้นั้นแหละ เพื่อข่มคนนั้นข่มคนนี้ อ้างคุณสมบัติเช่นนั้นเช่นนี้
อย่างนี้ก็มีก็เคยได้เห็นเหมือนกัน
จึงถือว่าเป็นโทษทั้งนั้นเลย กับการเจริญสมณะธรรม
จึงเป็นเรื่องสำคัญให้ระมัดระวัง
คณะธรรมยุต ของเราก็ถือว่ามุ่งมั่นตั้งใจ
รักษาสิ่งเหล่านี้ได้ดีงาม ฆารวาสญาติโยมเขาก็เข้าใจแหละ
บางคนบางท่านเขาก็ไม่เข้าใจเหมือนไปบิณฑบาตอย่างนี้
ดูไม่ทันบางทีก็ต้องสละ ต้องสละออกไป เพื่อให้เป็นประโยชน์กับส่วนรวม
เป็นแนวทางการปฏิบัติที่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย
ไม่ใช้ว่าใส่ปั๊บ คว้าหมับคว้าหมับ อันนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความอยากทางด้านจิตใจ
ความอยาบ อยากทั้งยินดี ทั้งทำเอง ถือว่ามันเป็นการหยาบที่สุด
ถ้าเพียงแต่ยินดีอยู่ภายในไม่แสดงออก ทางกาย ทางวาจา ก็ถือว่า หน้าเลื่อมใสระดับหนึ่ง
ถ้าแสดงออกทางวาจา แต่ไม่แสดงออกทางกาย ก็เลื่อมใสอีกระดับหนึ่ง
ถ้าแสดงออกทางกายเลยอย่างงี้ น่าเกลียดมาก ไม่เหมาะไม่ควรกับคำว่าสมณะ
ในพระธรรมวินัยนี้ ก็พึ่งระมัดระวัง
ยังไม่ได้ขอนิสัย พระใหม่
ยังไม่ได้ขอนิสัย ห๊ะ...?
มีพระใหม่แนะนำกันมาหรือยัง อ้าวขอนิสัยนะ
เออ...ว่าเล่น ๆ ไปเรื่อย ๆ แมะ คำขอนิสัย
ว่าเล่น ๆ ว่าบ่อย ๆ มันเป็น คำสวดเล็ก ๆ น้อย ๆ
เกล็ดความรู้ ที่เราต้องใช้ จะทำให้เราเกิดความผูกพัน
คือรู้ความหมายคือรู้ความหมาย
ของการสวดรู้ความหมายของคำบาลี
ดูคำแปล ว่าท่านแปลว่าอะไรที่เราทำนิ
ท่านให้ความหมายว่าอย่างไร ถึงให้ทำ
ไม่ใช่ว่าทำสักแต่ว่าพอเป็นพิธีเท่านั้นนะ
เราต้องรู้ความหมายด้วย ฉะนั้นในหนังสืออุปสมบทวิธี
ที่ท่านอธิบายขยายความ หรือท่านแปลไว้ เอาไปศึกษาไตร่ตรอง
ใคร่ครวญ ว่ามันมีความหมายอย่างไร
วิธีปฏิบัติอย่างไร เราบวชเข้ามาในพระธรรมวินัย
ก็ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้นแหละ
ที่พระพุทธเจ้า ทรงพระเมตตาบัญญัติไว้
ให้ถือเป็นข้อปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกัน
ด้วยความสงบสุขดีงาม
พยายามอย่าไปละทิ้งอ่านบ่อย ดูบ่อย ๆ
ไตร่ตรอง ใคร่ครวญบ่อย ๆ จะทำให้เราได้ข้อคิดที่ดี ๆ ขึ้นมา
เหมือนบทสวดต่าง ๆ ที่เราสาธยายอยู่ทุกวัน ๆ
เราท่องได้จริง แต่เราก็ยังไม่รู้ความหมายอย่างนี้
พอรู้ความหมายแล้วเรจะเห็นถึงจุดประสงค์ของ แต่ละคำ ที่เราสวด
จุดประสงค์ของแต่ละคำที่ท่าน นำมาเรียบเรียงกันไว้
ให้เราได้สวดนิว่า มีจุดประสงค์อย่างไร
ถ้าเรารู้ความหมายเวลาเราสวดก็จะทำให้เราเกิดความศรัทธาเกิดความเลื่อมใส
มั่นใจ ในบทสวดนั้น ๆ รู้ความหมายแล้วก็จปลื้มใจแหละ เราสวดตรงนี้
ความหมายว่าอย่างนี้ เราก็จะเกิดความศรัทธาเกิดความเลื่อมใสขึ้นมา
เพราะเป็นข้อปฏิบัติทางด้านจิตใจ ให้เกิดความดีงาม
ไม่ใช่สักแต่ว่าสวดเฉย ๆ แต่ไม่รู้ความหมาย
ประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้นกับจิตใจก็ไม่มี
ฉะนั้นที่เราสวดได้พยายามไปดูคำแปล หนังสือมนต์พิธี บทแปลท่านมี
ถ้าเรารู้ความหมายในคำแปลแล้วจะทำให้เรา ทราบซึ้งนิว่าโอ....
พระพุทธเจ้านิ พระองค์สอนอย่างนี้ พ่อแม่ครูบาอาจารย์นิท่านสอนอย่างนี้
ท่านให้ปฏิบัติอย่างนี้เพื่ออะไร จะทำให้เกิดความหนักแน่นมั่นใจในการประพฤติปฏิบัติตาม
คำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ก็พยายามอ่านพยายามศึกษาค้นคว้า
เวลาเรามีไม่มาก ก็พยายามอ่านให้มันทวนทั่ว หนังสือนวโกวาท วินัยมุข เล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3
หนังสือพุทธประวัติ ปฐมสมโภช หนังสือควรอ่านพวกเนี้ย ควรอ่านทุกเล่มนั้นแหละ
อ่านให้จบทุกเล่มนั้นแหละ
พุทธประวัติเป็นอย่างไง ปฐมสมโภชท่านกล่าวไว้อย่างไร วินัยมุขเล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3
ธรรมวิภาค ปริจเฉท ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 นิพื้นฐานเบื้องต้น ที่ท่านถอดใจความออกมาจาก
พระไตรปิฎก เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ศึกษา ถ้าต้องการความวิจิตรพิศดารก็เข้าไปศึกษา
ในพระไตรปิฎก จะทำให้เรารู้ในที่มาที่ไปเหมือนอย่างที่เรา ฟังพระวินัย แต่ละข้อ แต่ละข้อนิ
ที่มาที่ไปอย่างไรเพื่ออะไร ท่านถึงบัญญัติไว้ ถึงให้ทำเช่นนั้นเช่นนี้
ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
พฤหัสบดีที่ 16 ธ.ค. 64