ค้นหาในเว็บไซต์ :

รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี

 DhammathaiTeam  

หมวดที่ ๗ - พุทธอิทธานุภาพ

"รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี"

ในสมัยพุทธกาล เมืองไพศาลี หรือเวสาลี นครหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม (คล้ายกับลักษณะสาธารณรัฐในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนอยู่หนาแน่นมีกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งเรียกว่า "ตรีบูร" แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๔ กิโลเมตร มีปราสาทอุทยาน สระโบกขรณีเป็นจำนวนมาก ทางตอนเหนือของเมืองไพศาลีมีป่าใหญ่เป็นพืดขึ้นไปทางเหนือจนจดทิวเขาหิมาลัย เรียกว่าป่ามหาวันมีผู้สร้างกุฏาคารศาลา (เรือนยอด) ถวายไว้เป็นที่ประทับพระพุทธเจ้า

ต่อมาเมืองไพศาลีเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห่งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่และมีโรคระบาดพวกคนยากคนจนอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกนำไปทิ้งไว้นอกเมืองก็ส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทพวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมืองคนยิ่งล้มตายกันมากขึ้น เกิดอหิวาตกโรคตามมา

เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่าง ๆ ดังกล่าว

เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใดจึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิศาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมื่องราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชา ของหอมและทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาง และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกันให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพรองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบลรมศาสดาจะเสด็จกลับ

ทางเมืองไพศาลี ซึ่งตั้งอยู่ห่างฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปราบทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยนำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึกถึงพระศอเช่นกัน

ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิดก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

บรรดากษัตริย์สิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คันกั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์ กรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน

ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคาร กลางพระนคร ด้วยของหอมและผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้งพระอานนท์ทำพระปริตอารักขาทั่วพระนครแล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้ง หนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา


ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

8,592






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย