ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

หมวด กหาปณะ - กัณฑกสามเณร


กหาปณะ - กัณฑกสามเณร

กหาปณะ ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท

กะเทย คนหรือสัตว์ที่ไม่ปรากฏว่าเป็นชายหรือหญิง

กังขาเรวตะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งเดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่
พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ
ในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ

กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิด
นามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

กังสดาล ระฆังวงเดือน

กัจจานโคตร, กัจจายนโคตร ตระกูลพราหมณ์กัจจานะ หรือกัจจายนะ

กัจจายนปุโรหิต ปุโรหิตชื่อกัจจายนะเป็นปุโรหิตของพระเจ้าจันฑปัชโชต กรุงอุชเชนี ได้ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท มีชื่อในพระศาสนาว่าพระมหากัจจายนะ พระพุทธเจ้าทรง
ยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร

กัจฉะ, กัจฉะประเทศ รักแร้

กัญจนา เจ้าหญิงแห่งเทวทหนครเป็น พระมเหสีของพระเจ้าสีหหนุ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เป็นพระชนนีของพระ
เจ้าสุทโธทนะ เป็นพระอัยยิกาของเจ้าชายสิทธัตถะ

กัณฐกะ ชื่อม้าสีขาวที่พระมหาบุรุษทรงในวันออกผนวช

กัณฐชะ อักษรเกิดในคอ คือ อ อา ก ข ค ฆ ง

กัณฑ์ หมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง

กัณฑกสามเณร ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขา
บทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย