กิจในอริยสัจจ์ - กิเลสมาร
กิจในอริยสัจจ์ ข้อที่ต้องทำในอริยสัจจ์
๔ แต่ละอย่าง คือ ปริญญา การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ปหานะ
การละ เป็นกิจ
ในสมุทัย สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง หรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ ภาวนา
การเจริญคือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค
กิจเบื้องต้น ในการอุปสมบทหมายถึงให้บรรพชา
ถือนิสัย ถืออุปัชฌายะ จนถึงถามอันตรายิกธรรมในที่ประชุมสงฆ์
(คำเดิมเป็น บุพกิจ)
กิตติศัพท์ เสียงสรรเสริญ,
เสียงเล่าลือความดี
กินร่วม ในประโยคว่า
“ภิกษุใดรู้อยู่กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี” คบหากันในทางให้หรือรับอามิส
และคบหากันในทางสอนธรรมเรียนธรรม
กิมพิละ เจ้าศากยะองค์หนึ่ง
ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้สำเร็จอรหัต และเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน
๘๐
กิริยา การกระทำ
กิริยากิตตกะ (กิริยากิตก์)
เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง
ใช้เป็นกิริยา
ในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น “ปรินิพฺพุโต” (ดับรอบแล้ว)
“ปพฺพชิตฺวา” (บวชแล้ว) เป็นต้น
กิริยาอาขยาต เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี
ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระทำของ
ประธาน เช่น “คจฺฉติ” (ย่อมไป) “ปรินิพฺพายิ” (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น
กิลาโส โรคกลาก
กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง,
ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์
กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่,
กิเลสที่ทำให้อยาก, เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ราคะ
โลภะ
อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น
กิเลสธุลี ธุลีคือกิเลส,
ฝุ่นละอองคือกิเลส
กิเลสมาร มารคือกิเลส,
กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว
ล้าง
ผลาญคุณความดี ทำให้ บุคคลประสบหายนะและความพินาศ