ฮีต ๑๒ คอง ๑๔
ฮีต ๑๒
"ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมซึ่งชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ มีแนวปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดําเนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่นว่า "งานบุญ"
ชาวอีสานให้ความสําคัญกับประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานอย่างแท้จริง
คําว่า "ฮีตสิบสอง" มาจากคําว่า "ฮีต" อันหมายถึงจารีต การปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี "สิบสอง" คือประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน"
เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ - บุญคูนลาน
เดือนสาม - บุญข้าวจี่
เดือนสี่ - บุญผะเหวด
เดือนห้า - บุญฮดสรง
เดือนหก - บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
คอง ๑๔
คองสิบสี เป็นบทบัญญัติทางสังคมของชาวอีสานให้เป็นหลักปฏิบัติต่อกันสําหรับคนในสถานภาพต่าง ๆ มาแต่โบราณโดยใช้เป็นคําบอกเล่าขาน สืบต่อกันครั้ง ยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร "คองสิบสี่" มักเป็นคํา กล่าวควบคู่กับคําว่า ฮีตสิบสอง สันนิษฐานไว้ 2 ความหมาย ว่ามาจากคําว่า คลอง หรือครรลองเป็นคํานามหมายถึง ทางหรือแนวทางเช่น คลองธรรมหรือมาจากครองซึ่งเป็นคํากิริยามีความหมาย ถึงการรักษาไว้ เช่น คําว่า ครองเมือง ครองรักครองชีพโดยที่ชาวอีสานไม่นิยมออก เสียงคํากล้า ดังนั้น คองสิบสี่น่าจะมีความหมายถึง แนวทางที่ประชาชนทําไปชาวบ้านหรือสงฆ์พึงปฏิบัติ 14 ของท้องถิ่นบ้านเมือง
ความหมาย คอง 14 - โดยนัยที่ 1
ความหมาย คอง 14 - โดยนัยที่ 2
ความหมาย คอง 14 - โดยนัยที่ 3
ความหมาย คอง 14 - โดยนัยที่ 4