ประเพณีสงกรานต์

ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี

“สงกรานต์” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการเคลื่อนที่ย้ายที่ หมายถึง เวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อน จากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุก ๆ เดือน เรียกว่า สงกรานต์เดือน ยกเว้นเมื่อย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นสงกรานต์ปี จะ เรียกชื่อพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่โดยวิธีนับทางสุริยคติ (วิธีนับวันและเดือนโดยถือกำหนดตำแหน่งดวง อาทิตย์เป็นหลัก)

ดังนั้นการกำหนดนับวันสงกรานต์จึงตกอยู่ในระหว่างวันที่ 13.14 และ 15 เมษายน ซึ่งทั้ง 3 วันจะมีชื่อ เรียกเฉพาะ ดังนี้ คือ
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า มหาสงกรานต์ หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ผ่านการ เข้าสู่ราศีอื่นๆ แล้ว ครบ 12 เดือน
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา หมายถึง การที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าอยู่ราศีเมษประจำที่เรียบร้อยแล้ว
วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก หรือวันขึ้นศกคือวันที่เริ่มเปลี่ยนจุลศักราชใหม่การที่ กำหนดให้ อยู่ในวันนี้นั้น เพื่อให้แน่ใจได้ว่าดวงอาทิตย์ โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษแน่นอนแล้วอย่างน้อย 1 องศา


ความสำคัญของวันสงกรานต์

1. เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประเพณีไทย และถือเป็นวันหยุดประกอบการงานหรือธุรกิจทั่วไป
2. เป็นวันทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระบังสกุลกระดูกพรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ ล่วงลับ
3. เป็นวันแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ในวันนี้จะมีการไปรดน้ำดำหัวขอพรจาก พ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพ นับถือ วันสงกรานต์ถือเป็น วันสูงอายุแห่งชาติ
4. เป็นวันรวมญาติมิตรที่จากไปอยู่แดนไกลเพื่อประกอบภาระหน้าที่งานอาชีพของตน เมื่อถึงวันสงกรานต์ทุกคนจะ กลับมาร่วมทำบุญสร้างกุศล จึงถือเอาวันที่ 15 เมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงสงกรานต์เป็นวันรวมญาติหรือวันครอบครัว
5. เป็นวันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และส่งเสริมการละเล่นตามประเพณีไทย เช่น มีการทำบุญตักบาตร เล่นสาดน้ำ ชักเย่อ มอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้า ฯลฯ
6. เป็นวันประกอบพิธีทางศาสนา เช่น มีการทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ บังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ ขนทรายเข้าวัด (ก่อพระเจดีย์ทราย) รับศีล ปฏิบัติธรรมฯลฯ


ประเพณีสงกรานต์ของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน สงกรานต์เป็นคำที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่คำเต็มๆคือ ตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้
ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไปการมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน 4 วันแรม 14 ค่ำ แรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมา สวด และมีการทำบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิฐานว่าคนไทยรับการนับถือพระพุทะศาสนา เลยทำแบบอย่างพิธีทำบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วย วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13,14 และวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี



ประเพณีรดน้ำดำหัว

ประเพณีรดน้ำไหว้ผู้ใหญ่ เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีงานสงกรานต์หรือ วันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่แสดงออกถึงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือ และผู้มีพระคุณ เพื่อแสดงความกตัญญูพร้อมกับการขอขมา และขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคล แก่ตัวเองเนื่องในวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันสงกรานต์ของไทยในเดือนเมษายน

"การดำหัว" ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางเหนือการดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง เช่น พ่อเมือง เจ้าเมือง เป็นต้น เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป หรือการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ สิ่งที่ต้องนำไปในการรดน้ำดำหัวก็คือ น้ำใส่ขันเงินใบใหญ่ ในน้ำใส่ผักส้มป่อย โปรยเกสรดอกไม้และเจือน้ำหอม น้ำปรุงเล็กน้อย พร้อมด้วยพานข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องสักการะอีกพานหนึ่ง การรดน้ำดำหัวมักจะไปกันเป็นหมู่ โดยจะถือเครื่องที่จะดำหัวไปด้วย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย