งานประเพณีแห่ช้างบวชนาค หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า บวชนาคแห่ช้าง ของชาวไทยพวนที่มีประวัติมายาวนานเป็นปีที่ 176 ปี ชมขบวน ‘นั่งช้าง บวชนาค” ของชุมชนชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว ตระการตากับช้างและนาคที่ได้รับการตกแต่งอย่างมีเอกลักษณ์ ชมขบวนช้างข้ามแม่น้ำยม สนุกสนานเล่นสาดน้ำกับขบวนแห่นาคของชุมชนชาวไทยพวน
ประเพณีบวชนาคแห่ช้างไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว จัดขึ้นวันที่ 7-8 เมษายนของทุกปี ณ วัดหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามซึ่งสืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 150 ปีแล้ว โดยชาวไทยพวนมีความเชื่อพิเศษมาจาก “เวสสันดรชาด” ว่าเป็นพระวสสันดรประสูตินั้นเป็นวันที่ได้ช้างเผือกสำคัญคือ “ช้างปัจจัยนาเคนทร์” ซึ่ง สามารถดลบันดาลให้ผนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธ์ธัญญาหารสมบูรณ์เป็นช้างคู่บารมีพระเวสสันดรและคู่บ้านคู่ เมือง การจัดให้นาคนั่งบนหลังช้าง แล้วแห่เป็นริ้วขบวนนั้น ก็เลียนแบบมาจากเรื่องราวในพระเวสสันดรทรงช้างนาเคนทร์นั่นเอง
งานจะจัด 3 วัน คือวันสุกดิบ วันแห่นาค (เป็นไฮไลท์ของงาน) และวันบวช วันสุกดิบนั้นเป็นวันเตรียมงานทางญาติของเจ้าภาพจะออกไป “เถี่ยวบ้าน” คือ เดินไปบอกบุญตามญาติบ้านมิตรเพื่อเชิญมาร่วมงาน ผู้ที่จะออกไปเถี่ยวบ้านจะต้องแต่งกายชุดพื้นเมืองในวันสุกดิบจะมีงานเลี้ยง ตลอดจนมหรสพสมโภช วันรุ่งชึ้น (7 เมษายน ของทุกปี) ซึ่งเป็นวันแห่นาค ในตอนเช้าญาติจะช่วยกันโกนผม โกนคิ้ว อาบน้ำ แต่งตัวให้นาก ต่อจากนั้นให้นากไปรับศีลจากพระที่วัดใกล้บ้าน แล้วกลับบ้าน มาเปลี่ยนชุดนาคสีขาวออก แต่งตัวเป็นลูกแก้วด้วยเสื้อผ้าพื้นเมืองสีสีนสวยงาม สวมเครื่องประดับแก้วแหวนเงินทองต่างๆ แต่งหน้าแต่งตาอย่างสวยงาม สวมแว่นตาดำ สวมเทริดบนศรีษะแล้วให้นั่งพนมมือถือธูปเทียนอยู่บนคอช้าง ซึ่งได้รับการอาบน้ำแต่งตัวอย่างสวยงาม แล้วจึงคลื่อนขบวนแห่ออกจากบ้าน มาสิ้นสุดที่วัดหาดเสี้ยว
หลังจากนั้นให้นาคลงหลังช้างไปไหว้ศาลพระภูมิในวัดและเข้าโบสถ์ทำพิธีทาง ศาสนา เมื่อเสร็จแล้ขบวนของนาคทุกองค์จะร่วมกันเป็นขบวนใหญ่แห่รอบหมู่บ้าน แล้วจึงแยกย้ายกลับบ้าน วันรุ่งขึ้นเป็น “วันบวช” จึง แห่นาคไปบวชวัด ตามพิธีทางพุทธศาสนา หรืออาจจะมีพิธีบวชในตอนเย็นหลังจากแห่ช้างเสร็จแล้วโดยผู้บวชเป็นพระภิกษุ นั้น ชาวไทยพวนเรียกว่า “เจ้าหัว” ส่วนสามเณรเรียกว่า “จั่วอ้าย”