ค้นหาในเว็บไซต์ :

งานประเพณีนมัสการและสรงนํ้าพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย



“ หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง ” ประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี ณ วัดศาลาเชิงดอย วัดพระธาตุดอยตุง และพระธาตุดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย



ตำนานเกี่ยวกับพระธาตุดอยตุงปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองของล้านนาเป็นความเชื่อปรัมปราของจารีตการสืบทอดประวัติความเป็นมาแห่งดินแดนที่แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสลายและความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรชุมชนในบริเวณอันกว้างใหญ่ของลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกกและแม่น้ำสายที่เกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของพุทธศาสนาที่แพร่ขยายเข้าสู่ดินแดนบริเวณนี้

ปฐมธาตุเจดีย์แห่งล้านนาที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1454 โดยพระเจ้าอุชุตราชแห่งนครโยนกนาคพันธุ์ นั่นคือ พระมหาชินธาตุเจ้าบนดอยตุง ด้วยความเชื่อที่ว่าภายใต้พระมหาสถูปทั้งสององค์ของพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุงเป็นที่ประดิษฐานพระรากขวัญเบื้องซ้ายและพระบรมสารีริกธาตุส่วนอื่น ๆ

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานพระมหากัสสปนำพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้ายและพระธาตุอื่น ๆ มาไว้ พระธาตุได้ชำแรกลึกลงไปในหิน พระมหากัสสปได้ทำตุง คันหนึ่งใหญ่ยาวมาก ว่ากันว่า ร่มเงาของตุงนั้นทาบไปถึงเมืองโยนก(เชียงแสน)ซึ่งขณะนั้นมีกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองอยู่แล้ว เป็นวงศ์ของสิงหนวติ

ครั้นสมัยพญามังรายนราช แห่งราชวงศ์สิงหนติ มหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

อนึ่งเนื่องจากปู่เจ้าลาวจก และพญามังราย (ชื่อคลายกันกับพญามังรายนราช แต่คนละพระองค์) ต้นวงศ์กษัตริย์เชียงราย – เชียงใหม่ ต่างประสูติในปีกุญ(ช้าง) พระธาตุดอยตุงจึงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีกุญ

พ.ศ.2470 ครูบาศรีวิชัยได้ทำการบูรณะองค์พระธาตุในแบบล้านนา กล่าวคือเป็นเจดีย์ก่ออิฐสอปูน ทรงระฆัง 8 เหลี่ยม ตั้งบนฐานปัทม์(บัว) 8 เหลี่ยม ประดับลูกแก้วอกไก่ 1 ชิ้น ฐานล่างสี่เหลี่ยมจตุรัสลด 3 ชั้น องค์ระฆังและบัลลังก์ 8 เหลี่ยมรองรับปล้องไฉน มีปลียอดประกอบฉัตร 5 ชั้น



ในวันขึ้น 13 – 14 – 15 ค่ำ เดือน 4 (เดือน 6 เหนือเป็ง) เป็นประจำทุกปีจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ศรัทธาประชาชนทั้งหลายทั้งภายในประเทศและฝั่งพม่าท่าขี้เหล็ก จนถึงเชียงตุงพม่าตลอดจนถึงพุทธศาสนิกชนทั้งในเขตฝั่งลาวขึ้นไปก็ขึ้นไปนมัสการกราบไหว้บูชาพระธาตุ

การขึ้นไปกราบไหว้พระธาตุดอยตุง สมัยก่อนไม่มีรถราขึ้นไป ประชาชนก็จะขึ้นทางเดินจากหมู่บ้านปางดอก ปัจจุบันเรียกว่าบ้านศาลาเชิงดอย ขึ้นไปต้องผ่านแม่น้ำถึง 32 ท่า การเดินทางขึ้นจะเริ่มขึ้นในวันที่ 13 ค่ำตอนบ่าย และเช้ามือของวัน 14 ค่ำ จะมีพิธีทางศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดงาน พระสงฆ์สามเณรทำวัตรเช้าจบแล้วจะสวดพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร เวลา 06.00 น. จะพร้อมใจกันทำบุญตักบาตรตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกๆปี จนถึงปัจจุบันนี้



ที่มา : http://www.chiangrai.net/cpwp/?p=2086




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย