เฟ้นสุดยอดประติมากรรม โครงการเพชรยอดมงกุฎครั้งที่2
"มูลนิธิร่มฉัตร" ร่วมกับมูลนิธิพระเทวราชโพธิสัตว์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดงาน "การแข่งขันประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 2" โดยมี พระเดชพระคุณพระธรรมภาวนาวิกรม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 8 เป็นประธานในการเปิดงาน
พร้อมด้วย รศ.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการ บดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ คุณวัชรพงศ์ ระดมสิทธิ
พระธรรมภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) ในฐานะประธานมูลนิธิร่มฉัตร และประธานการแข่งขันโครงการเพชรยอดมงกุฎ กล่าวว่า การจัดการแข่งขันประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎ ถือเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน โดยได้รับความร่วมมือในการเตรียมงานอย่างดี จากมูลนิธิพระเทวราชโพธิสัตว์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และศิลปินแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปกรรม ต่างก็ให้ความร่วมมือในการแข่งขันครั้งนี้อย่างดียิ่ง
?อาตมาขอขอบ คุณ รศ.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดี คณบดี มหาวิทยา ลัยราชภัฏสวนสุนัน ทา รวมถึงท่านผู้บริหารต่างๆ มูลนิธิพระเทวราชโพธิสัตว์ ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และคณะกรรมการทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันทำงานด้วยความเสียสละ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และส่งเสริมงานประติมากรรมให้ดำรงอยู่คู่วัฒนธรรมของไทยสืบต่อไป?
พระธรรมภาวนาวิกรมกล่าวต่อว่า การแข่งขันประติมากรรมครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งของการแข่งขันครั้งที่ 2 ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีขอบข่ายมากขึ้น ถือเป็นการสนับสนุนให้มีการเรียนการศึกษาด้านศิลปกรรม ทั้งในประเทศ และนำไปสู่อาเซียน หนึ่งในปรัชญาของอาเซียน คือ วัฒนธรรมและสังคม ประติมากรรมนี้เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมที่เป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ที่เราสามารถเชื่อมโยงถึงประเทศเราได้
?ประติมากรรมนี้ยังเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน แน่นอนการแข่งขันเราต้องมีนักศึกษา ซึ่งตรงนี้ต้องเรียนกับท่านผู้มีเกียรติ และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายว่า ปีหน้าเราจะมีการเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้กับศิลปินต่างๆ และเพิ่มเติมความรู้ให้กับประชาชน ผู้ที่สนใจ เยาวชน นิสิต นักศึกษา ถึงองค์ความรู้ของศิลปกรรมวัฒนธรรม หลักธรรมขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสามารถสื่อถึงกันได้ ระหว่างหลักธรรม กับประติมา กรรม เป็นการย้อนให้เห็นถึงยุคสมัยของพระพุทธศาสนาที่ฝากไว้ เป็นเชิงประวัติ ศาสตร์ หรือวัฒนธรรม ทิ้งร่องรอยของพระพุทธศาสนาไว้ในหัวใจของคนประติมากรรม ซึ่งจะมีการสัมมนาเตรียมความพร้อมกันก่อนที่จะมีการแข่งขัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจในงานปั้น ประติมากรรม เต็ม ใจที่จะลงมือทำ องค์ความรู้ในการปั้น เพื่อให้สู่แนวทางที่เป็นของยุค ของสมัย อย่างแท้จริงสืบไป?
รศ.ช่วงโชติ พันธุเวช กล่าวว่า งานประติมากรรมหมายถึงรูปภาพที่เป็นรูปร่างปรากฏแก่สายตา สามารถสัมผัสได้โดยตรงด้วยการจับต้อง ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น หล่อ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตอบสนองความเชื่อ ความพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ ร่วมไปกับการดำรงชีวิต ทั้งส่วนบุคคลและในสังคมไทย เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ ค่านิยมที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมและได้แสดงออกมาเป็นงานประติมากรรม อันเป็นสัญลักษณ์ประจำชนชาตินั้นๆ ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรมมักถูกเรียกขานว่าประติมากร
สำหรับวัตถุประ สงค์ของการแข่งขันประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎ เพื่ออนุรักษ์งานช่างประติมากรรมให้คู่กับสังคมไทย เป็นการเปิดเวทีการแข่งขันให้เกิดการพัฒนาฝีมือของศิลปิน สร้างคุณค่าในแง่การตลาดด้านประติมากรรมให้ประชาชนทั่วไปได้เกิดความตื่นตัวทางด้านศิลปะ และสร้างบุคลากรเพื่อสืบทอดงานด้านประติมากรรม
สำหรับผลการแข่งขันมีดังนี้ รางวัลที่ 3 ประเภทไทยประเพณี ได้แก่ นายกรีธา แก้วบุตรสา พร้อมรางวัล 50,000 บาท ประเภทสร้างสรรค์ใหม่ (ร่วมสมัย) ได้แก่ ม.ล.จักรพล รัชนี พร้อมรางวัล 50,000 บาท
รางวัลชมเชย (รางวัลละ 5,000 บาท) ประเภทสร้างสรรค์ใหม่ (ประชาชนทั่วไป) ได้แก่ 1.คุณประสิทธิ์ เอมทิม 2.คุณเอกลักษณ์ มิตรรัน 3.คุณอาทิตย์ จินคำตุ้ย 4.คุณอนุวัตร์ ไมตรีจิต 5.คุณอาทิตย์ วงศ์ขัน 6.คุณมีเกียรติ กลิ่นสือ
ประเภทไทยประเพณี (ประชาชนทั่วไป) ได้แก่ 1.คุณจรัญ สวรรคโลก
สำหรับรางวัลที่ 1 และที่ 2 อ.นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน และคณะกรรมการประกวดชี้แจงว่า ยังไม่มีผลงานชิ้นใดที่สมบูรณ์และผ่านเกณฑ์จากผู้ทร งคุณวุฒิ