ฉันทะจึงต้องเติบกล้าขึ้นโดยอิงอาศัยพัฒนาการของปัญญา
ในขั้นพื้นฐานลึกลงไป แม้แต่กิเลสต่างๆ จะเป็นตัณหาก็ดี มานะก็ดี ทิฐิก็ดี ก็จัดเข้าในจำพวกความทุกข์ทั้งสิ้น เพราะมันเกิดขึ้นในลักษณะที่บีบคั้นกดดันคับเครียด และต้องทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการระบายออกให้ผ่อนคลายทั้งสิ้น
ส่วนฉันทะเป็นแรงจูงใจฝ่ายบวก เป็นแรงที่เพิ่มขยายออกมาจากภาวะจิตที่เต็มหรือสบายอยู่แล้ว แต่จะต้องมีปัญญาชี้นำส่องสว่าง หรือฉายให้เห็นคุณค่าประโยชน์หรือภาวะดีงามที่พึงปรารถนาของการกระทำ และจุดมุ่งหมายที่จะมุ่งไปเสียก่อน ฉันทะจึงจะถูกปลุกขึ้นได้ ฉันทะจึงต้องเติบกล้าขึ้นโดยอิงอาศัยพัฒนาการของปัญญา
หนังสือ การศึกษา: มองเมื่อ ๓๐ ปีก่อน
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)