ปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ 1 วัน 09.00 - 16.00 น. 13 สิงหาคม 2558 ซอย รามคำแหง 81
เชิญชาวพุทธทุกท่านร่วมปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศล สืบสานพระพุทธศาสนายุกาลให้ยืนยาว
สอนปฏิบัติธรรมถึงบ้าน สำนักงาน บริษัท วัด หมู่บ้าน และสถานที่ราชการ ทั่วประเทศไทย
สำหรับท่านที่มีเวลาน้อย ไม่สะดวกในการเดินไปปฏิบัติธรรมที่อื่น หรือไม่สามารถพักค้างคืนได้
แม้เพียง 1 คนก็ยินดีไปสอนให้ถึงที่
วิทยากร
อาจารย์อิทธิ
อาจารย์นเรศ
อาจารย์วงเดือน.
ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุฌานสมาบัติได้รวดเร็วและตรงกับจิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติโดยตรง
ผู้สนใจติดต่อโทร. 085 - 400 - 1303 และ 089 - 766 - 2373
ตารางปฏิบัติธรรมสำหรับ 1 วัน
สอนปฏิบัติธรรมถึงบ้าน สำนักงาน บริษัท วัด หมู่บ้าน และสถานที่ราชการ ทั่วประเทศไทย
09.00-12.00 น.
1.ปรับพื้นฐานความรู้ทางพระพุทธศาสนา ฝึกฌาน 1-2-3-4 ปรับคุณภาพจิต 60 นาที
2.ปฏิบัติโดยเจริญอริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาท 60 นาที
3.สนทนาธรรม และถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ 60 นาที
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
1.ปฏิบัติโดยเจริญอนัตตลักขณสูตรมีฌาน 4 เป็นบาท 50 นาที
2.ฝึกปัญญาในความสำเร็จด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน เป็นญาณลำดับที่ 50 เป็นบาทแก่เจโตวิมุติ 30 นาที
3.สนทนาธรรม และถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ 100 นาที
จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?.
โลกียฌาน ได้แก่ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4
โลกุตตระฌาน ได้แก่ วิปัสสนาจิต 4 อริยมัคคจิต 4 และอริยผลจิต 4
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี“กิเลสเพียงดังเนิน”
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
เรานั้นจึงน้อมจิตไปเพื่อ “อาสวักขยญาณ”
ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า .........
....นี้ทุกข์
....นี้ทุกข์สมุทัย
....นี้ทุกขนิโรธ
....นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
....เหล่านี้อาสวะ
....นี้อาสวสมุทัย
....นี้อาสวนิโรธ
....นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้น .......
แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า
“หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี”
.
"สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
เกิดขึ้นแล้วดับไป
มีแล้วหายไป
การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"
" ระหว่างคนต่อคน
มิว่าอยู่ร่วมกันเนิ่นนานปานใด
ผลสุดท้าย
ยังคงต้องพลัดพรากจากกัน
มิใช่จำพราก
ก็เป็นตายจาก "
.