ปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ ณ ปัณฑิตารมย์ สระบุรี เริ่มต้นปฏิบัติธรรมกันอย่างไร ?? (ตอนที่ 2)

 มหาราชันย์  

เริ่มต้นปฏิบัติธรรมกันอย่างไร ?? (ตอนที่ 2)
...
ผู้สนใจศึารษาเรียนรู้ โทร. 089 - 766 - 2373
E-Mail : karagetu@hotmail.com
ID Line : karagetu
...
สวัสดีครับ ทุก ๆ ท่าน
วันนี้เรามาต่อกันจากครั้งที่แล้วกันนะครับ
ถ้าเราต้องการศึกษาเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ก็จะมีสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง 2 ประการ ได้แก่
1.วิถีวิทย์ หรือ วิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
2.วัสดุ หรือ วัตถุ (Material) ซึ่งได้แก่ สสารและพลังงาน
ทำนองเดียวกัน ถ้าเราต้องการศึกษาเรียนรู้ด้านพุทธศาสตร์ ก็จะมีสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง 2 ประการ ได้แก่
1.วิถีพุทธ หรือ วิธีพุทธศาสตร์ (Buddhist Method)
2.วัสดุ หรือ วัตถุ (Material) ซึ่งได้แก่ ขันธ์ 5
...การที่เราจะไปศึกษาและเรียนรู้ในวิถีและวัสดุแห่งศาสตร์ทั้ง 2 เราต้องเริ่มต้นจากการทานอาหารจานแรกกันก่อน นั่นคือ “คบหาผู้มีความรู้” หรือ “การคบหาสัปบุรุษ” กันก่อนเป็นอันดับแรก
... ดังนั้น ต่อจากในตอนที่ 1 หลังจากท่านได้ตั้งสัจจะอธิษฐานให้ถึงฝั่งพระนิพพานแล้ว ท่านก็จงแสวงหาอาหารเลิศรสมาทานกันเถิด ...
...
...ซึ่งในวันนี้ขอน้อมบางส่วนของพระธรรมเทศนา อันเนื่องด้วย “อาหารเลิศรส” มาให้ทุกท่านได้พึงสดับและลิ้มชิมรสกันดังนี้
...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี อาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗
แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔
แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของ สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์
แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติ สัมปชัญญะ
แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า สัทธา
แม้สัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น อาหารของสัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม
แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ
... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้ บริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่ บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๑
...
สวัสดียามสายครับ
ขอให้ทุกท่านจงรุ่งเรืองและยั่งยืน



6,242






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย