... เริ่มต้นปฏิบัติธรรมกันอย่างไร ?? (ตอนที่ 16)
...
ผู้สนใจศึารษาเรียนรู้ โทร. 089 - 766 - 2373
E-Mail :
karagetu@hotmail.com
ID Line : karagetu
...
อาหารจานที่ 1 การคบ “สัปบุรุษ”
อาหารจานที่ 2 การฟัง “พระสัทธรรม”
อาหารจานที่ 3 การมีสัทธา
...
“... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังสัทธาให้ บริบูรณ์ ...”
... สิ่งที่เกี่ยวข้องกัน 3 สภาวะ ได้แก่
1.สัทธาสภาวะ
2.จงรักภักดีสภาวะ
3.สัทธาสภาวะและจงรักภักดีสภาวะประชุมรวมกัน
...
... อาหารจานที่ 3 นี้ เป็นผลพวงมาจากการรับประทานอาหารจานที่ 1 และ 2
เกี่ยวข้องกันอย่างไร ??
... อันดับแรก คือ ตัวเราผู้รับประทาน เป็นผู้มีจิตเป็นกุศล ที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ขาวรอบ ตั้งมั่น มีอำนาจ อ่อน และควรแก่การงาน ...ประเด็นนี้ต้องไม่ลืมกันนะครับ (และที่สำคัญคือ นอกจากท่านต้องทำให้ได้แล้ว ท่านต้องรักษาไว้ให้ได้ด้วยนะครับ)
... อันดับที่ 2 “พระสัทธรรม” เป็นอริยสัจ 4 เมื่อเรารับประทานแล้ว “พระสัทธรรม” จะเป็นดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ให้เรา
... ด้วยคุณสมบัติแห่งสภาวะ 2 ประการนี้ ก็จะแทนค่าสภาวะได้ว่า ในจิตใจเรา ควรจะเป็นอะไรได้บ้าง ??
... สัทธาสภาวะ เป็นปุญญาภิสังขาร เป็นสังขารขันธ์ที่เป็นโลกุตตระกุศลธรรม ได้แก่สัทธินทรีย์ และสัทธาพละ ซึ่งเกิดจาก ... “การมีสัมมาทิฏฐิ เพียงพอต่อ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ”
... จงรักภักดีสภาวะ เป็นอปุญญาภิสังขาร เป็นสังขารขันธ์ที่เป็นโลกียะอกุศลธรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ... อสัตบุรุษจงรักภักดีต่ออสัตบุรุษ ... และเป็นโลกียะกุศลธรรมอันเจือด้วยราคะ เช่นผู้มีเมตตาจิต ตั้งอยู่ในทาน ศีล กตัญญูกตะเวที ฯลฯ
... สัทธาสภาวะและจงรักภักดีสภาวะประชุมรวมกัน ทั้ง 2 สภาวะนี้จะประชุมรวมกันได้ก็ต่อเมื่อจิตเป็นกุศล เป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ แม้จิตหรือขันธ์เป็นโลกียะแต่อารมณ์เป็นโลกุตตระคือนิพพาน (ตามที่ท่านได้ตั้งสัจจะอธิษฐานเอาไว้ ... คงไม่ลืมกันนะ) สภาวะแบบนี้เกิดในวิปัสสนาจิต หรือผู้ถึงไตรสรณะคมณ์นั่นเอง
...
... ท่านทราบไหมว่า “สัทธาสภาวะ” มีได้อย่างไร ??
... ท่านทราบไหมว่า “สัทธาสภาวะ” มีอะไรเป็นตัวชี้วัดว่าท่านเป็นผู้มีสัทธาหยั่งลงแล้ว ??
....
สวัสดียามเช้าครับ
ขอให้ทุกท่านจงรุ่งเรืองและยั่งยืน