ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ด้วยปัญญา
๑. ธรรมะ...
คือระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ของตน ทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการ ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น เรียกสั้นๆว่า ... หน้าที่... นั้นแหละคือ... พระเป็นเจ้า... ผู้ช่วยให้รอดอย่างแท้จริง
---------------------------------------------------------------------
๒. ธรรมะมีไว้ช่วยให้อยู่ในโลก อย่าง...ชนะโลก... หรือ ...เหนือโลก... มิใช่ให้...หนีโลก... แต่อยู่เหนืออิทธิพลใดๆ ของโลก ไม่ใช่จมอยู่ในโลก มักสอนให้เข้าใจผิดๆ ว่า ต้องหนีโลก ทิ้งโลก สละโลก อย่างไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใครเลย
---------------------------------------------------------------------
๓. ในร่างกายและจิตใจ มีสิ่งที่อาจเรียกว่า... พระไตรปิฎก ที่แท้จริงให้ศึกษาชนิดที่ไม่อาจเติมเข้าหรือชักออก แม้แต่อักขะเดียว ขอให้พยายามอ่านพระไตรปิฎกเรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับทุกข์จากพระไตรปิฎกเล่มนี้ กันทุกคนเถิด
---------------------------------------------------------------------
๔. การศึกษาที่เปรียบด้วย..."สุนัขหางด้วน" ของทั้งโลก นั้นคือ ... ให้เรียนกันแต่หนังสือกับวิชาชีพ ไม่เรียนธรรมะหรือศาสนา ที่สอนให้รู้ว่า ... ให้เป็นมนุษย์กันให้ถูกต้องได้อย่างไรกันเสียเลย ขอให้รีบลืมตา และแก้ไขปัญหากันเสียก่อน...ก่อนที่โลกจะเกิดมัคสัญญี
---------------------------------------------------------------------
๕. ชาวพุทธแท้...
ไม่กินสิ่งที่หมายมั่นว่าเป็นเนื้อหรือผัก แต่กินอาหารที่บริสุทธิ์ ถูกต้อง สมควรแก่การกินโดยความเป็นธาตุตามธรรมชาติ และ... กินเท่าที่จำเป็นจะกิน เหมือนน้ำมันหยอดเพลารถหรือการกินเนื้อบุตรของตนเองที่ตายลง เมือ่หลงทางกลางทะเลทราย เพื่อประทังชีวิตให้รอดได้เท่านั้น
---------------------------------------------------------------------
๖. พระพุทธองค์ตรัสว่า... "แต่ก่อนก็ดี บัดนี้ก็ดี เราบัญญัติเรื่องความทุกข์ กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น" ดังนั้น พวกเราอย่าต้องเสียเวลาในการศึกษา การถาม การเถียงกันด้วยเรื่องอื่นที่มิใช่สองเรื่องนี้กันอีกเลย
---------------------------------------------------------------------
๗. สิ่งที่ต้องรู้จักเป็นพิเศษ คือ "สาม ก." และ "สาม ส."
"สาม ก." คือ กิน...กาม...เกียรติ ... ย่อมกัดเอาผู้เข้าไปเก่ยวข้องอย่างโง่เชลาแล้วก่อให้เกิดกิเลสจำกัดโทษของสาม ก. แล้วมีสาม ส. คือ สะอาด...สว่าง...สงบ
ที่มา : หนังสือธรรมโอวาท พระธรรมคติของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ