"วจีสุจริต - วจีทุจริต" (สมเด็จพระญาณสังวร)

 วิริยะ12  

 "วจีสุจริต - วจีทุจริต"

"วจีสุจริต" ..


- เว้นจากการพูดเท็จ
- เว้นจากการพูดส่อเสียด
- เว้นจากการพูดคำหยาบ
- เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

คือแม้ว่า "จะเป็นความจริง แต่หากว่าเป็นคำส่อเสียดก่อให้เกิดความแตกร้าว" เช่น "นำความข้างนี้ไปบอกข้างนั้น นำความข้างนั้นมาบอกข้างนี้ เพื่อจะยุให้ทั้งสองฝ่ายแตกกัน แม้จะเป็นความจริงที่ไม่ควรพูด เพราะทำให้เขาแตกกัน เข้าในพวกส่อเสียด"

หรือแม้ว่า "เป็นคำหยาบ ไม่ได้มุ่งจะหลอกลวงให้เข้าใจผิด" แต่ว่าเป็นคำหยาบคาย เช่นเป็นคำด่าว่า "เป็นสัตว์ดิรัจฉานอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรเป็นต้น"

หรือแม้วาจาอย่างอื่นซึ่งเป็นการกล่าว "กดให้เลวลง" ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นและก็ไม่ได้มุ่งที่จะหลอก แต่ว่า "กล่าวด้วยความโกรธ ด้วยความเหยียดหยาม ต้องการจะกดเขาให้เลว ก็ไม่ควรพูด" และแม้ว่า "เป็นคำที่เพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่มีขอบเขตจำกัด" หาสาระแก่นสารมิได้ หรือว่ามีสาระแก่นสารน้อยเกินไป ก็เป็นคำไม่ควรพูด

"วจีทุจริต"

วาจาเช่นที่กล่าวมานี้ คือ ..

- การพูดเท็จก็ดี
- การพูดส่อเสียดก็ดี
- การพูดคำหยาบก็ดี
- การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลก็ดี

ก็นับว่าเป็น "วจีทุจริต" คือ "การพูดที่เป็นทุจริตเสมอกัน เพราะฉะนั้นแม้เป็นความจริง ก็ไม่ใช่ว่าเป็นข้อที่ควรพูดเสมอไป" ต้องอยู่ในขอบเขตอันสมควร .. "

"ทศบารมีและทศพิศราชธรรม"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙
 

5,747







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย