"มันถ่วงหัว ทุบหาง" (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท)
.
"มันถ่วงหัว ทุบหาง"
" .. ชีวิตพระป่าถ้าทำให้มันพะรุงพะรังนัก มันหนักตนเอง "มันถ่วงหัว ทุบหาง" ท่านพระอาจารย์มั่นท่านว่าอย่างนี้ "หนักปัจจัยสี่ ไปที่ไหนรกรุงรัง" ท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอนอย่างนี้เสมอ "ลาภลักการะย่อมฆ่าคนโงที่หลงงมงายได้" ว่าตัวได้ตัวดีกว่าคนอื่นเขา อันนี้เราจำเอาจนขึ้นใจ
ท่านสอนว่า "ถ่วงหัว ทุบหาง" เหมือนกับเวลาเขาดักสัตว์ในป่า เขาเอาก้อนหินเทินกันไว้แบบ หมิ่นเหม่เอาไม้คํ้าไว้ ใส่เหยื่อเข้าไปวางไว้ กระรอก กระแต ลิง ค่าง อะไรพวกนี้เห็นอาหารนั้น ก็รีบวิ่งปรี่เข้าไปเอาเหยื่อด้วยความอยาก เมื่อเข้าไปกินเหยื่อจะวิ่งชนไม้ที่คํ้าก้อนหินที่วางดักนั้น ก้อนหินนั้นก็จะหล่นลงมาทุบหัวตาย ในที่สุดสัตว์เหล่านั้นก็เป็นอาหารของมนุษย์ผู้ซึ่งฉลาดกว่า ภาษาทางภาคอีสานเขาเรียกว่า "ดักอีทุบ" สัตว์ตัวไหนหลงเข้าไปในกลลวงที่เขาหลอก ก็มืแต่ตาย อย่างทรมานเท่านั้น
สมณะที่ออกเจริญสมณธรรมตามป่าตามเขาก็เช่นเดียวก้น "ไปเจอเสียงเยินยอสรรเสริญว่า ขลังอย่างนั้นดีอย่างนี้ มีลาภสักการะ มืคนนับถือมากเข้าแล้วลืมตน" ลืมพระธรรมค่าสอนของครูบาอาจารย์ จิตใจไพล่ไปยินดีในปัจจัยสี่เหล่านั้น "ก็จะถูกสิ่งเหล่านั้นทับหัวใจ ทุบหัวใจ ให้กลาย เป็นผู้ไร้ศีลธรรม ไร้ยางอาย" พิจารณาอะไร นั่งภาวนาอย่างไรก็ยกจิตไม่ขึ้น "จิตนั้นถูกกดทับด้วย กิเลสอย่างหยาบ"
เมื่อพิจารณาถึงค่าสอนของท่านพระอาจารย์มั่นที่แว่วมาอยู่เรื่อย ๆ "จึงไม่เกี่ยวยุ่งด้วยผู้คน นำธรรมที่ท่านสอนมาพิจารณาตีให้แตกด้วยอริยสัจสี่" คลี่คลายไม่ลดละ จิตตอนนั้นปราดเปรียว หมุนโดยอัตโนมัติ .. "
"พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง"
หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท