"สมาธิกับปัญญา ต่างฝ่ายต่างอบรมกัน" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)

 วิริยะ12  

.
 "สมาธิกับปัญญา ต่างฝ่ายต่างอบรมกัน"

มีผู้ถามท่านว่า : การปฏิบัตินี้ "ถ้าบริกรรมไม่สงบ จะพิจารณาอย่างเดียวได้ไหม หรือต้องให้จิตสงบก่อนพิจารณา" ท่านก็สอนดังต่อไปนี้ ..

" .. "อันหนึ่งสมถะ อันหนึ่งวิปัสสนา" มันถูกกับจริตอันใด การภาวนามันสบาย ก็ให้เอาอันนั้น "ถ้ามันถูกกับจริต จิตก็สงบสบาย ไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น" จิตรวมอยู่ นั่นแหละมันถูกนิสัย

ครั้นมันไม่ถูกนิสัยแล้ว "นึกพุทโธหรืออันใดมันก็ฟุ้งซ่าน หายใจยาก หายใจฝืดเคือง" หมายความว่า "มันไม่ถูกจริตของตน" อันใดมันถูกจริตมันก็สบายใจ ใจสว่าง จิตไม่ฟุ้งซ่าน

เบื้องต้น "ใครเอาอันใด ก็ต้องเอาอันนั้นเสียก่อน" พิจารณาอาการสามสิบสอง "นี่เรียกว่าวิปัสสนาเรียกว่าค้นคว้า" เมื่อเราบริกรรมพุทโธหรืออะไรก็ตาม "บริกรรมแล้วมันไม่สงบ เราก็ต้องค้นคว้าหาอุบาย" มันเป็นการอบรมกันมันเป็นเรื่องปัญญา "จิตไม่สงบเราก็ต้องพิจารณาให้มันสงบ" มันไม่สงบแล้วมันก็ไปที่อื่น ไปสู่อารมณ์ภายนอกที่อื่น

เราก็ต้องเอามันมา "ปลอบโยนมัน ค้นคว้าให้มันพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนังไปสุดตลอด" ให้มันครบถึงอาการ ๓๒ ใช้สัญญาค้นไป ค้นไป ไม่ให้มันไปที่อื่น ค้นไป บางทีมันลงความเห็นเรื่องปัญญา เราค้นไป ว่าไป "มันมีความเห็นตามแล้วมันก็สังเวช สลดใจ จิตมันจึงจะสงบลง" ต้องเอาอย่างนั้นเสียก่อน แล้วจึงพัก เอาอย่างนี้

"ต่างฝ่ายต่างอบรมกัน สมาธิอบรมปัญญาให้เกิด ปัญญาอบรมสมาธิให้เกิด" ปัญญาล้อมรอบมัน แล้วมันไปไม่ได้ มันไปไม่ได้มันก็ลง เรียกว่าปัญญาอบรมมัน .. "

"อนาลโยวาท"
หลวงปู่ขาว อนาลโย
 

5,613







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย