"นายพรานคืนศีล" ตอนที่ ๓. "นายพราน พบพระเถระ"
"นายพรานคืนศีล" ตอนที่ ๓. "นายพราน พบพระเถระ"
โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร
๓. "นายพราน พบพระเถระ"
.. นายพรานคนนั้น "เขาก็เชิดเนื้อเบื่อปลา(ล่าสัตว์)อยู่เป็นนิจ เลี้ยงชีพตนและครอบครัวอยู่อย่างนั้น" อยู่มาวันหนึ่ง นายพรานแบกอาวุธออกจากบ้านไปสู่ป่า จะไปเชิดสัตว์ บ่ายหน้าไปถึงต้นไทรใหญ่ "ไปเห็นพระชะระภูตะเถระ นั่งภาวนาอยู่"
"โอ้ .. นี่ใครหนอ ศรีษะโล้น แต่ผ้านุ่งห่มเหลือง" นั่นแหละ "เกิดมาไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรก็ไม่ทราบ ก็เลยเข้าไปถาม "ดูก่อน .. ท่านผู้มีศรีษะโล้น นุ่งผ้าห่มเหลือง มีกิริยามารยาทสงบเสงี่ยมเรียบรอย ท่านเป็นใคร นามกรว่าอย่างไร?"
พระชะระภูตะเถระ ก็ว่า "ดูก่อนท่านนายพราน อาตมาเป็นพระบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า" นี่แหละ เรียกว่า "พระชะระภูตะเถระ ผู้ต่อยลูกศรออกจากดวงใจหมดแล้ว" จิตใจสงบเรียบร้อย มีจิตใจผ่านพ้นไปจากไฟอันร้อนได้แล้ว ไม่มีเครื่องเสียบแทง กายก็สงบเสงี่ยมเรียบร้อย มีรัศมีรุ่งโรจน์ดี นี่แหละ เพราะการเจริญธรรม
ท่านนายพราน "เกิดมาเป็นมนุษย์ชาติสูงสุดแล้ว ก็ไม่สมควรที่จะสะสมบาป หาบเอาเคราะห์เข็ญเวรร้ายมาเป็นเครื่องประดับตนดอก เพราะจะทำให้ภพชาติต่ำช้าลามก ไม่ดี" จงมาเจริญสมณธรรมตามอาตมานี่ ดีมาก
"โอ้ .. สมณธรรมที่ท่านเจริญนั้น ดีเลิศประเสริฐอย่างไร?"
" ดี .. ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ๘ โพชฌงค์ ๗ สมถะ วิปัสสนา" เป็นเครื่องแก้กิเลส เป็นเครื่องล้างกิเลส เป็นเครื่องถอนบาปชั่วช้าลามกออกจากดวงจิตได้ "แม้จะทำบาปชั่วช้าหยาบช้าลามก มานานสักปานใด เมื่อมาเจริญสมณธรรมนี้ กิเลสทุกประเภทน้อยใหญ่ทนไม่ไหวก็ตกไปสิ้นไป" นั่นแหละ
"กิเลสและบาปกรรมนั้น เหมือนกับไฟลุกโพล่งอยู่นะ" ที่นี้ เมื่อมาเจริญสมณธรรมะคะสอนของปราชญ์ผู้ดีทั้งหลาย เอาไปประพฤติปฏิบัตินั้น ผลสุดท้ายกิเลสนั้นก็ต้องถูกสังหาร "เหมือนกับเอาน้ำเทลงใส่ไฟ ไฟนั้นก็ทนมอดไม่ได้ ก็ต้องดับเท่านั้น" อันนี้ฉันใด "ท่านผู้ได้ภพชาติเป็นมนุษย์อันสูงส่งแล้ว สมควรที่จะน้อมเอาธรรมะ ไปประพฤติปฏิบัติมันจึงจะดี"
นั่นแหละ "นายพรานก็สนใจ" พอได้ยินได้ฟังแล้วว่า "พุทโธ ธัมโม สังโฆ ศีลสมาธิ ปัญญา มรรค ๘ โพชฌงค์ ๗ สมถะ วิปัสสนา" เหล่านี้ "มันก็เย็นหู เย็นใจ เห็นพระก็เย็นตาเย็นใจ" เพราะมีพระธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่องประดับ เป็นอาภรณ์อันล้ำค่าประเสริฐสุดนั้นแหละ
"อย่างนี้ข้าพเจ้านี้เป็นนายพราน เชิดเนื้อเบื่อปลา มาแต่รู้เดียงสาอายุ ๗ ปีนะ นั่นแหละ จะประพฤติปฏิบัติได้ไหม?"
"ได้ ..ธรรมะของนักปราชญ์ผู้ดีทั้งหลายนั้น ไม่มีอคติธรรมใด ๆ ใครจะประพฤติปฏิบัติตามก็ได้ทั้งนั้น" นั่นแหละ ขอแต่ให้พอใจ หรือทดลองดูก็ได้ถ้าอยากประพฤติปฏิบัติ อยากเอาตนให้พ้นจากบาปชั่วช้าลามก
"ที่นี้ .. เธอนั้นทำแต่บาปหยาบช้าลามก บาปเมื่อทำลงไปแล้ว สิ้นลมเมื่อไร บาปกับกิเลส ก็ต้องพาไปสู่ยมโลก นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ๔ สถานนี้เป็นที่ไปเบื้องหน้านะ" ไปแล้วใครเล่าจะช่วยเหลือ ไม่มี มีแต่วิบากหยาบช้าลามกอยู่อย่างนั้น นั่นแหละ
ฉะนั้น "เมื่อมีชีวิตสังขารอำนวยผลให้อยู่ ก็อย่าได้ประมาทจงมาเจริญสมณธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า" แล้วจะแก้บาปกิเลสออกจากดวงใจได้ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ก็สบายดี ..
(มีต่อ ตอนที่ ๔. "นายพรานรับศีล")