"เล่าเรื่องพระกัสสปะ"
" .. พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๗ วัน ถวายพระเพลิง ทรงพิจารณาด้วยเหตุผลกลไกอะไรสมศาสดาเอก พิจารณาซิ
"นั่นละ ๗ วันเท่านั้น พระพุทธเจ้าไว้เพียง ๗ วัน" นี่ละแบบฉบับ พระสาวกองค์ไหนตาย องค์ไหนนิพพานก็เข้าป่าเงียบ ๆ ไม่มีในประวัติให้เห็น
มีแต่
"พระกัสสปะ ที่ประวัติยืดยาวหน่อย พระกัสสปะนี้เป็นกรรมเกี่ยวข้องกันกับ พระอริยเมตไตรย มีกรรมเกี่ยวข้องกัน" ท่านจึงแสดงไว้ในปฐมสมโพธิ
"อันนี้อัฐของท่านอยู่ในเขา ๓ ลูกชนกัน" ไม่มีใครเห็น เพราะกรรมจำเพาะกัน
"พระอริยเมตไตรย เป็นนายควาญช้าง พระกัสสปะนี้เป็นช้าง" ช้างตัวนี้เป็นช้างที่ดีมาก บอกให้เป็น – เป็น บอกให้ตาย – ตาย รักเจ้าของ เจ้าของชี้ให้ตาย – ตาย ชี้ให้เป็น – เป็น
พระเทวทัตนี่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าจำไม่ผิด ท่านประมวลชาดกมา เพราะชื่อเสียงของช้างที่มีความจงรักภักดีต่อเจ้าของนี้ดังลั่นไปทั่วประเทศ พระราชารับสั่งให้นายควาญช้างนั้นเข้าเฝ้า
"ไหนว่าช้างเธอนั้นดีทุกสิ่งทุกอย่าง บอกให้เป็นก็ได้ บอกให้ตายก็ได้ ใช้ยังไงได้หมดใช่ไหม" "ใช่" ว่างั้นเลย
"ถ้าอย่างนั้นวันนั้นเราจะให้เขาเผาเหล็กแดงให้ช้างมาจับได้ไหม" "ได้" เรื่องนี้ได้ แต่การเป็นการตายเป็นเรื่องของช้างไม่รับรอง แต่เรื่องจับนี้จับแน่ ก็รับสั่งเลยพระราชาอำมหิต จิตเป็นยักษ์เป็นผี ถึงวันก็เผาเหล็กแดงเป็นท่อนเลยเทียว
นายควาญช้างกลับไปก็ไปพูดกับช้างว่า
"คราวนี้เป็นกรรมอะไรก็ไม่รู้แหละ" พระราชารับสั่งให้เราเข้าไปเฝ้า ถามถึงเรื่องช้างเป็นยังไง ช้างของเธอว่าเป็นช้างดิบช้างดี ใช้ให้เป็นก็เป็น ใช้ให้ตายก็ตาย ใช้ยังไงได้หมด ว่ายังนั้นใช่ไหม ก็ตอบไปแล้วว่าใช่
แล้วท่านก็รับสั่ง
"ให้ช้างจับเหล็กแดง ก็มีอยู่สอง เหล็กแดงให้ช้างจับ จับได้ไหม จับได้ เราก็ทูลแล้วว่าจับ ช้างจับแน่ ๆ สั่งอย่างไรเป็นอย่างนั้นเลย ถ้าหากช้างไม่จับเราก็ต้องตาย คอเราขาด" มีสองอย่างเท่านั้น ขอให้ช้างพิจารณาดู ช้างรับปุ๊บจับเหล็กแดง นายควาญช้างก็รอดตาย
นั่นละ
"พระอริยเมตไตรยเป็นนายควาญช้าง ช้างคือ พระกัสสปะ เพราะฉะนั้นกรรมจึงเกี่ยวกัน" เวลาพระกัสสปะตายแล้ว
"ก็ไปตายอยู่ในเขาสามยอดจรดกัน พระอริยเมตไตรยจะมาเอาอัฐของพระกัสสปะนี้ขึ้นบนฝ่าพระหัตถ์ แล้วเผาบนฝ่าพระหัตถ์เลยเพื่อแก้กรรมอันนั้น" มีพระอริยเมตไตรยเท่านั้นท่านบอกไว้จะเห็นอัฐของพระกัสสปะ นอกนั้นไม่มีใครเห็น
"พระอริเมตไตรยก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนี่ จะไม่เห็นได้ยังไงถึงวาระนั้นแล้ว" ก็มีเท่านั้นในประวัติ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1211&CatID=2