๓.ปางตัดพระเมาลี


ประติมากรรมพุทธประวัติปางตัดพระเมาลี (มวยผม) วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนพระแท่นพระหัตถ์ซ้ายทรงรวบพระเมาลีไว้ พระหัตถ์ขวาทรงพระขันค์ทำอาการทรงตัดพระเมาลี มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะอยู่ด้านหลัง

ความเป็นมาของปางตัดพระเมาลี

เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าพระเมาลีไม่สมควรแก่เพศบรรพชิต จึงทรงตัดออกด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นพระเกศาก็ปรากฏยาวประมาณ ๒ องคุลี ม้วนกลมเป็นทักขิณาวัฏ (เวียนขวา) ทุกๆเส้น และคงอยู่อย่างนั้นตราบถึงดับขันธปรินิพพาน แล้วทรงจับพระเมาลีขว้างขึ้นไปบนอากาศ อธิฐานว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้ ก็ให้พระเมาลี จงตั้งอยู่ในอากาศ อย่าได้ตกลงมา แม้นมิได้ตรัสรู้สมความประสงค์ ขอให้พระเมาลีตกลงสู่พื้นพสุธา" พระเมาลีนั้นได้ประดิษฐานลอยอยู่บนอากาศสูงประมาณ ๑ โยชน์ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) อัญเชิญพระเมาลีไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรคชั้นดาวดึงส์ ฆฏิการพรหมได้นำเครื่องอัฐบริขาร คือสิ่งจำเป็นสำหรับบรรพชิตมาน้อมถวาย แล้วอัญเชิญพระภูษาเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ไปบรรจุไว้ ณ ทุสเจดีย์ในพรหมโลก

ที่มา : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

8,541






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย